เครือข่ายฯประกาศ ปฏิญญาเอเชียแปซิฟิก ต่อสู้เพื่อชีวิตผู้สูบ"บุหรี่"
CAPHRA เผยเครือข่ายรณรงค์ต่อต้าน"บุหรี่"ยังคงไม่รับฟังความเห็นต่าง กีดกันการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคจัดประชุมเสนอให้ปิดกั้นโอกาสเข้าถึงผลิตภัณฑ์นิโคตินที่ปลอดภัยกว่าของผู้สูบบุหรี่ในเอเชียแปซิฟิก 600 ล้านคน
นางแนนซี่ ลูคัส ผู้ประสานงาน เครือข่ายผู้สนับสนุนแนวทางการลดอันตรายจากยาสูบ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ Coalition of Asia Pacific Tobacco Harm Reduction Advocates (CAPHRA) แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประชุมออนไลน์ Asia Pacific Conference on Tobacco or Health (APACT) ครั้งที่ 13 จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 2-4 กันยายนที่ผ่านมาว่า
โปรแกรมและผู้เข้าร่วมการประชุม APACT ที่ผ่านเต็มไปด้วยกลุ่มวิทยากรที่มีอคติกับบุหรี่ไฟฟ้าและแนวทางการลดอันตรายจากยาสูบ
นอกจากนี้หลาย ๆ คนเป็นตัวแทนจากองค์กรที่ได้รับทุนสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากมูลนิธิบลูมเบิร์ก ซึ่งเป็นหน่วยงานรณรงค์ต่อต้านบุหรี่และมีท่าทีชัดเจนว่าไม่รับฟังผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ใด ๆ ที่เกี่ยวกับยาสูบรูปแบบใหม่ที่ช่วยลดอันตรายให้กับผู้สูบบุหรี่ได้
การจัดประชุมโดยไม่รับฟังความคิดเห็นให้รอบด้านจากนักวิชาการอื่น ๆ และกลุ่มผู้บริโภคซึ่งพวกเราเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากนโยบายควบคุม"บุหรี่" แสดงให้เห็นว่าการประชุมนี้ยังคงเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และอันตรายที่พวกเขายังคงสร้างให้กับผู้สูบบุหรี่ต่อไป
นางแนนซี่ กล่าวอีกว่า ภายหลังการประชุม APACT ก็จะมีงานประชุมขององค์การอนามัยโลก สำนักงานภูมิภาคเอเชียใต้-ตะวันออก(World Health Organization, South-East Asia Region Office : WHO-SEARO)ระหว่างวันที่ 6-10 กันยายนและสำนักงานภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก (WHO-WPRO) วันที่ 25 - 29 ตุลาคม
ทั้งหมดนี้จะจบลงด้วยการประชุมภาคีสมาชิก (conference of party) หรือ COP ครั้งที่ 9 ของประเทศภาคีสมาชิกกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (Framework Conventional on Tobacco
Control: FCTC) ทางออนไลน์ในวันที่ 8- 12 พฤศจิกายนนี้
“พวกเรากังวลอย่างยิ่งว่าการตัดสินใจในการประชุมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมานี้ ก็จะยังคงไม่ได้พิจารณาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันออกมาแล้วถึงประโยชน์ของบุหรี่ไฟฟ้าว่ามีความปลอดภัยกว่าการสูบบุหรี่ สมาชิกของ CAPHRA 11
องค์กรในภูมิภาคจึงได้ลงนามในปฏิญญาเอเชียแปซิฟิก เพื่อร่วมกันเรียกร้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและรัฐบาลแต่ละประเทศในภูมิภาค ให้คำนึงถึงผู้สูบบุหรี่ 600 ล้านคนทั่วภูมิภาคเป็นอันดับแรกและสนับสนุนการลดอันตรายจากยาสูบ”นางแนนซี่ กล่าว
ปฏิญญาเอเชียแปซิฟิกระบุให้รัฐบาลของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ว่าการสูบ"บุหรี่"ซึ่งมีการเผาไหม้เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตและการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับยาสูบ ผลิตภัณฑ์นิโคตินทางเลือก
เช่นบุหรี่ไฟฟ้านั้นปลอดภัยกว่า"บุหรี่"เป็นอย่างยิ่ง และผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถช่วยผู้สูบบุหรี่ให้เลิก"บุหรี่"ได้ พร้อมเรียกร้องให้มี
การกำกับควบคุมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดแทนการสั่งห้าม พร้อมกับออกมาตรการเพื่อลดโอกาสเยาวชนหรือผู้ไม่สูบบุหรี่ที่จะหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
ด้านนายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนจากเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า End Cigarettes Smoke Thailand หรือ ECST หนึ่งในสมาชิกของ CAPHRA เสริมว่า ประเทศไทยสั่งแบนบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าผิดกฎหมายมากว่า 7 ปีแล้ว ซึ่งก็เห็นกันได้ชัดเจนมาตลอดว่าเป็นนโยบายที่ล้มเหลว ไม่สามารถป้องกันเด็กใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้ และยังทำให้ตลาดซื้อขายใต้ดินเติบโต กลายเป็นปัญหาคอรัปชั่นตามมาอีก
แถมรัฐยังเสียโอกาสในการเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีอื่นๆ ที่สำคัญคือเป็นการปิดกั้นทางเลือกในการเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่อันตรายน้อยกว่าเท่ากับสนับสนุนให้คนสูบบุหรี่ต่อไป สนับสนุนให้บริษัทบุหรี่มีกำไรต่อไปมากกว่า ประเทศไทยจึงไม่ควรผลักดันนโยบายที่ล้มเหลวแบบนี้ในเวทีนานาชาติ