ข่าว

ฤดูน้ำแดง แห่จับปลาใน "น้ำหลาก" วิถีภูมิปัญญาท้องถิ่น

ฤดูน้ำแดง แห่จับปลาใน "น้ำหลาก" วิถีภูมิปัญญาท้องถิ่น

10 ก.ย. 2564

ชาวบ้าน อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา แห่หาปลาในช่วงฤดูน้ำไหลหลาก หรือฤดูน้ำแดง ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน นำกะปิใส่ยกยอ ล่อกลิ่นให้ปลามาติดกับ สร้างรายได้วันละกว่า 2,000 บาท

ที่บริเวณสะพานข้ามลำน้ำคลองตะเกรา ก่อนไหลลงอ่างเก็บน้ำสียัด พบชาวบ้านกำลัททอดแหหาปลาตามใต้สะพาน และตามเส้นทางน้ำไหล ส่วนบนสะพานก็มีชาวบ้านหาปลาด้วยวิธีการยกยอ ถืออุปกรณ์ที่ต้องใช้กำลังแขนมาก ต้องนำยอที่ทำจากลำไม้ไผ่แผงข่าย จุ่มลงในน้ำ ซึ่งการยกยออาจเหนื่อย ได้ปลาครั้งละไม่มาก แต่ข้อดีจะได้ปลาตัวเป็นๆ ส่วนเคล็ดลับในการล่อปลาให้เข้ามาติดกับได้จับ ต้องใช้กะปิใส่ถุงผ้า แล้วมัดรวมกับก้อนหินใส่ลงไปในยอ เพื่อสร้างกลิ่นหอมหลอกปลาเข้ามาในยอ

ฤดูน้ำแดง แห่จับปลาใน \"น้ำหลาก\" วิถีภูมิปัญญาท้องถิ่น ฤดูน้ำแดง แห่จับปลาใน \"น้ำหลาก\" วิถีภูมิปัญญาท้องถิ่น

น้าละม่อม สัญญารัตน์ วัย 65 ปี ชาวบ้านเขากระดาษ หมู่ที่ 19 ต.คลองตะเกรา อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา บอกว่า ออกมาหาปลา เพื่อสร้างรายได้หลังเครียดจากสถานการณ์โควิด-19 เพราะไม่มีใครจ้างงาน ช่วงนี้โชคดีที่มีฝนตก ทำให้สามารถออกหาเห็ดขายได้ และจับปลาในลำคลองตรงนี้ ต่อวันจะขายได้ประมาณ 2,000 ถึง 3,000 บาท และจุดนี้ชาวบ้านนหลายชุมชนของอำเภอท่าตะเกียบ โดยเฉพาะ บ้านเขากระดาษ บ้านเกาะลอย บ้านเกาะกระทิง ได้มาหาปลาสร้างรายได้กัน และบริเวณนี้ก็เคยเกิดเรื่องเศร้า เกิดรถเก๋งวิ่งฝ่ากระแสน้ำท่วม จมลงบริเวณสะพานแห่งนี้ ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ผ่านมา

ฤดูน้ำแดง แห่จับปลาใน \"น้ำหลาก\" วิถีภูมิปัญญาท้องถิ่น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฤดูน้ำแดง แห่จับปลาใน \"น้ำหลาก\" วิถีภูมิปัญญาท้องถิ่น

ในการหาปลาของชาวบ้าน ต่างให้ความร่วมมือ พร้อมใจกันไม่แย่งกันหา ไม่นำอุปกรณ์ผิดประเภทมาใช้ ส่วนใหญ่จะใช้ตามแนววิถีชาวบ้าน ได้ปลาไปประกอบอาหารให้ครอบครัว บางรายก็ขายส่งให้แม่ค้า บางรายก็นำขายตรงบริเวณริมสะพานสร้างรายได้กันไป

ฤดูน้ำแดง แห่จับปลาใน \"น้ำหลาก\" วิถีภูมิปัญญาท้องถิ่น

บุญเสริม ตันวัฒนะ , สราวุฒิ บุญสร้าง ผู้สื่อข่าวภูมิภาคฉะเชิงเทรา