ข่าว

"ม.มหิดล" คิดค้นและพัฒนานวัตกรรม การติดตามการแพร่กระจาย PM2.5

"ม.มหิดล" คิดค้นและพัฒนานวัตกรรม การติดตามการแพร่กระจาย PM2.5

15 ก.ย. 2564

นวัตกรรมการติดตามการแพร่กระจาย PM2.5 ต้นทุนต่ำ ราคาแค่หลักหมื่น สะดวกติดตั้ง จากผลงานวิจัย "ม.มหิดล" คิดค้นและพัฒนานวัตกรรม

วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี ตรงกับ “วันโอโซนโลก” (World Ozone Day) ที่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาติ (UNEP) จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ชาวโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของชั้นบรรยากาศโอโซนของโลกที่ทำหน้าที่ป้องกันรังสี UV ซึ่งหากโลกได้รับมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศ

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

สาเหตุหลักที่ทำให้โอโซนชั้นบรรยากาศ (High Level Ozone) ของโลกลดลง เกิดจากสารเคมีที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ในขณะเดียวกันโอโซนภาคพื้นดิน (Ground Level Ozone) มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงก็

 

 

เนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์อีกเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะที่เป็นแหล่งกำเนิดของไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ซึ่งโอโซนบนภาคพื้นดิน ถือเป็นหนึ่งในมลพิษทางอากาศที่ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก และยังเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย

รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้ได้รับทุนวิจัยและนวัตกรรม จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปีงบประมาณ 2564 ได้ดำเนินโครงการวิจัย “การพัฒนาระบบคาดการณ์และแจ้งเตือนการแพร่กระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดลำปาง” 
ซึ่งมีระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 - เดือนกันยายน 2565 

 

 

\"ม.มหิดล\" คิดค้นและพัฒนานวัตกรรม การติดตามการแพร่กระจาย PM2.5

 

โดยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) แห่งสหประชาชาติ ข้อที่ 13 ซึ่งว่าด้วยเรื่องการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ (Climate Action) และ ข้อที่ 15 ซึ่งว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศอย่างยั่งยืน (Life On Land) 

 

 

โดยดำเนินการสร้างแบบจำลองเพื่อประเมินการแพร่กระจายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ด้วยการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมที่สามารถให้ความลึกเชิงแสงของฝุ่นละออง (Aerosol Optical Depth, AOD)

ซึ่งโดยทั่วไปอนุภาคเหล่านี้รวมไปถึงฝุ่นละอองหมอกควันและมลพิษที่กระจายตัวในบรรยากาศ บูรณาการกับข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศภาคพื้นดิน ทำให้สามารถประเมินค่าฝุ่นละออง

 

 

โดยเฉพาะที่ครอบคลุมในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างใกล้เคียง และสอดคล้องกับความเป็นจริง แตกต่างจากเดิมที่เป็นค่าเฉลี่ยจากสถานีตรวจวัดภาคพื้นดินที่มีอยู่อย่างจำกัดในแต่ละพื้นที่เท่านั้น

 

 

 

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ทางโครงการยังได้ผลิตสถานีตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กต้นทุนต่ำ (Low Cost Station) ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องมือตรวจวัดทางอุตุนิยมวิทยา และเครื่องตรวจวัดฝุ่นละออง (PM2.5) ขนาดเล็กแบบการกระเจิงแสง (Light Scattering)

 

 

โดยทำการเทียบเคียงความถูกต้องกับสถานีตรวจวัดของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล

 

 

สถานีตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้มีต้นทุนเพียงไม่เกิน 10,000 บาทเท่านั้น โดยจะดำเนินการนำเสนอเพื่อจดอนุสิทธิบัตรในโอกาสต่อไป ซึ่งจะเป็นการต่อยอดเพื่อให้การดูแลรับผิดชอบต่อสังคม และชุมชนที่อยู่โดยรอบมหาวิทยาลัยมหิดล สามารถขยายไปสู่ภาคส่วนต่างๆ ของประเทศ

 

 

โดยจะได้มีการนำสถานีตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กต้นทุนต่ำดังกล่าวไปติดตั้งกระจายครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาวิจัยที่ได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 อย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นต้นแบบเพื่อขยายไปสู่การแก้ไขปัญหาในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

 

 

นอกจากนี้ จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับปริญญาโท และเอกของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งจากสถาบันอื่น ได้มีโอกาสฝึกภาคสนาม โดย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความพร้อมอยู่แล้วทั้งทางด้านวิชาการ บุคลากร และสถานที่ 

 

จากการที่มี ศูนย์การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ (Educational Research and Environmental Technology Initiative Center) ของคณะฯ เปิดทำการเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการ และการฝึกภาคสนาม ณ จังหวัดลำปาง มาเกือบ 10 ปี

 

 

“การมีความรู้ความเข้าใจและบูรณาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องรวดเร็วและทันสถานการณ์จะนำไปสู่การมีชีวิตที่ดีและยั่งยืน” รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ กล่าวทิ้งท้าย