"ดีเอสไอ" ลุยสงขลาสอบ 3 บริษัท "เหมืองแร่" หลังมีผู้ร้องเรียนลอบขุดภูเขา
กรมสอบสวนคดีพิเศษ "ดีเอสไอ" ลงพื้นที่ จ.สงขลา ตรวจสอบ 3 บริษัท หลังได้รับการร้องเรียนมีการลักลอบทำ "เหมืองแร่" ส่งออกต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต
สืบเนื่องจาก กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้รับข้อมูลจากแหล่งข่าวว่า มีการลักลอบประกอบกิจการเหมืองแร่ ในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดชายแดนภาคใต้หลายแห่ง ด้วยการลักลอบขุดภูเขา ระเบิดหิน เหมืองหิน เพื่อนำแร่ส่งออกยังต่างประเทศโดยมิได้รับอนุญาตและไม่ชำระค่าภาคหลวงแร่ทำให้ประเทศไทยสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและภาษีจำนวนมาก
อ่านข่าวที่น่าสนใจ
- อดีตหัวหน้า "รปภ." แค้นลูกน้องเก่าบุกจ่อยิงดับคาป้อมยาม เผยปมถูกไล่ออก
- ส่องเลข "อาถรรพ์" คดีฆ่าสยอง วารินชำราบ ชาวบ้านแห่เสี่ยงโชค
- "พยาบาล" ร้อง อนุทิน เปิดบรรจุเป็นข้าราชการ อีกหมื่นอัตรา
- ตร.ถาม "ป้ายทะเบียนรถ"ของใคร มารับได้ที่สน. เตือนเรียกรับเงินมีความผิด
- คนงานชาว"พม่า" นอนจมกองเลือดถูกหินทับร่างดับคา "ตู้คอนเทนเนอร์"
พันตำรวจโท กรวัชร์ ปานประภากร อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จึงได้อนุมัติให้กองปฏิบัติการคดีพิเศษภาคสืบสวน เป็นสำนวนสืบสวนที่ 85/2564 โดยมอบหมายให้ นายมเหสักข์ พันธุ์สง่า ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการคดีพิเศษภาค นายพิเชฏฐ์ ทองศรีนุ่น ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ และนายชยพล สายทวี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงพื้นที่ทำการสืบสวนเพื่อพิสูจน์ทราบ
ต่อมา เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ บูรณาการร่วมกับ สำนักอำนวยการข่าวกรอง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า อุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ด่านศุลกากรสงขลา เทศบาลตำบลนาทับ สถานีตำรวจภูธรควนมีด ศูนย์ปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมตรวจสอบ บริษัท ไศลรุ่งเรือง บริษัท เมืองแร่ลิวงศ์ จำกัด และบริษัท เอ็กซ์วัน (อินเตอร์เทรด) ประเทศไทย จำกัด (ท่าเรือ)
โดยได้ตรวจสอบขั้นตอนตั้งแต่รถบรรทุกแร่เข้ามาในบริเวณท่าเรือเอ็กซ์วัน จนกระทั่งส่งแร่ออกไปนอกราชอาณาจักร พร้อมทั้งขอเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาประกอบการพิจารณา ในการส่งออกแร่หินดังกล่าวได้ดำเนินการโดยถูกต้อง และชำระค่าภาคหลวงครบถ้วนหรือไม่ และการทำเหมืองของผู้ประกอบการส่งออกดังกล่าว ได้ทำเหมืองนอกเขตประทานบัตรที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ หากเข้าข่ายเป็นคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ที่เป็นคดีพิเศษ ก็จะรับคดีไว้สืบสวนสอบสวนตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ต่อไป