ข่าว

เอาหล่ะสิ "รถไฟญี่ปุ่นมือสอง" วิ่งบนรางรถไฟไทยไม่ได้

เอาหล่ะสิ "รถไฟญี่ปุ่นมือสอง" วิ่งบนรางรถไฟไทยไม่ได้

17 ก.ย. 2564

ประธาน สหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศไทย เชื่อไทยรับ "รถไฟญี่ปุ่นมือสอง" ไม่คุ้มเพราะขนาดรางไม่เท่ากันต้องเสียค่าปรับปรุง

 

"นายสาวิทย์ แก้วหวาน" ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย(สร.รฟท.) เปิดเผย"คมชัดลึก" กรณีที่ญี่ปุ่นเตรียมบริจาค "รถไฟญี่ปุ่นมือสอง" หรือรถไฟฮอกไกโด ที่ใช้มาแล้วกว่า 40 ปี โดยฝ่ายไทยต้องเสียค่าขนส่งประมาณ 42 ล้านบาท ว่า "ความเห็นของผมการรถไฟไปรับรถไฟจากประเทศญี่ปุ่นมาแล้วหลายครั้ง  ล่าสุดจอดอยู่ที่ศรีราชา 10 คัน เป็นของ เจอาร์ฮอกไกโด 

 

ไทยเคยรับบริจาครถไฟ จากญี่ปุ่นมาหลายครั้ง พบ 10 คันเป็นของเจอาร์ฮอกไกโด จอดรอปรับปรุงสภาพที่ศรีราชา ชลบุรี

 

ขนาดทางของรถไฟญี่ปุ่นกับบ้านเรานั้นมันต่างกัน ของไทยนั้นทางกว้าง 1 เมตร ขนาดทางรถไฟแล้วแต่ประเทศไหนจะใช้กัน แต่ว่าถ้าเป็นมาตรฐานคือ 1.435 เมตร ญี่ปุ่น 1.35 เมตร ก็มี

 

"ส่วนที่จะรับมาคือ 1 .06 เมตร  ขนาดความกว้างเท่าไหร่ไม่ใช่ประเด็น ปัญหาคือเราจะนำมาติดรถไฟได้หรือเปล่า ถ้าติดได้ จะใช้ทางเท่าไรก็ได้ เพราะเราสร้างทางเองได้ไม่ใช่ปัญหา แต่ของเรามันใช้ขนาด 1 เมตรมาโดยตลอด"

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

 

เพราะฉะนั้นเมื่อเอารถมาแล้วล้อกว้างกว่าเรา เราก็ต้องย่อความยาวของล้อรถลงมาเพื่อให้วิ่งกับทางเราได้ซึ่งมันก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในแง่ของการดัดแปลงให้ล้อวิ่งบนรางของเราได้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงดัดแปลง

 

รวมทั้งเรื่องของโรงอะไหล่ เมื่อเอามาวิ่งอะไหล่ไม่ได้ขายตามท้องตลาด มันก็ต้องมีข้อผูกพันที่จะต้องซื้ออะไหล่จากญี่ปุ่นอีก

 

"บางคันเอามาแล้วอาจจะใช้ไม่ได้ก็อาจมาใช้เป็นอะไหล่ไปต่อคันอื่น ผมมองว่าได้มาฟรีก็จริงแต่ว่ามันจะไม่คุ้มค่าที่สำคัญคือรถใช้มา 30-40 ปีแล้ว" ประธานสหภาพแรงงานรถไฟฯ กล่าว 

 

นายสาวิทย์ กล่าวว่า เปรียบเทียบเป็นรถยนต์ เหล็กมีข้อจำกัดในการใช้งาน ผมคิดว่าถ้าฟังในสิ่งที่เขาพูดกันว่าจะนำมาเป็นรถท่องเที่ยว ซึ่งรถท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วสูงมากเพราะใช้กินลมชมวิว

 

ประเด็นของผมคือรถของเราที่เลิกใช้การก็มีอยู่ เราก็เอามาปรับปรุงใหม่ซึ่งขณะนี้โรงงานที่มักกะสันก็ทำได้ จากที่สามารถซ่อมสร้างได้แต่นโยบายรัฐบาลให้ซื้ออย่างเดียว โรงงานที่มักกะสันก็เลยสูญเสียศักยภาพ นโยบายของรัฐบาลไม่ชัดสำหรับการพัฒนารถไฟก็เลยทำให้เราล้าหลัง จริงๆ

 

สภาพรถไฟ เจอาร์ฮอกไกโด ซึ่งญี่ปุ่นเคยบริจาคให้ไทย ยังจอดรอปรับปรุงที่ศรีราชา

 

โรงงานมักกะสันเป็นเขตอุตสาหกรรมใหญ่ของประเทศในอดีตที่ผ่านมาเกือบ 100 ปี จะสร้างใหม่ก็สามารถที่จะทำได้ เพียงแต่ขอความชัดเจนจากรัฐบาล

 

"เพราะฉะนั้นผมคิดว่ารถเก่าที่เรามีอยู่ถ้าจะโมดิฟายด์ ทุกวันนี้ก็มีรถท่องเที่ยว รถประชุม มีการจองกันเต็ม ไม่ว่างเลย รถเก่าๆของเราก็มีแล้วไม่ต้องไปย่นล้อด้วย เจอาร์เวสต์เข้ามายังทำไม่หมดเลยอยู่ที่ศรีราชา" นายสาวิทย์ กล่าว

 

"ถ้าเอามาแล้วอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนผมไม่ได้ขัดข้องเลย เพียงแต่ว่าเอามาแล้วคุ้มค่าคุ้มทุนหรือไม่ ในยามที่ประเทศเรากำลังมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ เราน่าจะมองไปข้างหน้ามากกว่า รถที่ไร้มลภาวะ รถไฟฟ้า น่าจะไปพัฒนาตรงนั้นมากกว่า หรือไม่ก็ออกแบบคิดสร้างรถขึ้นมาเอง ผมคิดว่าระบบรางในอนาคตข้างหน้าจะเป็นระบบหลักในการขนส่งของประเทศ" 

 

เอาหล่ะสิ \"รถไฟญี่ปุ่นมือสอง\" วิ่งบนรางรถไฟไทยไม่ได้

"ที่แน่นอนที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย คือ ค่าขนย้าย บริษัทไหนก็ต้องไปดูอีก ใครจะให้ของเรา เราต้องมาดูว่าเราจะเอาไปทำอะไร มันจะคุ้มค่าไหม คุ้มทุนไหม ถ้าจะซื้อของใหม่ราคาสูงกว่าแต่ระยะเวลาในการใช้งานนานกว่า ฟังจากคนรถไฟเขาก็ไม่เห็นด้วยนะ เพียงแต่ว่าตามนโยบายก็ว่ากันไป การเอามาสมเหตุสมผลไมคุ้มทุนหรือเปล่า ประชาชนได้ประโยชน์ชัดเจนหรือเปล่า เอามาก็ต้องฝากไว้ที่ท่าเรือต้องมีค่าฝากหรือเปล่าเพราะต้องตัดแรงล้อก่อนให้วิ่งได้ ต้องดัดแปลงให้วิ่งบบนรางก่อนแล้วจึงเอามาได้ การออกแบบต้องให้สมดุลดังนั้นเมื่อเราไปตัดไปดัดแปลงมันก็จะไม่สมดุล อย่างนี้ความปลอดภัยจะมีหรือไม่ โครงสร้างมันต้องสัมพันธ์กัน"  ประธาน สร.รฟท. กล่าว