ข่าว

"กยท." เดินหน้าสร้างความเข้มแข็งให้ยางไทยฝ่าโควิด-19

"กยท." เดินหน้าสร้างความเข้มแข็งให้ยางไทยฝ่าโควิด-19

21 ก.ย. 2564

"กยท." ฝ่าวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 สร้างความเข้มเข็มให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เดินหน้าเข้าสู่ภาคธุรกิจ เร่งขับเคลื่อนสวนยางแปลงใหญ่ พร้อมโรงงานแปรรูปในพื้นที่ 7 เขตของ กยท.ให้เป็นรูปธรรม ผลักดันไทยสู่ศูนย์กลางยางพาราโลก

 

 

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า ในช่วงปีงบประมาณ 2564 สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่รุนแรง ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของยางพาราของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

 

ซึ่ง "กยท." ได้มีการปรับรูปแบบการทำงานใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์นำระบบไอทีเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการมากขึ้น  พร้อมออกมาตรการต่าง ๆ ช่วยเหลือเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการดำเนินโครงการชะลอการขายยางของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง  

 

 

โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง โครงการขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้แก้เกษตรกร สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการยาง เป็นต้น  ซึ่งสามารถช่วยเหลือผลกระทบและรักษาเสถียรภาพราคายางในห้วงเวลาวิกฤตโรคระบาดได้เป็นอย่างดี

 

 

และที่สำคัญช่วยรักษาสภาพคล่องทางการเงินให้ชาวสวนยางไม่ให้หยุดชะงัก ขณะเดียวกันยังได้มีการส่งเสริมการใช้ยางเพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ยางในประเทศอีกด้วย ทำให้สถานการณ์ราคายางวันนี้ยังอยู่ในแนวโน้มที่ดีคือยางแผ่นรมควันราคามากกว่า 50 บาทต่อกิโลกรัม และราคายางก้อนราคาไม่ต่ำกว่า 46  บาทต่อกิโลกรัม 

 

 

 

 

 

 

\"กยท.\" เดินหน้าสร้างความเข้มแข็งให้ยางไทยฝ่าโควิด-19

 

 

นอกจากนี้ "กยท.ได้วางเป้าหมายสำคัญเพื่อต่อยอดความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมยางพาราไทย โดยได้ส่งเสริมการทำสวนยางในรูปแบบแปลงใหญ่ มุ่งหวังพัฒนาเกษตรกรชาวสวนยางสู่การเป็น Smart Farmer ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 5 ด้าน

 

 

\"กยท.\" เดินหน้าสร้างความเข้มแข็งให้ยางไทยฝ่าโควิด-19

 

 

ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต การพัฒนาคุณภาพ การตลาด การบริหารจัดการ โดยการบูรณาการร่วมกันทั้งในส่วนของเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง หน่วยราชการ และภาคเอกชน

 

 

\"กยท.\" เดินหน้าสร้างความเข้มแข็งให้ยางไทยฝ่าโควิด-19

 

 

ทั้งนี้ มีการกำหนดเป้าหมายให้มีโรงงานแปรรูปยางพาราครอบคลุมพื้นที่ทุกเขตของ กยท. ทั้ง 7 เขต   เช่น  โรง งานแปรรูปน้ำยางข้นของสหกรณ์เครือข่ายยางพาราจังหวัดตราด   โรงงานแปรรูปน้ำยางข้นที่ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา  เป็นต้น

 

 

ทำให้สามารถรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรโดยตรง  ลดค่าใช้จ่ายเรื่องขนส่ง สามารถควบคุมคุณภาพผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีราคารับซื้อเป็นธรรม มีตลาดรองรับแน่นอน มีพื้นที่จัดเก็บสินค้า สิ่งเหล่านี้เป็นกลไกที่ช่วยรักษาเสถียรภาพราคายางได้เป็นอย่างดี  

 

 

"กยท."ได้เริ่มดำเนินการผลักดันเกษตรกรเข้าสู่โหมดธุรกิจให้เป็นผู้ประกอบการได้ ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่าง"กยท."กับสถาบันเกษตรกรและโรงงานแปรรูปของภาคเอกชน เปิดโอกาสให้สถาบันเกษตรกรรวบรวมผล ผลิตส่งให้โรงงานเอกชนแปรรูป

 

 

พร้อมทั้งร่วมมือกันทำการตลาด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้วิธีทำธุรกิจโดย"กยท." จะสนับสนุนเงินลงทุนเสริมสภาพคล่อง สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อดึงเกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เข้าสู่ธุรกิจการทำตลาดนอกเหนือจากการขายผลผลิตที่ต้นน้ำให้มากขึ้น

 

 

เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรได้ดีอีกช่องทางหนึ่ง รวมทั้งยังเป็นช่วยพัฒนาและสร้างความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมยางพาราไทยอีกด้วย" ผู้ว่า "กยท."กล่าว   

 

 

 

 

 

ผู้ว่าการ กยท. กล่าวด้วยว่า "กยท." ยังได้ทำการศึกษาความเหมาะสมเพื่อจัดสร้างศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมยางพาราไทยแบบครบวงจร (Rubber Innovation Hub) ภายใต้เนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ใน จ.นครศรีธรรมราช รูปแบบภายในศูนย์เรียนรู้ ฯ จะคล้ายๆ เป็นนิคมอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร

 

 

ประกอบด้วยเรื่องของยางพาราไทยครอบคลุมทุกด้านตั้งแต่เริ่มต้นปลูกยางไปจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ยางพาราไทย เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์  แปลงปลูกสาธิต เทคนิคกรีดยาง  โรงงานแปรรูป งานทดลองศึกษาค้นคว้าวิจัยยางพาราต่างๆ เป็นต้น

 

 

ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปยืนอยู่ในแถวหน้าของอุตสาหกรรมยางพาราได้อย่างมั่นคง และเป็นศูนย์
กลางผลิตภัณฑ์ยางพาราของโลกได้ 

 

 

ส่วนแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565  จะดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้มเข็มให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางต่อเนื่องจากปี 2564

 

 

ไม่ว่าจะเป็นศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมยางพาราไทยแบบครบวงจร จะขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น พร้อมทั้งจะจัดตั้งบริษัทลูกในเครือของ "กยท." เพื่อดำเนินการด้านการตลาด  

 

 

นอกจากนี้จะดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นมาตรการทางอ้อมในให้ความช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้สม่ำเสมอในภาวะวิกฤติจากการระบาดโควิด-19  

 

 

ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ(กนย.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธาน ได้พิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว

 

 

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง