ข่าว

ผู้ว่ากกท.รับ บทลงโทษ"วาดา"เชือดไทย กระทบมูลค่าทรัพย์สินทางเศรษฐกิจ

ผู้ว่ากกท.รับ บทลงโทษ"วาดา"เชือดไทย กระทบมูลค่าทรัพย์สินทางเศรษฐกิจ

09 ต.ค. 2564

ผู้ว่าการ กกท. ชี้บทลงโทษ ของ " วาดา" จากประเด็นที่ไทย ไม่ได้ปฏิบัติตามธรรมนูญของการบังคับใช้กฎหมาย  เรื่องสารต้องห้าม ทั้งการห้ามส่งนักกีฬาเข้าแข่งระดับนานาชาติ รวมไปถึงเจ้าภาพกีฬานานาชาติ จะสร้างความเสียหายต่อมูลค่าทรัพย์สินทางเศรษฐกิจ จากการสูญเสียโอกาส

ก้องศักด   ยอดมณี  ผู้ว่าการ  การกีฬาแห่งประเทศไทย  ( กกท. )  เปิดเผยว่า   ตามที่องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency: WADA) หรือ "วาดา"  ประกาศไม่ให้การรับรอง ไทย   เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติตามธรรมนูญขององค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก "  วาดา" ในด้านของการบังคับใช้กฎหมาย  มีบทลงโทษด้วย การห้ามเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ และการทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ ทั้งระดับภูมิภาค ทวีป หรือระดับโลก


ประเด็นดังกล่าวที่มาจากทาง " วาดา"  ถือว่ามีความเกี่ยวข้องหลายอย่าง และไทยจำเป็นต้องเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง  หากประเทศไทยดำเนินการแก้ไขกฎหมายล่าช้า จะส่งผลให้ประเทศไทยไม่สามารถส่งนักกีฬาไปเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติ หรือเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติได้ อันจะทำให้กระทบต่อวงการกีฬาของประเทศ และภาพลักษณ์ของประเทศไทยต่อนานาประเทศ

 

รวมทั้ง อาจสูญเสียมูลค่าทรัพย์สินทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก  จากการสูญเสียโอกาสด้านต่างๆ จึงสมควรแก้ไขกฎหมายในเรื่องนี้ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว ภายใน 3 – 4 เดือน โดยขณะนี้ การดำเนินการอยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

 

ทั้งนี้ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)  อยู่ระหว่างการรับการประเมินผลการดำเนินการการต่อต้านการใช้สารต้องห้าม โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่  1. Audit Programs เป็นการตรวจสอบประเมินการปฏิบัติงานของสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา ซึ่ง กกท.ได้ดำเนินการแก้ไข และการปฏิบัติงานตามข้อเสนอแนะของ "วาดา"   และยังอยู่ในระหว่างการตรวจประเมินของ "วาดา"ซึ่งจะสิ้นสุด ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 

 2. Continuous Monitoring Program ซึ่ง "วาดา" ได้ให้การรับรองกฎการต่อต้านการใช้ สารต้องห้ามของสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา เรียบร้อยแล้ว  และ 3. พระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 ซึ่ง "วาดา"  ได้ทำการตรวจสอบพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 พบว่า มีข้อกำหนด ในบางมาตราที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ตามที่ประมวลกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก ฉบับ ค.ศ. 2021 กำหนดไว้ 

 

 


ดังนั้น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย สำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา ได้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี โดยในคราวการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 โดยคณะรัฐมนตรี มีมติมอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา การกีฬาแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ร่วมกันพิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 

 

อาทิ การกำหนดให้หน่วยงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมการใช้สารต้องห้ามของประเทศไทย เป็นหน่วยงานอิสระ  แก้ไขบทนิยามเกี่ยวกับสารต้องห้ามทางการกีฬา เป็นต้น ให้สอดคล้องกับประมวลกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก โดยให้พิจารณารูปแบบความเหมาะสมที่จะตราเป็นกฎหมายตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตราเป็นพระราชกำหนดตามมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไปโดยเร็ว 

 

ประกาศของ "วาดา" ต่อประเทศไทย

https://www.wada-ama.org/en/media/news/2021-10/wada-confirms-non-compliance-of-five-anti-doping-organizations 

ผู้ว่ากกท.รับ บทลงโทษ\"วาดา\"เชือดไทย กระทบมูลค่าทรัพย์สินทางเศรษฐกิจ ผู้ว่ากกท.รับ บทลงโทษ\"วาดา\"เชือดไทย กระทบมูลค่าทรัพย์สินทางเศรษฐกิจ การแข่งขันเจ็ตสกีระดับนานาชาติ รวมไปถึงแบดมินตันในทัวร์นาเมนต์ระดับสากล ที่ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพ  จะได้รับผลกระทบทันที เมื่อองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก ประกาศบังคับใช้บทลงโทษ ( แฟ้มภาพ)