ข่าว

"ติโต" พระราชนิพนธ์แปล ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ

"ติโต" พระราชนิพนธ์แปล ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ

13 ต.ค. 2564

"ติโต" หนึ่งในพระราชนิพนธ์แปล ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ วรรณกรรมที่สะท้อนเรื่องความสามัคคี การมีผู้นำที่ดีและมีความยุติธรรม

"ติโต"พระราชนิพนธ์แปลใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงแปลเรื่อง "ติโต" จากต้นฉบับเรื่อง TITO ของ Phyllis Auty เมื่อปี พ.ศ.2519 เพื่อใช้ในศึกษา และเรียนรู้บุคคลที่น่าสนใจของโลกคนหนึ่ง รวมถึงผู้สนใจในประวัติศาสตร์ได้รู้จัก "ติโต" อย่างกว้างขวางมากขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายทั่วประเทศ ในปี พ.ศ.2537 โดยมอบรายได้จากการจัดจำหน่ายสมทบ "มูลนิธิชัยพัฒนา"

 

เรื่องราวในพระราชนิพนธ์ "ติโต" มีใจความโดยสรุปดังนี้ "ติโต" รู้จักกันในนามของจอมพลติโต เดิมชื่อ โจซิบ โบรซ (Josip Broz) พ.ศ. 2435-2523  นายกรัฐมนตรีคอมมิวนิสต์คนแรก (พ.ศ. 2488) และประธานาธิบดีของประเทศยูโกสลาเวีย (พ.ศ. 2496-2523) เกิดที่เมืองคุมโรเวค โครเอเชีย

นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ ทรงงานอดิเรก

ในปี 2491 "ติโต" ได้แยกประเทศออกจากโซเวียต ทำการพัฒนาประเทศและตั้งตนเป็นประเทศคอมมิวนิสต์อิสระ (ลัทธิติโต) เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมประเทศผู้ไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด "ติโต" เป็นรัฐบุรุษของประเทศยูโกสลาเวีย ซึ่งประกอบด้วยหลายชนชาติ มีความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ เมื่อในยามวิกฤติประชาชนกลับมารวมกันเป็นปึกแผ่น สามารถรักษาความสมบูรณ์ และเพิ่มพูนความเจริญของประเทศตลอดชีวิตของเขา ในปี พ.ศ.2523 "ติโต" เสียชีวิตมีอายุ 88 ปี หลังจากนั้นประเทศยูโกสลาเวียก็ค่อยๆ สลายลง จนกระทั่งมีความแตกแยก จนยากที่จะแก้ไขได้ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

คำว่า การต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติบ้านเมือง ต้องหมายตลอดถึงเสรีภาพของชาวโครแอต สโลวีน เซิร์บ มาร์เซโดเนียน ชิปต้าร์ มุสลิม พร้อมกันหมด ต้องหมายว่าการต่อสู้จะนำมาซึ่งอิสระภาพ เสมอภาค และภารดรภาพ สำหรับทุกชนชาติในยูโกสวาเวียอย่างแท้จริง นี่คือสารัตถ์สำคัญของการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติ "ติโต" กล่าวในปี 1942

 

"ติโต" ผู้ที่ฟันฝ่าอุปสรรคในทุกวิถีทางเพื่อสร้างความเป็นไท ให้แก่ประเทศของเขา ข้อสังเกตในการแปลเรื่องนี้ก็คือ ทรงใช้ภาษาที่สามัญชนเข้าใจง่าย รวมทั้งการใช้โวหารเปรียบเทียบที่คมคาย ความสามัคคีจะเกิดขึ้นได้ ส่วนหนึ่งมาจากการมีได้ผู้นำที่ดีและมีความยุติธรรม