ข่าว

เมื่อ "โควิด" คือตัวแปร จงหาความ "พอเพียง" ให้เจอ

เมื่อ "โควิด" คือตัวแปร จงหาความ "พอเพียง" ให้เจอ

12 ต.ค. 2564

หลักเศรษฐกิจ "พอเพียง" คือการวางแผน เพื่อให้สามารถอยู่ในความเปลี่ยนแปลงได้ แม้จะไม่มากเท่าเดิม แต่ก็ได้สร้างความสุขของครอบครัวเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

สถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวแปรที่ทำให้หลายๆ ชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลง แม้จะไม่ดีเท่าเดิม แต่ๆละคน ก็พยายามอดทน เพื่ออยู่ให้ได้กับสถานการณ์นี้ และอยู่ให้ได้อย่างปลอดภัย หนึ่งในนั้นคือ คุณกรรณิการ์ ตระกูลสา แม่ค้าสินค้ามือสอง เปิดร้านเล็ก ๆ ที่ตลาดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เดิมเธอกับสามี ตัดสินใจลงทุนเพื่อขายสินค้าเบ็ดเตล็ด เป็นธุรกิจครอบครัว ต่อยอดเป็นทุนให้ลูกชาย น้องมาตา เด็กชายปิตุพัชร วัย 5 ขวบ

เมื่อ \"โควิด\" คือตัวแปร จงหาความ \"พอเพียง\" ให้เจอ โดยก่อนสถานการณ์โควิด การค้าขายทิศทางที่ดี มีลูกค้าชาว จีนและไทย แวะเวียน เข้าร้าน รวมถึงมีการค้าขายผ่านทางออนไลน์ควบคู่ไปด้วย ถือว่ามีรายได้ดีสมความตั้งใจ ยิ้มได้ด้วยความหวัง

เมื่อ \"โควิด\" คือตัวแปร จงหาความ \"พอเพียง\" ให้เจอ
 

แต่ภายหลังมาเจอวิกฤตโควิด-19 ลูกค้าเป็นศูนย์ แต่ก็ยังเปิดราน เพราะหวังว่าทุกอย่างจะกลับมาในทางที่ดี แต่แล้วไม่เป็นอย่างที่คิด คุณกรรณิการ์ บอกว่า ก่อนมาเปิดร้านนี้ ก็ได้วางแผนการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ตามสภาวะความเป็นอยู่ แต่สิ่งที่คิด กลับไม่ได้อย่างที่หวัง

 

โควิดที่ยาวนาน ทำให้สภาพจิตใจแย่ลง ระวังตัวจากโควิดจนเครียด อีกทั้งบ้านใกล้เรือนเคียง ติดโควิดเสียชีวิต ยิ่งจิตตก เครียดกับสถานการณ์มากขึ้น รวมถึงการกักตัวอยู่บ้านของตนเองกับสามี ทำให้เสพสื่อเพิ่มมากขึ้น อ่านดู รู้มาก ยิ่งเติมทุกข์ในใจ จนตนเองตัดสินใจขอกลับมาบ้านเกิดที่อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ นาทีนั้นคิดเพียงว่า ต้องการพักใจ หนีความวุ่นวายทางความคิด ให้ตนเองและครอบครัวปลอดภัย 

เมื่อ \"โควิด\" คือตัวแปร จงหาความ \"พอเพียง\" ให้เจอ

แต่การตัดสินใจครั้งนี้ กลับเปลี่ยนมุมคิดอะไรในชีวิตหลายๆอย่าง กลับบ้านไปพบกับต้นไม้ ที่เคยปลูกในวัยเด็ก เติบโตให้กินดอกออกผล อากาศที่รู้สึกหายใจได้เต็มปอด หาหน่อไม้เพื่อทำกับข้าวกินกันง่ายๆ ซึ่งแรกๆ ทำเพื่อผ่อนคลาย ลดการดิ้นรนในชีวิตสักครั้ง

 

จนทำให้มองเห็นหลักเศรษฐกิจ "พอเพียง" ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงลองตัดสินใจมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิดสักระยะ โดยยังนำความคิดของคนรุ่นใหม่ ทำงานงานที่ไหนก็ได้ เป็นร้านในโลกออนไลน์ก็ขายของได้ และเริ่มทำหน่อไม้ดองขายเอง ปรากฏว่า มีความสนใจจากลูกค้า หาผลอโวคาโดมาขาย แม้รายได้ ไม่สูงเท่าขายสินค้ามือสอง แต่ก็ยังมีรายได้เข้ามาได้บ้าง และเริ่มมีวางแผนในการใช้เงินมากขึ้น ตัดในสิ่งที่ไม่จำเป็นออก ใช้เงินแต่พอดี 

เมื่อ \"โควิด\" คือตัวแปร จงหาความ \"พอเพียง\" ให้เจอ

คุณกรรณิการ์ บอกด้วยว่า สามีที่เคยเครียด กับสภาพแวดล้อมในกรุงเทพ เสพสื่อที่มากเกินไป ปัจจุบันได้ลดลงมาก ในการใช้ธรรมชาติบำบัด ทำสวนให้ผ่อนคลาย ประกอบกับสามี เป็นอดีตช่างภาพ ยังสามารถ มาถ่ายภาพสินค้า เพื่อขายในสื่อออนไลน์ได้ด้วย 

เมื่อ \"โควิด\" คือตัวแปร จงหาความ \"พอเพียง\" ให้เจอ

ส่วนน้องมาตา ลูกชาย ก็ต้องปรับมุมคิดในการใช้ชีวิตที่แตกต่างจากกรุงเทพฯ เพราะเดิมตนเองถูกปลูกฝังให้ลูกต้องระวังในเรื่องความสะอาด เพราะแม่ห่วงความปลอดภัยจากโควิด-19 จนลูกจดจำ ว่าทุกอย่างไม่สะอาดต้องระวัง เมื่อกลับมาอยู่บ้านต่างจังหวัดแล้ว ก็ยังวิตกกลัวไม่สะอาด

 

ทำให้คุณกรรณิการ์ ต้องหาทางสร้างกระบวนการเรียนรู้กับลูกเสียใหม่ พาลูกเล่นดินเล่นหญ้ามากขึ้น ปรับมุมคิด ว่า สกปรกก็ล้างให้สะอาดได้ เพราะเชื่อสิ่งแวดล้อมของบ้านเกิดที่เขาค้อ จนได้เห็นรอยยิ้ม ที่ได้สัมผัสธรรมชาติของลูกอย่างแท้จริง ได้ชีวิตสดใสของเด็กน้อยกลับมาอีกครั้ง คุณกรรณิการ์ ยอมรับ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการวางแผนเพื่อให้สามารถอยู่ในความเปลี่ยนแปลงได้ แม้จะไม่มากเท่าเดิม แต่ก็ได้สร้างความสุข และรอยยิ้ม ของครอบครัวเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

เมื่อ \"โควิด\" คือตัวแปร จงหาความ \"พอเพียง\" ให้เจอ

ภาพ/ข่าว กิติธัณย์ พัชรกานต์พงศ์ กอง บก.ภูมิภาค คมชัดลึกออนไลน์