ข่าว

"ราชกิจจาฯ" ประกาศมาตรการ "อุ้มประกันภัย" ที่ประสบปัญหาจ่ายสินไหมโควิด-19

"ราชกิจจาฯ" ประกาศมาตรการ "อุ้มประกันภัย" ที่ประสบปัญหาจ่ายสินไหมโควิด-19

13 ต.ค. 2564

"ราชกิจจาฯ" เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการฯธุรกิจประกันภัย เรื่อง มาตรการสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่มีค่าสินไหมทดแทน COVID -19 "อุ้มประกันภัย" ถือเป็นการช่วยเสริมสภาพคล่องให้บริษัทประกันภัย ที่กำลังประสบปัญหาจ่ายค่าคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อโควิด-19

"ราชกิจจาฯ" เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง มาตรการสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่มีค่าสินไหมทดแทน COVID -19 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) พ.ศ.2564 "อุ้มประกันภัน"  ซึ่งถือเป็นช่วย บริษัทประกันภัย ที่กำลังประสบปัญหาต้องจ่ายค่าความคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อโควิด-19

\"ราชกิจจาฯ\" ประกาศมาตรการ \"อุ้มประกันภัย\" ที่ประสบปัญหาจ่ายสินไหมโควิด-19

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ต.ค.ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง มาตรการสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่มีค่าสินไหมทดแทน COVID -19 ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) พ.ศ.2564

ประกาศฉบับดังกล่าว ระบุว่า  เนื่องจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ในปัจจุบันมีความรุนแรงทำให้มีผู้ป่วยติดเชื้อจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้บริษัทจำนวนหนึ่งต้องจ่าย ค่าสินไหมทดแทนจากกรณีดังกล่าวมากกว่าที่คาดการณ์ในระยะเวลาอันสั้น

\"ราชกิจจาฯ\" ประกาศมาตรการ \"อุ้มประกันภัย\" ที่ประสบปัญหาจ่ายสินไหมโควิด-19

 

ประกอบกับนายกรัฐมนตรี ได้ออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 1) และ (ฉบับที่ 28) ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งกำหนดมาตรการ เพื่อช่วยเหลือหรือบรรเทาผลกระทบอันเกิดจากการบังคับใช้มาตรการของรัฐต่อประชาชนตามหน้าที่ และอำนาจและพิจารณามาตรการและเร่งรัดการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่รวดเร็วและชัดเจนเป็นรูปธรรม

 

ดังนั้น เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบจาก ปัญหาสภาพคล่องที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัท รวมทั้งเพื่อให้บริษัทได้มีระยะเวลาในการจัดการค่าสินไหมทดแทน และแก้ไขฐานะการเงินให้เข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีความจำเป็นเร่งด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าไปอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประชาชน และกระทบต่อความเชื่อมั่น ของระบบประกันภัย

 

สำหรับสาระสำคัญ ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย เรื่อง มาตรการสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่มีค่าสินไหมทดแทน COVID -19 ในช่วง สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID "

 

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2564 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565

 

ข้อ 3 ในประกาศนี้ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการก ากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

“นายทะเบียน” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมอบหมาย

“สำนักงาน ” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย

“บริษัท ” หมายความว่า บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกันวินาศภัย และหมายความรวมถึงสาขาของบริษัทประกันวินาศภัยต่างประเทศ ที่ได้รับ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ที่มีค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นจากการรับประกันภัยการเจ็บป่วยหรือภาวะโคม่าอันเกิดจากโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565

 

“ค่าสินไหมทดแทน COVID -19 ” หมายความว่า ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นจาก การรับประกันภัยการเจ็บป่วยหรือภาวะโคม่าอันเกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565

 

ข้อ 4 การกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุน รวมทั้งการคำนวณเงินกองทุน การประเมินมูลค่าสำรองค่าสินไหมทดแทนและสำรองเบี้ยประกันภัย การจัดสรรเงินสำรอง เบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ เงินสำรองสำหรับค่าสินไหมทดแทน และเงินสำรองอื่น การจัดสรร สินทรัพย์หนุนหลัง การมีเงินสดและเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หรือประเภทกระแสรายวัน ที่บริษัทจัดสรรไว้สำหรับสินทรัพย์หนุนหลังและมีไว้เพื่อจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือการเปิดเผยข้อมูล สำหรับบริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทน COVID -19 ที่ได้รับการผ่อนผันตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามที่ กำหนดในประกาศนี้ ในกรณีที่ประกาศอื่นขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ให้ใช้ประกาศนี้แทน

 

ข้อ 5 บริษัทที่มีค่าสินไหมทดแทน COVID -19 อาจขอผ่อนผันในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ดังต่อไปนี้ ตามแต่กรณี 

 

ข้อ 6 บริษัทที่ขอผ่อนผันตามข้อ 5 ต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(1) มีค่าสินไหมทดแทน COVID -19 เป็นจำนวนมากกว่าห้าร้อยล้านบาทก่อนการยื่นขอผ่อนผัน

(2) มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทน COVID -19 ตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดในคำสั่ง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง ให้แก้ไขเพิ่มเติมคู่มือ ระบบงาน และกระบวนการด าเนินการพิจารณาและจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย COVID -19 ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2564  ไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของเรื่องร้องเรียน เกี่ยวกับกรมธรรม์ประกันภัย COVID -19 ที่มีการยื่นต่อสำนักงานก่อนการยื่นขอผ่อนผัน

(3) มีการประมาณการว่าอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนของบริษัท ในระหว่างวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 อาจต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด

(4) มีเงินกองทุน และ/หรือสินทรัพย์สภาพคล่องเพียงพอสำหรับการจ่ายค่าสินไหมทดแทน COVID -19 ค้างจ่ายที่มีการเรียกร้องก่อนการยื่นขอผ่อนผัน ทั้งนี้ สินทรัพย์สภาพคล่องให้หมายถึง เงินสด เงินฝากกับสถาบันการเงิน พันธบัตรรัฐบาลไทย

(5) มีแผนการดำเนินการแก้ไขฐานะการเงินให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30  มิถุนายน พ.ศ. 2565  โดยรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนต่อนายทะเบียนทุกสิบห้าวัน

 

ข้อ 7 บริษัทที่มีลักษณะตามข้อ 6 อาจขอผ่อนผันตามข้อ 5 ได้โดยยื่นคำขอต่อ นายทะเบียน เพื่อพิจารณาให้การผ่อนผันได้ไม่เกินวันที่ 30  มิถุนายน พ.ศ. 2565  นายทะเบียนแจ้งผลการพิจารณาให้บริษัทที่ยื่นคำขอทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาครบถ้วน และเมื่อนายทะเบียนพิจารณาผ่อนผัน ให้แก่บริษัทใดแล้ว ให้รายงานต่อคณะกรรมการเพื่อทราบ รวมถึงประกาศรายชื่อบริษัทที่ได้รับ การผ่อนผันนั้น ในการผ่อนผันนายทะเบียนจะกำหนดเงื่อนไขใดเพื่อความมั่นคงของบริษัท และเสถียรภาพ ของระบบประกันภัย รวมถึงการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยและประชาชนด้วยก็ได้ เมื่อบริษัทได้รับการผ่อนผันแล้ว บริษัทต้องไม่รับประกันภัยการเจ็บป่วยหรือภาวะโคม่า อันเกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) เพิ่มเติม

 

ข้อ 8 ให้บริษัทที่ได้รับการผ่อนผันตามประกาศนี้ จัดส่งรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงิน และการดำเนินงานต่อนายทะเบียน

 

ข้อ 9  ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเพียงพอของเงินกองทุน กระบวนการในการ บริหารเงินกองทุนของบริษัท และการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุน รวมถึงการประเมินหนี้สิน จากสัญญาประกันภัย โดยเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังใช้มาตรการผ่อนผันจากค่าสินไหมทดแทน COVID -19 ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้

 

ข้อ 10 บริษัทที่ได้รับการผ่อนผันตามประกาศนี้ ให้นายทะเบียนมีอำนาจยกเลิกการผ่อนผัน ตามประกาศนี้ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้

(1) บริษัทไม่ดำเนินการหรือดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนการดำเนินการแก้ไขฐานะการเงิน

(2) บริษัทไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดไว้ในข้อ 7 วรรคสอง

(3) บริษัทดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทน COVID-19 ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยล่าช้า หรือไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(4 ) บริษัทไม่ดำเนินการหรือดำเนินการไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
 

(คลิกอ่าน)  ประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง มาตรการสำหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่มีค่าสินไหมทดแทน COVID-๑๙ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) พ.ศ. ๒๕๖๔ ฉบับเต็ม