ข่าว

"สุดารัตน์" ลุยน้ำท่วม แจกถุงยังชีพ ชุมชนสันติชนสงเคราะห์

"สุดารัตน์" ลุยน้ำท่วม แจกถุงยังชีพ ชุมชนสันติชนสงเคราะห์

17 ต.ค. 2564

"สุดารัตน์" นำทีมไทยสร้างไทย ลุยตรวจน้ำท่วมซ้ำซากชุมชนสันติชนสงเคราะห์ หลังน้ำท่วมจากใต้คานเขื่อนคลองบางกอกน้อยชำรุดกว่า 2 สัปดาห์

คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานพรรคไทยสร้างไทย พร้อมด้วยนายวีรยุทธ ว่องศิริพร นำทีมอาสาไทยสร้างไทย ลงพื้นที่ตรวจน้ำท่วม พร้อมมอบถุงยังชีพช่วยเหลือประชาชนชุมชนสันติชนสงเคราะห์ ริมคลองบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมจากทะเลหนุนสูงกว่า 250 ครัวเรือน

\"สุดารัตน์\" ลุยน้ำท่วม แจกถุงยังชีพ ชุมชนสันติชนสงเคราะห์

คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่าชุมชนสันติชนสงเคราะห์เป็นชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด มีผู้ติดเชื้อกว่า 70 คน และถูกซ้ำเติมความเดือนร้อนจากการชำรุดของคานใต้เขื่อน ที่ทำให้น้ำจากคลองบางกอกน้อยไหลทะลักเข้ามาท่วมชุมชนมานานกว่า 2 สัปดาห์

 

ใน 2 ช่วงเวลา คือช่วงเช้ากับช่วงเย็น ซึ่งบางวันท่วมสูงถึงระดับเอว จนถึง 22.00 น. สร้างความเดือดร้อนเป็นอย่างมากให้กับชุมชน

ทั้งนี้ จากการสอบถามประธานชุมชน และประชาชนชุมชนสันติชนสงเคราะห์ พบว่าแนวป้องกันน้ำท่วมริมคลองบางคลองน้อยช่วงคลองน้ำตาลถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ ระยะความยาว 350 เมตร อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานระบายน้ำ

\"สุดารัตน์\" ลุยน้ำท่วม แจกถุงยังชีพ ชุมชนสันติชนสงเคราะห์

โดยก่อนหน้านี้เคยมีผู้รับเหมาก่อสร้างดำเนินงาน แต่ได้ทิ้งงานไป จึงได้มีการประมูลการปรับปรุงใหม่ และอยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ทราบว่าจะดำเนินการเมื่อใด

“จากการลงพื้นที่สำรวจน้ำท่วมชุมชนสันติชนสงเคราะห์ในครั้งนี้ ปริมาณน้ำคลองบางกอกน้อย มีระดับใกล้เคียงกับระดับน้ำท่วม จึงมีความน่าเป็นห่วงในเรื่องของสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะโควิดที่เป็นปัญหาเดิมของชุมชน และโรคที่มากับน้ำท่วม 

\"สุดารัตน์\" ลุยน้ำท่วม แจกถุงยังชีพ ชุมชนสันติชนสงเคราะห์

ดังนั้นการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือในการเพิ่มเครื่องสูบน้ำ และค่าน้ำมัน เพราะปัจจุบันนี้ประชาชนในชุมชนต้องเรี่ยไรเงินจ่ายกันเอง และในระยะยาว จะต้องเร่งซ่อมบำรุงคานใต้เขื่อนแนวป้องกันน้ำท่วมที่ชำรุดจำนวน 2 จุดให้แล้วเสร็จ เพื่อให้ประชาชนได้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว”คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าว


คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวทิ้งท้ายว่าปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก เป็นสิ่งที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องมีความจริงจังในการแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน เพราะที่ผ่านมาประชาชนในชุมชนต้องช่วยเหลือกันเองอย่างโดดเดี่ยว ซึ่งไม่ใช่ปัญหาใหม่ของชุมชน แต่สามารถแก้ไขปัญหาได้ หากมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ