ข่าวจริง "แอสตร้า" เมืองไทย ได้ขึ้นทะเบียน องค์การอนามัยโลกแล้ว
ข่าวจริง "แอสตร้า" เซนเนก้า ผลิตในประเทศไทย ได้รับการขึ้นทะเบียน ให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉิน โดยองค์การอนามัยโลกแล้ว
ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเรื่อง วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ "แอสตร้า" เซนเนก้า ที่ผลิตในประเทศไทย ว่าได้รับการขึ้นทะเบียนให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลกแล้ว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า "แอสตร้า" (ประเทศไทย) จำกัด พบว่า ประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ "แอสตร้า" ที่ผลิตในประเทศไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนให้นำมาใช้ในภาวะ ฉุกเฉิน (EUL) จากองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้ว โดยการขึ้นทะเบียนดังกล่าวมีผลทันที และครอบคลุมถึงวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทยก่อนหน้านี้ด้วยเช่นเดียวกัน
องค์การอนามัยโลกได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ "แอสตร้า" ให้นำมาใช้ในภาวะฉุกเฉิน ตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา เพื่อเร่งการเข้าถึงวัคซีนและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และในขณะนี้ได้เพิ่มเติมในส่วนของการรับรองวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ "แอสตร้า" ที่ผลิตในประเทศไทยโดย สยามไบโอไซเอนซ์ ซึ่งเป็นการยืนยันว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือ Vaxzevria เป็นวัคซีนที่มีคุณภาพสูง และผลิตตามเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ไม่ว่าจะผลิตจากที่ใดก็ตาม
นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จํากัด เปิดเผยว่า "แอสตร้า" มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่องค์การอนามัยโลกได้ให้การรับรองวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผลิตในประเทศไทยเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน แม้ว่าที่ผ่านมา รัฐบาลในหลายประเทศจะให้การรับรองผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกัน โควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตในประเทศไทย
ว่าเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนแล้ว และตามมาตรการควบคุมการเดินทาง ผู้ที่ได้รับวัคซีนดังกล่าวสามารถเดินทางระหว่างประเทศได้ แต่การรับรองวัคซีนโดยองค์การอนามัยโลกในครั้งนี้ก็จะช่วยอํานวยความสะดวกให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ ยอมรับและรับรองวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ "แอสตร้า" เพื่อประโยชน์ในการเดินทางที่ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
นางนวลพรรณ ล่ำซำ ผู้อํานวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรกิตติมศักดิ์ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จํากัด กล่าว ว่า "แอสตร้า" ที่ผลิตในประเทศไทยในทุก ๆ รอบการผลิตนั้น ได้ผ่านการตรวจรับรองคุณภาพจากหน่วยงานที่กำกับดูแล รวมถึงห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่วัคซีนชุดแรกที่ได้ทำการส่งมอบให้กับแอสตร้าเซนเนก้า ผลการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ครั้งนี้
ถือเป็นข่าวดีที่ตอกย้ำถึงคุณภาพของวัคซีนที่ผลิตโดยสยามไบโอไซเอนซ์ ในฐานะศูนย์การผลิตวัคซีนป้องกันโควิดของ "แอสตร้า" ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศใกล้เคียง ที่ได้รับการรับรองจากองค์กร ระดับโลกอย่าง WHO
เรามีความภาคภูมิใจที่บริษัทของคนไทยได้รับเลือกจาก "แอสตร้า" ให้เป็นหนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 และสามารถผลิตวัคซีนคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากล สยามไบโอไซเอนซ์ยังคงทํางานร่วมกับแอสตร้าเซนเนก้าอย่างใกล้ชิด และผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้สุขภาพ และความเป็นอยู่ของคนในชาติกลับเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้ง "แอสตร้า"
"แอสตร้า" และพันธมิตรผู้ผลิตทุกราย ให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สูงสุด วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในแต่ละรุ่นการผลิตนั้นผ่านการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพต่างๆ รวมกันมากกว่า 60 รายการ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนมั่นใจได้ว่าจะได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากล
นับตั้งแต่เริ่มมีการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าจนถึง เดือนกันยายน 2564 มีผู้ที่ได้รับ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว กว่า 585 ล้านคนทั่วโลก ทั้งนี้ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ แอสตร้าเซนเนก้าได้สร้างประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในการช่วยปกป้องชีวิตผู้คนมากมายจากโรคโควิด-19 ทั้งจาก การเสียชีวิตกว่า 105,000 คน และจากอาการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากโรคโควิด-19 กว่า 620,000 คน
ผลการทดลองทางคลินิกยืนยันว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า มีประสิทธิผลในการป้องกัน อาการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ในทุกระดับความรุนแรง และมีประสิทธิผลในการป้องกันการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ 100% หลังได้รับวัคซีนครบทั้งสองโดส นอกจากนี้ จากข้อมูลการใช้วัคซีนในประชากรทั่วโลก ยังแสดงให้เห็นว่า วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิผลในการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงจากโรคโควิด-19 ในทุกกลุ่มอายุได้มากถึง 80%-90% และยังมีประสิทธิผลครอบคลุมไวรัสโคโรน่าสาย พันธุ์ต่างๆ รวมถึงสายพันธุ์กลายพันธุ์หลักที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้
แอสตร้าเซนเนก้าและพันธมิตรผู้ผลิตได้ส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว กว่า 1.5 พันล้านโดสให้แก่ ประเทศต่างๆ มากกว่า 170 ประเทศทั่วโลก และประมาณ 2 ใน 3 ของจํานวนวัคซีนจํานวนดังกล่าวได้ถูกส่งมอบให้กับกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำ "แอสตร้า"