ข่าว

เครือข่ายภาคประชาชนฮึ่ม ค้านชง “CPTPP” เข้าครม. ส่อเอื้อนายทุน

เครือข่ายภาคประชาชนฮึ่ม ค้านชง “CPTPP” เข้าครม. ส่อเอื้อนายทุน

20 ต.ค. 2564

เครือข่ายภาคประชาชน บุกกต. ค้านชง “CPTPP” เข้าครม. ส่อเอื้อนายทุนทำลายนโยบายด้านสุขภาพ ชี้ได้ไม่คุ้มเสีย ย้ำสถานการณ์ CPTPP เปลี่ยนจี้รัฐศึกษาให้รอบคอบ หวั่นซ้ำรอย ความตกลง JTEPA ทำไทยเป็นถังขยะโลก 


เมื่อวันที่ 20 ต.ค.64   ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุรา พร้อมด้วย เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์ เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน เครือข่ายความมั่นคงทางอาหารชุมชนเมือง  และ  FTA watch เดินทางมายื่นจดหมายถึงนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ที่กำลังผลักดันให้ไทยยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) และจะมีการเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า  โดยมีนางสาวรุจิกร  แสงจันทร์  รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ออกมารับหนังสือแทน

นายคำรณ กล่าวว่า การกระทำดังกล่าวของท่านรองนายกฯ ไม่สนใจข้อท้วงติงของหน่วยราชการ ภาควิชาการ สภาองค์กรของผู้บริโภคและภาคประชาสังคมต่างๆ รวมถึงข้อเสนอแนะหลักของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ที่ว่าการเจรจาของรัฐบาลควรมีกรอบเจรจาที่เกิดจากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยเฉพาะประเด็นอ่อนไหว หากเจรจาไม่ได้ตามที่ระบุไว้ ก็ไม่ควรเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลง ซ้ำยังกดดันหน่วยราชการอื่นๆ ให้ปรับลดประเด็นสีแดงเป็นสีเหลือง สีเหลืองเป็นสีเขียว โดยไม่คำนึกถึงผลกระทบอย่างแท้จริง 
  เครือข่ายภาคประชาชนฮึ่ม ค้านชง “CPTPP” เข้าครม. ส่อเอื้อนายทุน

ทั้งนี้ ในอดีตที่ผ่านมา กต.ก็เคยสร้างความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในการเจรจาความตกลง JTEPA ไทย- ญี่ปุ่น เมื่อปี 2551 เปิดเสรีการเคลื่อนย้ายของเสีย ทั้งที่รีไซเคิลได้ และไม่ได้ (นำเข้ามาทิ้ง) อาทิ ขี้แร่, ขี้ตะกอน ของเสียอื่นๆ จากอุตสาหกรรมเคมีหรือจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน ฯลฯ ซึ่งมีผลให้ต้องเปิดเสรีในความตกลงฉบับต่างๆ ตามมาจนประเทศไทยมีสภาพใกล้เคียงกับถังขยะโลก แต่กลับปฏิเสธเสียงแข็งว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าของเสียอันตราย จนภาคประชาสังคมตรวจสอบพบถึงยอมรับ ข้อเท็จจริงเรื่องนี้

 

ทั้งที่ในช่วงเวลาใกล้ๆ กันนั้นญี่ปุ่นลงนามเรื่องเดียวกันกับฟิลิปปินส์ มาเลเซีย กลับไม่มีเนื้อหาที่ยอมรับขยะเป็นสินค้าเช่นประเทศไทย อีกทั้งขณะนั้น การแต่งตั้งคณะบุคคลเจรจาไม่ได้ให้ความสำคัญกับผู้แทนจากหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ แต่ให้น้ำหนักกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ทำให้การเจรจาความตกลงระหว่างประเทศที่ผ่านมาไม่มีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประเทศไทย 


ต้องถือว่า ด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่เท่าทัน แต่การไม่ฟังใครของกต. มีส่วนทำให้การนำเข้าขยะจากต่างประเทศเริ่มต้นขึ้น และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไทยอย่างรุนแรงอยู่ในปัจจุบัน สังคมไทยสมควรได้รับคำขอโทษอย่างเป็นทางการจาก กต. และเป็นบทเรียนสำคัญเพื่อไม่ให้เดินผิดพลาดอีก ซึ่งเราห่วงใยประเด็นนโยบายด้านสาธารณะสุขและผลกระทบต่อสุขภาพจาก CPTPP

เครือข่ายภาคประชาชนฮึ่ม ค้านชง “CPTPP” เข้าครม. ส่อเอื้อนายทุน

โดยเฉพาะการเปิดตลาดเครื่องมือแพทย์มือสอง ระบบสิทธิบัตรและระบบขึ้นทะเบียนยา ผลกระทบต่อการออกมาตรการควบคุมยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ CPTPP ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสมุนไพร ความหลากหลายทางชีวภาพ การแบ่งปันผลประโยชน์ผลกระทบจาก การบังคับเข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV1991) การขอยกเว้นกำหนดเป็นข้อสงวนการใช้กลไกเอกชนฟ้องรัฐในการออกมาตรการด้านสาธารณสุข (ยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้ CL)  ซึ่งจะสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมไทย ทำนอง เหล้าจะถูก  ยาจะแพง พืชเมล็ดพันธ์จะถูกผูกขาด