ราชกิจจาฯ เปิดระเบียบร้องเรียนผลกระทบจาก"ธุรกิจประกันภัย" คลิกเลย
"ราชกิจจาฯ" เผยแพร่ ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ว่าด้วยการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการ"ประกันภัย" พ.ศ. 2564 โหลดแบบฟอร์มร้องเรียนได้ที่นี่
ช่วงที่ผ่านมา "ธุรกิจประกันภัย" ได้ตกเป็นที่กล่าวถึงในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกรณีที่ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำ"ประกันภัยโควิด-19" แต่กลับไม่ได้รับการคุ้มครองตามที่จ่ายจริง จนมีการร้องเรียนจำนวนมาก ขณะเดียวกัน บริษัทประกันภัยบางแห่งขาดสภาพคล่อง และถูกเพิกถอนใบอนุญาติธุรกิจประกันภัยก็มี ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้เข้าไปแก้ไขปัญหา รวมถึงมีการปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2552 เพื่อให้ทันสมัยเป็นไปตามสถานการณ์โดยนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ลงนามระเบียบฉบับใหม่และประกาศลง"ราชกิจจาฯ" ฉบับเมื่อวันที่ 20 ต.ค.ที่ผ่านมาแล้ว
ทั้งนี้ "ราชกิจจานุเบกษา" ได้เผยแพร่ ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ว่าด้วยการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการประกันภัย พ.ศ. 2564
โดยให้เหตุผลว่า ด้วยเห็นสมควรปรับปรุงระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัยว่าด้วยการพิจารณาข้อร้องเรียนและดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน ให้ได้รับความคุ้มครอง ตามสัญญาประกันภัยอย่างสะดวก รวดเร็ว ประหยัด เป็นธรรม และเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการ ด้านสินไหมทดแทนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
จึงเห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางให้เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานมีแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน สอดคล้องเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
อาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา ๒๐ (๑๑) และมาตรา ๓๒ (๒) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมาตรา ๓๖/๑ แห่งพระราชบัญญัติ ประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมาตรา ๓๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงออกระเบียบไว้
สำหรับระเบียบดังกล่าวมีสาระสำคัญ เช่น กรณีการยื่นข้อร้องเรียน กำหนดไว้ในข้อ ๖ การยื่นข้อร้องเรียนต่อสำนักงานให้ยื่นผ่านช่องทาง ดังต่อไปนี้
(๑) ยื่นโดยตรงต่อสำนักงาน ได้แก่
(ก) สำนักงาน คปภ. ส่วนกลาง
(ข) สำนักงาน คปภ. เขต
(ค) สำนักงาน คปภ. ภาค
(ง) สำนักงาน คปภ. จังหวัด
(๒) ยื่นผ่านทางไปรษณีย์มายังสำนักงาน
(๓) ยื่นผ่านหน่วยงานอื่น
(๔) ยื่นผ่านทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือช่องทางอื่นใดตามที่สำนักงานกำหนด
ข้อ ๗ ในการยื่นข้อร้องเรียนต่อสำนักงานให้ใช้แบบข้อร้องเรียนตามแบบ ร. ๑ แนบท้าย ระเบียบนี้ และในกรณีที่มีการมอบอำนาจ ให้ผู้ร้องเรียนใช้หนังสือมอบอำนาจตามแบบ ร. ๒ แนบท้ายระเบียบนี้
โดยผู้ร้องเรียนสามารถขอรับแบบข้อร้องเรียนและแบบหนังสือมอบ อำนาจ ได้ที่สำนักงาน หรือดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของสำนักงาน www.oic.or.th กรณีผู้ร้องเรียนมิได้ใช้แบบข้อร้องเรียนหรือแบบหนังสือมอบอำนาจตามวรรคหนึ่ง ข้อร้องเรียน หรือหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวต้องมีรายละเอียดและรายการอย่างน้อยตามแบบ ที่ กำหนด ในวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ผู้ร้องเรียนได้ยื่นข้อร้องเรียนในพื้นที่ไม่ใช่ภูมิลำเนาของตัวเอง และผู้ร้องเรียนประสงค์ จะให้ส่งข้อร้องเรียนไปยังจังหวัดที่ตนเองมีภูมิลำเนาหรือมูลคดีเกิด ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามความ ประสงค์ของผู้ร้องเรียน
ข้อ ๘ ข้อร้องเรียนที่ยื่นต่อสำนักงานต้องมีความชัดเจนสามารถทำความเข้าใจได้ ใช้ถ้อยคำ สุภาพ ไม่หยาบคาย ไม่มีลักษณะเป็นการกรรโชก ข่มขู่ ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม
โดยต้องมี รายละเอียดและเอกสารหลักฐานอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อตัว ชื่อสกุลของผู้ร้องเรียน หรือผู้รับมอบอำนาจ พร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทำง หรือเอกสารประจำตัวอื่นซึ่งออกโดยราชการ กรณีผู้ร้องเรียนเป็นนิติบุคคลให้ยื่นสำเนา หนังสือรับรองของนิติบุคคลที่มีอายุไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ออกหนังสือและรับรองสำเนำถูกต้อง โดยผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมประทับตรานิติบุคคล (ถ้ำมี)
(๒) ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้ต้องยื่นข้อร้องเรียน พร้อมทั้งข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ ตามสมควรเกี่ยวกับข้อร้องเรียน
(๓) คำขอของผู้ร้องเรียนที่ต้องการให้บริษัทปฏิบัติ