เช็คที่นี่ "มาตรการ" ให้สถานศึกษา เตรียมก่อนเปิดเทอม2
"มาตรการ" ให้สถานศึกษา เตรียมพร้อมก่อนเปิดเทอม ระบุ สพฐ.ยืด 6 แนวปฏิบัติ ส่วน "กศน.” ยึดมาตรการ ศบค. "อาชีวะ" ยืนตามมติศอจ. มี 5 แนวทางแต่รอความชัดเจน จาก "รมว.ศธ." แถลง 28 ตุลาคม นี้
“มาตรการ” รองรับการเปิดเรียนเทอม2 ของสถานศึกษาของรัฐ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เริ่มทยอยออกมา แต่ส่วนใหญ่ยังเน้นให้ปฏิบัติตามมาตรการของศบค.อย่างเคร่งครัด และรอความชัดเจนจากนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.)
ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 ต.ค.2564 ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รับนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ให้ดำเนินการเปิดภาคเรียนที่ 2 วันที่ 1 พ.ย.นี้ ในรูปแบบ On Site ให้ได้มากที่สุด
ซึ่ง สพฐ.กำหนดว่าในวันที่ 1 พ.ย. จะให้โรงเรียนกลับมาเปิดเรียนปกติ ส่วนโรงเรียนจะเปิดเรียนในรูปแบบ On Site ได้มากน้อยแค่ไหนนั้น สพฐ.ได้ออกแนวปฏิบัติการเตรียมการ หรือ "มาตรการ" เตรียมพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน
ดร.อัมพร กล่าวต่อว่า โดยให้โรงเรียนดู 6 มาตรการหลัก ดังนี้ 1.ประเมินตนเองในระบบ Thai Dtop Covid Plus (TSC+) ผ่านระดับสีเขียว จึงสามารถยื่นขออนุญาตเปิดเรียนแบบ On Site
2.ครู และบุคลากรทางการศึกษาต้องได้รับวัคซีนมากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ 3.นักเรียนและผู้ปกครองต้องได้รับการฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด
4.สถานศึกษานำผลการประเมินตนเองเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ และเสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เพื่อพิจารณาอนุมัติให้เปิดเรียน
5.เมื่อคณะกรรมโรคติดต่อจังหวัดอนุมัติให้เปิดเรียน สถานศึกษาต้องปฏิบัติตาม 6 มาตราหลัก คือ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียน ล้างมือบ่อย ๆ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ลดการแออัด ลดการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ไม่ให้เข้าพื้นที่เสี่ยง และทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสร่วม
นอกจากนี้ ต้องปฏิบัติ 6 มาตรการเสริม คือ Self-care ดูแลเอาใจใส่ ปฏิบัติ มีวินัย รับผิดชอบตนเอง และปฏิบัติตามมาตรอย่างเคร่งครัด Spoon ใช้ช้อนส่วนตัว เมื่อกินอาหาร Eating กินอาหารปรุงสุก Track ลงทะเบียบเข้า-ออกโรงเรียน Check สำรวจตรวจสอบบุคคล นักเรียน และกลุ่มเสี่ยง ที่มาจากพื้นที่เสี่ยงให้เข้าสู่กระบวนการคัดกรอง Quarantine กักตัวเอง 14 วัน เมื่อเข้าสัมผัสหรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาด
และปฏิบัติตาม 7 มาตรการเข้มงวด คือ ประเมินความพร้อมเปิดเรียนผ่าน TSC+ และรายงานการติดตามการประเมินผลผ่าน MOECOVID จัดกิจกรรมรูปแบบ Small Bubble จัดระบบให้บริการอาหารตามหลักสุขาภิบาลอาหารและหลักโภชนาการ ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่
การระบายกาศกาศภายในอาคาร การทำความสะอาด เป็นต้น จัด School Isolation มีแผนเผชิญเหตุและมีการซักซ้อม ควบคุมดูแลการเดินทางจากบ้านไปโรงเรียน และจัดให้มี School Pass สำหรับนักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา อย่างเคร่งครัด และ 6.สถานศึกษารายงานผลการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น
“สพฐ. จะไม่ยึดจังหวัดเป็นฐาน แต่ใช้พื้นที่ หมู่บ้าน ชุมชน อำเภอเป็นฐานในการพิจารณาเปิดเรียน On Site ดังนั้น ใน 1 จังหวัด ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพร้อมกันในทุกโรงเรียน โรงเรียนไหนพร้อมก่อน มีมาตรการควบคุมโรคที่ดี ก็สามารถเปิดเรียนก่อนได้ และโรงเรียนอื่นสามารถทยอยเปิดตามหลัง เชื่อว่าหากเรามีต้นแบบ มีมาตรการที่เพียงพอ ก็สามารถเปิดเรียน On Site ได้ครบทุกโรงเรียน” นายอัมพร กล่าว
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า แม้จะเปิดเรียน On Site แล้วก็ตาม คำถามที่ตามมาคือ จะสร้างความเชื่อมั่นในการเปิดเรียนอย่างไร เพราะโรงเรียนในสังกัด สพฐ. มีหลายขนาดทั้งโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งแต่ละโรงเรียนมีจำนวนนักเรียนแตกต่างกัน สพฐ.ได้กำหนดมาตรการเบื้องต้นในการเปิดเรียน On Site คือ นักเรียนไม่เกิน 25 คน/ห้องเรียน ถ้าห้องเรียนหนึ่งมีจำนวนนักเรียนเกิน 25 คน โรงเรียนอาจจะให้นักเรียนสลับวันคู่ วันคี่ มาเรียนได้
นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้โรงเรียนสำรวจความพร้อมของผู้ปกครอง และนักเรียน ว่ามีความพร้อมที่จะเข้ามาเรียน On Site หรือไม่ เพื่อให้โรงเรียนวางแผนจัดการเรียนการสอนตามความต้องการของนักเรียนได้
ดังนั้น แม้โรงเรียนเปิดเรียน On Site แต่ผู้ปกครองและนักเรียนไม่ต้องการมาเรียนในโรงเรียน เพราะยังกังวลเรื่องของโควิด-19 อยู่ โรงเรียนก็สามารถจัดการเรียนการสอนรูปแบบอื่นให้กับนักเรียนได้ เช่น เรียนออนไลน์ เรียนออนแฮนด์
“วันนี้โรงเรียนส่วนใหญ่มีความพร้อมที่จะเปิดเรียน On Site ในวันที่ 1 พ.ย.นี้ ส่วนจะเปิดเรียนได้หรือไม่นั้น ทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะเป็นผู้พิจารณาว่าโรงเรียนควรจะเปิด On Site วันใด จากที่ผมได้รับรายงานมา มีบางจังหวัดที่คณะกรรมการโรคติดต่ออนุมัติให้เปิดวันที่ 1 พ.ย. และมีบางจังหวัดที่คณะกรรมการโรคติดต่อ พิจารณาให้โรงเรียนเปิดวันที่เรียน On Site วันที่ 15 พ.ย. ซึ่งในวันที่ 28 ต.ค.นี้ กระทรวงศึกษาธิการ จะแถลงความพร้อมในการเปิดภาคเรียนที่ 2/2564 ซึ่งจะมีรายละเอียดมาตรการต่าง ๆ และจำนวนโรงเรียนที่มีความพร้อมเปิด On Site ในวันที่ 1 พ.ย.” ดร.อัมพร กล่าว
รายงานข่าวจาก สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) แจ้งว่า สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.นั้น เตรียมเปิดภาคเรียนที่ 2/2564 วันศุกร์ที่ 1 พ.ย.นี้ พร้อมกันทั่วประเทศ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องตามสถานการณ์โควิด-19 ในแต่ละพื้นที่ และตามประกาศของ ศบค. แต่ละจังหวัด
ขณะเดียวกัน สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ) รอประกาศ “มาตรการ” รองรับการเปิดเทอมของกระทรวงศึกษาธิการ ที่นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่การกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) จะแถลงข่าวถึงความชัดเจนในวันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564 นี้เป็นหลัก
แต่เบื้องต้นสถานศึกษาอาชีวะทั่วประเทศ มี "มาตรการ" รองรับเปิดเทอม2 ตามมติที่ประชุมของอาชีวศึกษาจังหวัด(อศจ.) ที่จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2564 มีหลังการประชุมระดับ อศจ.ทั่วประเทศ กำหนด 5 มาตรการ มารองรับสำหรับสถานศกึษาระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาในสังกัดสอศ.ดังนี้
1.การปฎิบัติตามมาตรการกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 32 มาตรการหลัก + มาตรการเสริม + มาตรการเข้ม
2.ประกาศกระทรวงสาธารณสุขมาตรการ DMHT-RT
3.ครูและบุคลากรต้องได้รับวัคซีน 100%
4.นักเรียนต้องได้รับวัคซีนครบสองเข็ม 85%
และ 5. ผู้อาศัยในครอบครัว(กลุ่ม608)ต้องได้รับวัคซีนครบทุกคน ส่วนระดับประถมศึกษาโดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี การ
ทั้งนี้ การเปิดเรียนOnsite สอศ.จะรอการพิจารณาจากคณะกรรมการโรคติดต่อของจังหวัดก่อน โดยในระหว่างที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิด Onsite ก็ให้ใช้รูปแบบการเรียนสอนตามความเหมาะสมและบริบทของแต่ละโรงเรียน ยึดความปลอดภัยเป็นหลัก