ข่าว

ราชกิจจาฯ ประกาศ "ห้ามชุมนุม-มั่วสุม" ต้อนรับการเปิดประเทศ

ราชกิจจาฯ ประกาศ "ห้ามชุมนุม-มั่วสุม" ต้อนรับการเปิดประเทศ

29 ต.ค. 2564

"ราชกิจจาฯ" ออกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน "ห้ามชุมนุม -มั่วสุม" ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ต้อนรับการเปิดประเทศ

แม้รัฐบาลได้ออกข้อกำหนดผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 โดยกำหนดพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว 17 จังหวัดเพื่อรองรับการเปิดประเทศ ในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ โดยประกาศลง"ราชกิจจาฯ" ไปแล้วก็ตาม แต่ในส่วนมาตรการห้ามชุมนุม-มั่วสุม ยังคงต้องตรึงมาตรการนี้ต่อไป โดยล่าสุด"ราชกิจจาฯ"ได้ออกมาตรการห้ามชุมนุม มั่วสุม รับการเปิดประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ 

 

29 ต.ค.64  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ต.ค.ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา   เผยแพร่ ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ฉบับที่ ๑๓)

 

ตามที่รัฐบาลได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ และคำสั่ง ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19 ) ที่ ๑๘/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เรื่อง พื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ตามข้อกำหนดออกตาม ความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘

เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องมีการฟื้นฟูประเทศเพื่อประโยชน์ด้านการใช้ชีวิตความเป็นอยู่และ ด้านเศรษฐกิจแก่ประชาชน เห็นควรให้มีการเปิดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวสามารถ เดินทางเข้ามาจากต่างประเทศได้มากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจและการจ้างงาน ในภาพรวมของประเทศ

 

แม้ว่าที่ผ่านมาภาพรวมของสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 ในประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายสาธารณสุขสามารถควบคุมและจำกัดขอบเขตพื้นที่ การแพร่ระบาดของโรคได้ รวมทั้งรัฐบาลได้เตรียมความพร้อมโดยประสานความร่วมมือกับประเทศต้นทาง และบูรณาการการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วนในการกำหนดมาตรการ รองรับเพื่อให้การปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างต่อเนื่องและ เป็นระบบควบคู่กับการกำหนดมาตรการทางด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ให้ประชาชน มีความปลอดภัย

 

ราชกิจจาฯ ประกาศ \"ห้ามชุมนุม-มั่วสุม\" ต้อนรับการเปิดประเทศ

รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติและประชาชนในการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 ภายในประเทศอันจะส่งผลให้การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และสังคมสามารถดำเนินการควบคู่กับมาตรการด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาศัยอำนาจ ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑๕) ข้อ ๓ และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการ แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อ ๓ (๖) และข้อกำหนด คำสั่ง ประกาศ ที่เกี่ยวข้อง จึงให้ปฏิบัติดังนี้

 

๑. ให้ยกเลิกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับ ความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19 ) (ฉบับที่ ๑๑) ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ และประกาศ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19 ) (ฉบับที่ ๑๒) ลงวันที่ ๑๘ ตุลาค ม พ.ศ. ๒๕๖๔

 

๒. ห้ามมิให้มีการมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค หรือการกระทำอันเป็นการ ฉวยโอกาสซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชน หรือการกลั่นแกล้งเพื่อแพร่โรค ณ ที่ใด ๆ ทั่วราชอาณาจักร

 

๓. ห้ามมิให้มีการชุมนุม หรือการทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ในพื้นที่ ที่มีประกาศหรือคำสั่งกำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง พื้นที่เฝ้าระวัง เว้นแต่กรณีได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือกิจกรรมที่ได้รับ การยกเว้น โดยให้ดำเนินการตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๓๐) ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ และข้อกำหนด (ฉบับที่ ๓๕) ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

 

ราชกิจจาฯ ประกาศ \"ห้ามชุมนุม-มั่วสุม\" ต้อนรับการเปิดประเทศ

 

ทั้งนี้ ในเรื่องมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสูง พื้นที่เฝ้าระวัง ให้ดำเนินการตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๓๕) ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ๔. ในพื้นที่ที่มีประกาศหรือคำสั่งกำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม พื้นที่เฝ้าระวังสู ง พื้นที่เฝ้าระวัง ที่ได้มีประกาศหรือคำสั่งกำหนดให้เป็นพื้นที่นำร่อง ด้านการท่องเที่ยว ห้ามมิให้มีการชุมนุม หรือการทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค

 

เว้นแต่ กรณีได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือกิจกรรมที่ได้รับการยกเว้น โดยให้ดำเนินการ ตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๓๐) ลงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ และข้อก าหนด (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

 

ทั้งนี้ ในเรื่องมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ให้ดำเนินการตามข้อกำหนด (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

 

หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ต้องรับโทษตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ราชกิจจาฯ ประกาศ \"ห้ามชุมนุม-มั่วสุม\" ต้อนรับการเปิดประเทศ

ในกรณีที่มีการออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ฉบับใหม่ ให้ประกาศฉบับนี้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับข้อกำหนดฉบับใหม่ดังกล่าว

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป

 

ประกาศ ณ วันที่ ๒๘  ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ 

 

พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง

 

คลิกอ่าน...(ฉบับเต็ม)   ข้อกำหนดห้ามชุมนุมมั่วสุมหลังเปิดประเทศ