"ฉีดวัคซีนโควิด" 5 - 11 ปี ผู้ปกครองหวั่นผลข้างเคียงต่อการสืบพันธุ์ของเด็ก
สหรัฐฯ พบผู้ปกครองยังไม่อยากให้ลูกหลานวัย 5 - 11 ปี "ฉีดวัคซีนโควิด" หวั่นเกิดผลข้างเคียงระยะยาวหรือผลข้างเคียงร้ายแรงที่ยังไม่รู้แน่ชัด รวมถึงกังวลว่าวัคซีนจะส่งผลต่อการสืบพันธุ์ของเด็กในอนาคต
ยังไม่อยากให้ "ฉีดวัคซีนโควิด" ผลสำรวจจากมูลนิธิไคเซอร์ แฟมิลี (KFF) ของสหรัฐฯ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ระบุว่า มีผู้ปกครองในสหรัฐฯ เพียงร้อยละ 27 ที่จะให้ลูกหลานอายุ 5 - 11 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ทันที ที่มีการอนุมัติ
การสำรวจข้างต้นจัดทำช่วงวันที่ 14 - 24 ตุลาคม 2564 เก็บข้อมูลจากผู้ใหญ่ 1,519 คน ผ่านการสุ่มหมายเลขโทรศัพท์ โดย 1 ใน 3 ของผู้ปกครองจะ รอดูก่อน ว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพกับเด็กช่วงวัย 5 - 11 ปีหรือไม่ ขณะร้อยละ 30 จะไม่ให้ลูกหลานฉีดวัคซีน โดยเด็ดขาด
ความกังวล "ฉีดวัคซีนโควิด" หลักของเหล่าผู้ปกครอง คือ โอกาสเกิดผลข้างเคียงระยะยาวหรือผลข้างเคียงร้ายแรงที่ยังไม่รู้แน่ชัด โดย 2 ใน 3 กังวลว่าวัคซีนจะส่งผลต่อการสืบพันธุ์ของเด็กในอนาคต
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564 คณะที่ปรึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) มีมติอนุมัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของ ไฟเซอร์-ไบออนเทค ให้เด็กอายุ 5 - 11 ปี เนื่องจากเห็นว่ามีประโยชน์มากกว่าภัยเสี่ยง
ผลการทดลองทางคลินิก ระบุว่า การ "ฉีดวัคซีนโควิด" ของ ไฟเซอร์-ไบออนเทค นั้นปลอดภัย และช่วยป้องกันอาการป่วยจากโรคโควิด-19 ในเด็กช่วยวัย 5 - 11 ปี ได้ร้อยละ 90.7
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ จะพิจารณาอนุมัติวัคซีนตามคำแนะนำของคณะที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการต่อไป ซึ่งจะทำให้วัคซีนของ ไฟเซอร์-ไบออนเทค เป็นวัคซีนตัวแรกที่สามารถฉีดให้เด็กอายุน้อยได้
(แฟ้มภาพซินหัว : นักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่โรงเรียนในเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ วันที่ 30 ส.ค. 2021)