ข่าว

ประชุม "รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ "ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด

ประชุม "รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ "ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด

29 ต.ค. 2564

ประชุม "รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ "เพื่อฟื้นฟูด้านอาหาร เกษตรและป่าไม้ ตลอดจนการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังกระทบจากการระบาดโควิด-19

วันที่ ๒๖-๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๔ นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนฝ่ายไทย (Delegate) ในการเข้าร่วมประชุม "รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ " ครั้งที่ ๔๓ (the 43rd Meeting of ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry: the 43rd AMAF) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom Meeting) ณ ห้องประชุมประเสริฐพันธุ์ พิพัฒนกุล ส.ป.ก. ถนนราชดำเนินนอก โดยมีนางสาวอาภาพรรณ พัฒนพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิรูปที่ดิน และนางสาวสุภัค แก้ววารี นักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการ สำนักวิชาการและแผนงาน เข้าร่วมการประชุม

 

ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมและเป็นประธานในการประชุม ซึ่งในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย (Head of Delegate) ในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของการประชุม"รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้" ครั้งที่ ๔๓ (the 43rd Meeting of ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry: the 43rd AMAF)

 

และการประชุมที่เกี่ยวข้องผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom Meeting) ณ ห้องประชุมประเสริฐพันธุ์ พิพัฒนกุล ส.ป.ก. ถนนราชดำเนินนอก โดยมีนางสาวอาภาพรรณ พัฒนพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิรูปที่ดิน และนางสาวสุภัค แก้ววารี นักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการ สำนักวิชาการและแผนงาน เข้าร่วมการประชุม

ประชุม \"รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ \"ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด
 

ประชุม \"รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ \"ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด

ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมและเป็นประธานในการประชุม ซึ่งในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย (Head of Delegate) ในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ครั้งที่ ๔๓

ประชุม \"รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ \"ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด

และการประชุมระดับ จนท.อาวุโสของการประชุม"รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้" กับเจ้าหน้าที่อาวุโสของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ ๒๑ โดยมี ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และ ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการให้ความเห็นต่อที่ประชุม

ประชุม \"รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ \"ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด

และในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๔ นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยในการประชุมระดับ"รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้" ครั้งที่ ๔๓ และการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้กับรัฐมนตรีของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ ๒๑ โดยมี นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  และ ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการให้ความเห็นต่อที่ประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ๑๓๔-๑๓๕ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินนอก


สาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้เป็นการรายงานความก้าวหน้าผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมของการดำเนินงานปี พ.ศ. 2564 การให้ความเห็นชอบข้อเสนอผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมของปี พ.ศ. 2565 การรับทราบและการรับรองเอกสารสำคัญโดยคณะรัฐมนตรีของประเทศต่าง ๆ และเป็นการรับทราบความก้าวหน้าของการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน หรืออาเซียนกับ จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี หรืออาเซียนกับองค์การระหว่างประเทศ

 

ซึ่งนอกเหนือจากการประชุมประจำปีแล้ว ประเทศสมาชิกอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นโยบาย และแนวทางปฏิบัติ ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)เพื่อฟื้นฟูด้านอาหาร การเกษตรและป่าไม้ ตลอดจนการฟื้นฟูเศรษฐกิจเนื่องจากทุกประเทศได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคเชื้อโรคดังกล่าว ทั้งนี้ที่ประชุมเสนอให้ทุกประเทศตระหนักและให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติ นอกเหนือจากเชื้อโรค

 

เพราะประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยของอาหาร และส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรภายในประเทศ โดยหลายประเทศได้เสนอแนะประเด็นการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน (Value Chain) การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยปรับปรุงการผลิตสู่การเกษตรแบบใหม่ (Smart Agriculture) การจำกัดการใช้สารเคมี และอื่น ๆ เพื่อป้องกันการขาดแคลนอาหารและภาวะทุพโภชนาการ โดยไทยได้นำเรียนที่ประชุมว่าไทยกำลังดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมตามกลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) ทั้งนี้ สาธารณรัฐประชาชนลาวจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประชุม "รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้" ครั้งที่ ๔๔ และการประชุมที่เกี่ยวข้องต่อไป