ข่าว

ราชกิจจาฯเปิดคำวินิจฉัยศาลรธน.ชี้โทษคุก"เบญจา"แนวร่วมสามนิ้ว สมควรแล้ว

ราชกิจจาฯเปิดคำวินิจฉัยศาลรธน.ชี้โทษคุก"เบญจา"แนวร่วมสามนิ้ว สมควรแล้ว

05 พ.ย. 2564

ราชกิจจาฯ เปิดคำวินิจฉัยศาลรธน.ฉบับเต็ม คดี "เบญจา แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ยื่นศาล รธน.วินิจฉัย ปมถูกศาลอาญาลงโทษจำคุก 6 เดือน เหตุโปรยใบปลิวป่วนหน้าศาลถือว่าถูกลงโทษเกินเหตุอันควร ซึ่งศาลรธน.เห็นว่า ศาลอาญาพิจารณาโทษสมควรแล้ว

 

เมื่อวันที่ 5  พ.ย.64 ราชกิจจาฯ ได้เผยแพร่ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับเต็ม ในคดีที่นางสาวเบนจา อะปัญและ นายณัฐชนน ไพโรจน์ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ  กรณีที่ทั้งสองถูกผู้อํานวยการสํานักอํานวยการประจําศาลอาญา กล่าวหาในความผิดฐานละเมิดอํานาจศาล จากการนำมวลชนกลุ่ม “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ใช้เครื่องขยายเสียงและทํากิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ อีกทั้งร่วมตะโกนด้วยข้อความต่าง ๆ ทําให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยภายในบริเวณศาลอาญา 

ราชกิจจาฯเปิดคำวินิจฉัยศาลรธน.ชี้โทษคุก\"เบญจา\"แนวร่วมสามนิ้ว สมควรแล้ว

โดยเฉพาะผู้ถูกกล่าวหาแสดงพฤติกรรมโดยวิ่งผ่านแนวรั้วแผงเหล็กที่ กั้นอยู่บริเวณหน้าบันไดทางขึ้นด้านหน้าศาลอาญา โปรยแผ่นกระดาษขณะวิ่งขึ้นบันได และพูดผ่านเครื่องขยายเสียงกล่าวโทษศาลยุติธรรมและตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งศาลอาญาได้พิพากษาจำคุก 6 เดือน แต่ทั้งสองเห็นว่าเป็นการลงโทษเกินแก่เหตุ ขัดต่อบทลงโทษสากล จึงขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 

 

ราชกิจจาฯเปิดคำวินิจฉัยศาลรธน.ชี้โทษคุก\"เบญจา\"แนวร่วมสามนิ้ว สมควรแล้ว

 

ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยว่า การที่ประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 33  กําหนดให้ศาลมี อํานาจ สั่งลงโทษผู้กระทําความผิดฐานละเมิดอํานาจศาลโดยวิธีใดวิ ธีหนึ่ง หรือทั้งสองวิ ธี และกําหนดโทษจําคุก ไม่เกินหกเดือน จึงเป็นมาตรการที่มีความเหมาะสม ทําให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของกฎหมาย และจํากัดสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลเท่าที่จําเป็น และได้สัดส่วนหรือมีความสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะหรือประโยชน์ ส่วนรวม ที่จะได้รับกับสิทธิหรือเสรีภาพที่ประชาชนจะต้องสูญเสียไป


 

 

แม้เป็นบทบัญญัติ ที่จํากัดสิทธิและเสรีภาพ ของบุคคลอยู่ บ้าง แต่ไม่เป็นการเพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ เป็นมาตรการที่จํากัดสิทธิและเสรีภาพของผู้กระทําความผิดฐานละเมิดอํานาจศาลที่สอดคล้อง กับหลักความจําเป็นและหลักความได้ สัดส่วน พอเหมาะพอควรแก่กรณี ไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

 

เป็นกฎหมายที่ มีผลใช้ บังคับเป็นการทั่วไป ไม่ มุ่งหมายให้ใช้ บังคับ แก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่ บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ไม่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26  อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 ไม่ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 

 

คลิกอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญฉบับเต็ม ....

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ ๑๕ - ๑๖/๒๕๖๔ เรื่อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๓ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖ หรือไม่ [ระหว่าง ศาลอาญา ผู้ร้อง - ผู้ถูกร้อง]