ธีรภัทรลาออกจากที่ปรึกษา มสธ. ปมโพลการเมือง ชี้เพื่อรักษาภาพลักษณ์องค์กร
ศ.ดร.ธีรภัทร โพสต์ข้อความขอลาออกจากที่ปรึกษา มสธ. จากปมผลโพลการเมือง ย้ำเพื่อรักษาภาพลักษณ์ขององค์กรที่เคยอยู่มานานถึง 36 ปี หลังผลสำรวจของ มสธ. ระบุ“จุรินทร์” เหมาะเป็นนายกรัฐมนตรี
วันนี้ (6 พ.ย.) ศ.ดร.ธีรภัทร เสรีรังสรรค์ กรรมการคณะกรรมการปฏิรูปด้านการเมือง โพสต์ข้อความขอลาออกจากการเป็นที่ปรึกษาของศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช โดยระบุว่าสืบเนื่องมาจากการจัดทำโพลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับ “ประชาชนในกรุงเทพมหานครต้องการผู้นำที่มีคุณลักษณะแบบใดเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปและคุณลักษณะพรรคการเมืองแบบใดที่ผู้นำสังกัดหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเป็นนายกฯรัฐมนตรีคนต่อไป” ซึ่งจัดทำโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชนั้น ทั้งนี้ เพื่อรักษาภาพลักษณ์ขององค์กรที่เคยอยู่มานานถึง 36 ปี คือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และจุดยืนของความสุจริตและความเที่ยงตรงทรงวิชาการที่ยึดมั่นมาโดยตลอด ตนเองจึงขอลาออก
“ผมขออนุญาตลาออกจากการเป็นที่ปรึกษาของศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช นับตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป” รศ.ดร.ธีรภัทร
ประเด็นดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ (5 พ.ย.) โดยศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้เปิดเผย ผลสํารวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับ “ประชาชนในกรุงเทพมหานครต้องการผู้นําที่มีคุณลักษณะแบบใดเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปแลคุณลักษณะพรรคการเมืองแบบใดที่ผู้นําสังกัดหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป” ดําเนินการสํารวจ ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน 2564 กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 12,350 คน เป็นชาย 6,820 คน (55.22%) หญิง 5,530 คน (44.78%)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสํารวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า "นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ที่ประชาชนในกรุงเทพมหานครประเมินว่าเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ในสถานการณ์ช่วงเวลา 4-5 ปี ข้างหน้านี้ เนื่องด้วย "นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" มีคุณลักษณะความเป็นผู้นําเฉพาะตัวเด่นชัดและมีคุณลักษณะพรรคการเมืองที่สังกัดเด่นชัด
ตามรายละเอียดของผลการวิเคราะห์ข้อมูลต่อไปนี้
1. ประชาชนในกรุงเทพมหานครประเมินคุณลักษณะความเป็นผู้นําของผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
1.1 ผลสรุปภาพรวมคุณลักษณะความเป็นผู้นําของผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนโดยภาพรวมสูงสุด (54.24%) และรองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (52.99%), คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (38.12%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (8.87%)
1.2 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 1 คือ ความสามารถในการกอบกู้และแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนสูงสุด (50.30%) รองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (41.31%), นายกรณ์ จาติกวณิช (32.02%) ตามลําดับ และนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (9.20%)
1.3 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 2 คือ คุณลักษณะด้านความสามารถในการแก้ปัญหาปากท้องและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนสูงสุด (50.89%) รองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (43.44%), นายกรณ์ จาติกวณิช (30.14%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (7.72%)
1.4 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 3 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การบริหารประเทศ มีผลงานโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์มาแล้วทั้งในอดีตและปัจจุบัน
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์มีคะแนนสูงสุด (59.53%) และรองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (42.47%), คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (33.40%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (6.09%)
1.5 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 4 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่รอบรู้ รอบคอบ ทุ่มเท ขยัน และรู้กลไกการผลักดันงานหรือนโยบายให้สําเร็จได้
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ มีคะแนนสูงสุด (63.58%) รองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา(58.72%), คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (42.20%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด
(6.36%)
1.6 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 5 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่อ่อนน้อม ปรองดอง เข้าถึงง่าย ทํางานกับทุกฝ่ายได้
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์มีคะแนนสูงสุด (55.51%) รองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (52.83%), นายอนุทิน ชาญวีรกูล (47.40%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (12.81%)
1.7 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 6 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่เล่นพรรคเล่นพวก
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์มีคะแนนสูงสุด (54.72%) รองลงมา คือ พลตํารวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (58.74%), พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (54.13%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (9.60%)
1.8 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 7 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ที่รักษาสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
เห็นได้ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคะแนนสูงสุด (62.01%) และรองลงมา คือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (60.12%), คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (57.96%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (16.34%)
1.9 ผลสรุปคุณลักษณะด้านที่ 8 คือ คุณลักษณะด้านการเป็นผู้ควบคุมกํากับความมั่นคงทางการทหารและตํารวจ
เห็นได้ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคะแนนสูงสุด (68.99%) และรองลงมา คือ พลตํารวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (40.92%) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (60.12%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อย
ที่สุด (2.85%)
2. ประชาชนในกรุงเทพมหานครประเมินคุณลักษณะพรรคการเมืองที่ผู้นําสังกัด หรือ อาจจะเป็นผู้ได้รับเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป 2.1 ผลสรุปภาพรวมคุณลักษณะพรรคการเมืองที่เป็นผู้นําสังกัด หรือ อาจจะเป็นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนรวมสูงสุด (58.15%) และรองลงมาคือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (45.59%), นายอนุทิน ชาญวีรกูล ผู้นําจากพรรคภูมิใจไทย, (40.74%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนน้อยที่สุด (31.44%)
2.2 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 1 ยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตยและระบบรัฐสภา
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (62.01%) และรองลงมา คือนายอนุทิน ชาญวีรกูล ผู้นําจากพรรคภูมิใจไทย (54.20%), ตามลําดับ ส่วนนางสาว พินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนน้อยที่สุด (26.28%)
2.3 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 2 มีกลไกการทํางานที่เป็นระบบ เป็นพรรคการเมืองของประชาชน ไม่เป็นพรรคของใครคนใดคนหนึ่ง หรือ คณะบุคคล หรือ นายทุน
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (58.74%) และรองลงมา คือพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (45.93%), นายกรณ์ จาติกวณิช ผู้นําจากพรรคกล้า (42.63%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร มีคะแนนน้อยที่สุด (23.46%)
2.4 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 3 มีบุคลากรของพรรคที่มีคุณภาพสูงในการบริหารพรรคและมีความพร้อมในการเป็นผู้บริหารประเทศ
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (56.57%) และรองลงมา คือ
นางสาวพินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย (44.92%), พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (42.48%) ตามลําดับ ส่วนพลตํารวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ผู้นําจากพรรคเสรีรวมไทย มีคะแนนน้อยที่สุด (23.04%)
2.5 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 4 มีที่มีบุคลากรคุณภาพโดดเด่นในการทํางานแก้ไขปัญหาของประชาชนในระบบสภา และการดูแลประชาชนในพื้นที่
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ผู้นําจากพรรคพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (56.29%) และรองลงมา คือ นางสาวพินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย (47.47%), พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (44.76%) ตามลําดับ ส่วนนายกรณ์ จาติกวณิช ผู้นําจากพรรคกล้า มีคะแนนน้อยที่สุด (18.18%)
2.6 ผลสรุปคุณลักษณะพรรคการเมือง ด้านที่ 5 มีที่มีความอิสระในการตัดสินใจ ปราศจากการครอบงําใด ๆ
เห็นได้ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ผู้นําจากพรรคประชาธิปัตย์ มีคะแนนสูงสุด (57.15%) และรองลงมา คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้นําจากพรรคพลังประชารัฐ (51.48%), พลตํารวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ผู้นําจากพรรคเสรีรวมไทย (45.94%) ตามลําดับ ส่วนนางสาวพินทองทา ชินวัตร ผู้นําจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนน้อยที่สุด (15.10%)