ข่าว

ราชกิจจาฯ ประกาศ หลักเกณฑ์การทดสอบและประเมินสมรรถนะ"วิชาชีพครู" เช็คเลย

ราชกิจจาฯ ประกาศ หลักเกณฑ์การทดสอบและประเมินสมรรถนะ"วิชาชีพครู" เช็คเลย

18 พ.ย. 2564

เช็คเลย ราชกิจจาฯ  เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 มีผลบังคับใช้แล้ว

เมื่อวันที่ 18 พ.ย.64  ราชกิจจาฯ  เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทาง"วิชาชีพครู" (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 โดย น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะประธานกรรมการคุรุสภา ลงนาม มีผลบังคับใช้แล้ว 

 

มีเนื้อหาดังนี้  โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ ทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563 อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 และข้อ 7 แห่งข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมติคณะกรรมการคุรุสภา ในการประชุมครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม 2564 ครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันจันทร์ที่ 6 กันยายน 2564 และ ครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2564

 

คณะกรรมการคุรุสภา จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบ และประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564”

 

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “ปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า” แห่งประกาศ คณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า”

 

หมายความว่า คุณวุฒิปริญญาตรี ประกาศนียบัตร บัณฑิตวิชาชีพครู ปริญญาโท และปริญญาเอกทางการศึกษา หรือเทียบเท่า ที่คุรุสภารับรอง และ ปริญญาทางการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ผ่านการเทียบคุณวุฒิจากหน่วยงานของรัฐ”

 

ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 แห่งประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และ วิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ 5 ให้มีคณะอนุกรรมการ ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการ จำนวนไม่เกิน 15 คน ประกอบด้วย

(1) ประธานอนุกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา

(2) อนุกรรมการ โดยตำแหน่ง 3 คน ประกอบด้วย ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

 

(3) อนุกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา ซึ่งมีคุณวุฒิ และ มีตำแหน่งทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการ และ/หรือประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้านรวมกัน ได้แก่ การจัดการศึกษาในระดับปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า การวัดและ ประเมินผล การบริหารจัดการทดสอบและการประเมิน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย อย่างน้อย 1 คน 

 

(4) เลขาธิการคุรุสภา หรือรองเลขาธิการคุรุสภาที่เลขาธิการคุรุสภามอบหมาย เป็นอนุกรรมการ และเลขานุการ

 

(5) พนักงานเจ้าหน้าที่ส านักงานเลขาธิการคุรุสภาที่เลขาธิการคุรุสภามอบหมายคนหนึ่ง เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ให้คณะอนุกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี และเมื่อครบกำหนดวาระให้คณะกรรมการ ดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดใหม่ภายใน 60 วัน

ราชกิจจาฯ ประกาศ หลักเกณฑ์การทดสอบและประเมินสมรรถนะ\"วิชาชีพครู\" เช็คเลย

ทั้งนี้ ให้คณะอนุกรรมการชุดเดิมมีอำนาจ และหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดใหม่”

 

ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 

ราชกิจจาฯ ประกาศ หลักเกณฑ์การทดสอบและประเมินสมรรถนะ\"วิชาชีพครู\" เช็คเลย

“ข้อ 6 คณะอนุกรรมการ มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) กำหนดแนวทาง และรายละเอียดของหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะ ทางวิชาชีพครู

(2) อำนวยการและดำเนินการตามแนวทาง และรายละเอียดของหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบ และประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู

(3) กำกับ ติดตาม และประเมินผลการด าเนินการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู เพื่อการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ

(4) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามที่คณะอนุกรรมการมอบหมาย

(5 ) พิจารณาอนุญาต อนุมัติ เห็นชอบ หรือออกคำสั่งหรือประกาศใด ๆ เพื่อการปฏิบัติงาน ตามอำนาจและหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ

(6) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย”

 

ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 แห่งประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ 7 สมรรถนะทางวิชาชีพครู ประกอบด้วย (ก) ความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ได้แก่

(1) วิชาชีพครู

(2) วิชาการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

(3) วิชาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

(4) วิชาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา

(5) วิชาเอก ตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

(ข) การปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ได้แก่ (1) การจัดการเรียนรู้

(2) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน

(3) การปฏิบัติหน้าที่ครู และจรรยาบรรณของวิชาชีพ รายละเอียดของสมรรถนะทางวิชาชีพครู ให้เป็นไปตามข้อบังคับคุรุสภา”

ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 8 แห่งประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และ วิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “

ข้อ 8 เกณฑ์การตัดสินการทดสอบและประเมินตามข้อ 7 แต่ละวิชาต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 โดยให้คำนึงถึงค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัดประกอบการพิจารณาด้วย หรือตามหลักเกณฑ์ ที่คณะกรรมการกำหนด รายละเอียดขั้นตอน วิธีการ และเครื่องมือการทดสอบและประเมินให้เป็นไปตามที่ คณะอนุกรรมการกำหนด โดยคำนึงถึงข้อจำกัดและความแตกต่างของผู้เข้าทดสอบและประเมิน”

 

ข้อ 8 ให้ยกเลิกความในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และ วิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “

 

ข้อ 9 คณะอนุกรรมการ อาจกำหนดให้เทียบเคียงผลการทดสอบและประเมินสมรรถนะ ทางวิชาชีพครู ตามข้อ 7 (ก) (2) (3) และ (4) จากหน่วยงานอื่นได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะอนุกรรมการ กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ”

 

ข้อ 9 ให้ยกเลิกความในข้อ 10 และข้อ 11 แห่งประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 10 คุณสมบัติของผู้เข้ารับการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพตามข้อ 7 (ก) เป็นผู้มีคุณวุฒิที่สำเร็จการศึกษาในประเทศไทยข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

(1) วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า ที่คุรุสภารับรอง

(2) วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีอื่นที่คุรุสภารับรอง

(3) วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีอื่น และผ่านการรับรองความรู้ตามมาตรฐานความรู้ วิชาชีพของคุรุสภา

 

(ข) เป็นผู้มีคุณวุฒิที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

(๑) วุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า

(๒) วุฒิปริญญาอื่น และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากต่างประเทศ

(๓) วุฒิปริญญาตรีอื่น และมีคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพครูที่ใช้เวลาศึกษา ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

(๔) วุฒิปริญญาตรีอื่น และผ่านการรับรองความรู้ตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพ ของคุรุสภา

(ค) เป็นผู้อยู่ระหว่างศึกษาในหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่าที่คุรุสภารับรอง ตามหลักเกณฑ์คุณสมบัติที่คณะอนุกรรมการกำหนด  ผู้เข้ารับการทดสอบและประเมินในข้อ 7 (ก) ต้องชำระค่าสมัครเป็นรายครั้งตามอัตรา ที่กำหนดท้ายประกาศนี้”

 

ข้อ 10 ให้ยกเลิกความในข้อ 13  แห่งประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “

 

ข้อ 13 วิธีดำเนินการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ตามข้อ 7 (ข) (1) ผู้เข้ารับการทดสอบและประเมิน ตามข้อ 10 (ค) ให้มีผู้ประเมินซึ่งเป็นบุคลากร ของสถาบันการศึกษา และสถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ อาจมีบุคลากรอื่นเป็นผู้ประเมิน ร่วมด้วย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด ( 2 ) ผู้เข้ารับการทดสอบและประเมิน ตามข้อ 10  (ก) (ข) ให้มีผู้ประเมินซึ่งเป็นบุคลากร ของสถานศึกษาที่ผู้รับการประเมินปฏิบัติการสอนในสถานศึกษานั้น และบุคลากรอื่น ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะอนุกรรมการกำหนด” ข้อ 11 ให้ยกเลิกความในข้อ 16 แห่งประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “

 

ข้อ 16 ผู้เข้ารับการทดสอบและประเมินที่เป็นชาวต่างประเทศหรือชาวไทยที่อยู่ระหว่างศึกษา หรือสำเร็จปริญญาทางการศึกษา หรือปริญญาอื่นจากต่างประเทศ หรือหลักสูตรภาษาอังกฤษ หรือ หลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย ให้ยกเว้นการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ ตามข้อ 7 (ก) (2)”

 

ข้อ 12  ให้มีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ตามข้อ (7) (ก) (5) เมื่อคุรุสภาปรับปรุงระบบการออกใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพครู และการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาให้เชื่อมโยงกับวิชาเอก ที่จะดำเนินการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ภายใน 2 ปี

 

ข้อ 13 ให้ผู้เข้ารับการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และ ประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งที่ 1/2564 ตามประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563 ได้รับการยกเว้น การใช้ผลการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ในวิชาเอก เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

ราชกิจจาฯ ประกาศ หลักเกณฑ์การทดสอบและประเมินสมรรถนะ\"วิชาชีพครู\" เช็คเลย

ประกาศ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

 

ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการคุรุสภา

คลิกอ่านฉบับเต็ม .....

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔