ข่าว

U2T โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากฐานพลิกโฉมประเทศไทย

U2T โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากฐานพลิกโฉมประเทศไทย

23 พ.ย. 2564

“U2T” มหาวิทยาลัยสู่ตำบล ความสำเร็จของ 76 มหาวิทยาลัย ร่วมแรงร่วมใจทำงานในชุมชน พลิกวิกฤติเป็นโอกาส สร้างรากฐานพลิกโฉมประเทศไทย

 

โครงการ U2T (ยูทูที) โครงการนำร่องดีๆจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ อว. ซึ่งโครงการนี้มีจุดเริ่มต้นจากวิกฤติการณ์ โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจในประเทศเป็นอย่างมาก มีการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจ ประชาชนขาดรายได้ ซึ่งจากปัญหานี้ทำให้ทาง อว. ตระหนักว่าต้องเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน ดังนั้น อว.จึงผุดไอเดียโครงการ U2T หรือ โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลขึ้น

 

U2T โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากฐานพลิกโฉมประเทศไทย

 

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการโดยมหาวิทยาลัยเป็น System Integrator ซึ่งนับเป็นโครงการแรกในประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย 76 แห่ง อาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษา และประชาชน ลงไปทำงานชุมชนพร้อมๆกัน

 

ดังนั้นโครงการ U2T จึงเป็นการช่วยเหลือประชาชน 60,000 คนให้มีงานทำในภาวะวิกฤตโควิด-19 โดยให้เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อให้เกิดการสร้างงาน และพัฒนาแก้ไขปัญหาและเศรษฐกิจของตำบลแบบพุ่งเป้าในระยะเวลา 1 ปี

 

U2T โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากฐานพลิกโฉมประเทศไทย

 

ขณะเดียวกันก็จะสร้างคน 60,000 คนด้วยทักษะใหม่ ให้เป็นคนที่จะมาพลิกโฉมประเทศไทยจาก 3,000 ตำบลสู่อำเภอ สู่จังหวัด และทั่วทุกภูมิภาค 

 

ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา โครงการ U2T ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน มีการพัฒนาอาชีพและสร้างอาชีพใหม่ ในระดับตำบล ไม่ว่าจะเป็นด้านสินค้าประจำตำบล (OTOP) หรือในด้านการท่องเที่ยวก็ได้รับการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจ

 

U2T โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากฐานพลิกโฉมประเทศไทย


 

หรือแม้แต่การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน และการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้กับประชาชนในชุมชนนั้นๆ และที่สำคัญเป็นการลดช่องว่างระหว่างวัยและระหว่างสังคม ให้เกิดการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาชุมชนของตนเองอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างรากแก้วที่สำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป โดยมีการสร้างแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ (online community platform) ขึ้นในชื่อเว็บไซต์ www.U2T.ac.th เพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมและสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีรูปแบบทันสมัยเหมาะกับสังคมยุคใหม่ เป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำอีกด้วย และนอกจากการดำเนินการแบบรูปธรรมในแต่ละชุมชนแล้ว โครงการ U2T ยังมีการจัดกิจกรรม “แฮกกาธอน” (Hackathon) ขึ้นเพื่อเฟ้นหาผลงานที่โดดเด่นและสามารถใช้ได้จริง เพื่อนำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนาท้องถิ่นให้กับตำบลอื่นๆ ต่อไป
    

U2T โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากฐานพลิกโฉมประเทศไทย

 

แม้ว่าโครงการนี้ จะเป็นโครงการเกิดใหม่ที่ดำเนินการมาในระยะเวลาไม่นานมากเท่าไหร่นัก แต่จากความสำเร็จที่เกิดขึ้นก็เป็นสัญญาณที่ดีในการที่จะเดินหน้าเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจและประเทศไทยต่อไป