ข่าว

เอาจริงนะใช้ "แรงงานต่างด้าว" ผิดกฎหมาย หลัง 30 พ.ย ตรวจเจอ จับปรับไม่เกินแสน

เอาจริงนะใช้ "แรงงานต่างด้าว" ผิดกฎหมาย หลัง 30 พ.ย ตรวจเจอ จับปรับไม่เกินแสน

24 พ.ย. 2564

รมว.สุชาติ เอาจริง เตือนนายจ้าง สถานประกอบการ ที่ใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย มีโทษทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ส่วนแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท


นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า มติครม.เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 64 ที่ผ่านมา เห็นชอบให้กระทรวงแรงงานดำเนินการตรวจสถานที่ก่อสร้าง สถานประกอบการ โรงงาน และสถานที่ทำงาน เพื่อให้คำแนะนำการปฏิบัติตนตามมาตรการทางสาธารณสุขแก่นายจ้าง และแรงงานต่างด้าว เป็นระยะเวลา 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พ.ย. 64 เก็บตกแรงงาน 3 สัญชาติ ที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้ดำเนินการเข้าสู่ระบบการจ้างงานตามกฎหมายประเทศไทย และได้รับการดูแลตามสิทธิที่พึงมี 

เอาจริงนะใช้ \"แรงงานต่างด้าว\" ผิดกฎหมาย หลัง 30 พ.ย ตรวจเจอ จับปรับไม่เกินแสน

 

โดยหลังจาก 30 พ.ย. 64 กรมการจัดหางานพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานความมั่นคง  จะตรวจสอบ ปราบปรามจับกุมและดำเนินคดีคนต่างด้าวทำงานผิดกฎหมายฯอย่างจริงจัง หากตรวจพบการกระทำผิดกฎหมายนายจ้างรับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน จะมี ต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน หากทำผิดซ้ำมีโทษถึงจำคุก และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานอีก 3 ปี ส่วนคนต่างด้าวที่ลักลอบทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และถูกส่งตัวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และไม่สามารถขอรับใบอนุญาตทำงานได้จนกว่าจะพ้นโทษมาแล้วเป็นระยะเวลา 2 ปี
 

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมากระทรวงแรงงานพร้อมปรับเปลี่ยนมาตรการ ตลอดจนระเบียบและประกาศต่างๆ ของกระทรวงฯให้มีความยืดหยุ่นสอดรับกับสถานการณ์ เพื่อบริหารจัดการให้แรงงานต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยสามารถเข้าสู่ระบบการจ้างงานในประเทศไทยอย่างถูกต้อง และมีสวัสดิการต่างๆ ตามสิทธิ ไม่ต้องอยู่อย่างหลบซ่อน

โดยเสนอครม.เพื่อมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 63 ให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา อยู่ในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษภายใต้สถานการณ์โควิดระลอกใหม่ โดยให้นายจ้างที่จ้างแรงงานข้ามชาติ ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างคนต่างด้าวผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งทำให้แรงงาน 3 สัญชาติ กว่า 4 แสนรายได้รับอนุญาตทำงาน

ต่อมาเสนอครม.เพื่อมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 64 ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่แล้ว หรือเคยได้รับอนุญาตทำงาน แต่ไม่สามารถดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานตามขั้นตอนปกติเนื่องจากมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทำงานได้ต่อไปถึงวันที่ 13 ก.พ. 66 หรือ 2 ปี นับแต่วันที่การอนุญาตเดิมสิ้นสุด รวมทั้งขยายเวลาการหานายจ้างจาก 30 วัน เป็น 60 วัน ซึ่งทำให้แรงงานต่างด้าวได้รับอนุญาตทำงานกว่า 1 แสนคน ช่วยแก้ปัญหาให้นายจ้างที่ขาดแคลนแรงงาน และลดภาระค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก