ข่าว

โพลชี้คนไทย "หนี้ท่วม" ครัวเรือนละ 1.24 ล. หนี้บัตรเครดิต-สินเชื่อ มากสุด

โพลชี้คนไทย "หนี้ท่วม" ครัวเรือนละ 1.24 ล. หนี้บัตรเครดิต-สินเชื่อ มากสุด

27 พ.ย. 2564

โพลสำรวจ "หนี้สิน" คนไทย พบว่าส่วนใหญ่เป็นหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล มากสุด 46.52 % มีหนี้สินครัวเรือนละ 1.24 ล้านบาท กลุ่มที่มีหนี้บัตรเครดิตมากสุด พนักงานเอกชนและราชการ กลุ่มราชการมีหนี้1 ล้านบาทขึ้นไป กลุ่มลูกจ้าง/รับจ้างมีความเครียดหนี้สินมากสุด

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนเฉพาะผู้ที่มี "หนี้สิน" ทั่วประเทศต่อกรณีภาวะ "หนี้สินของคนไทย" จำนวนทั้งสิ้น 1,059 คน ระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2564 พบว่า ส่วนใหญ่ประชาชนมีหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลมากที่สุด ร้อยละ 46.52 รองลงมาคือ สินเชื่อที่อยู่อาศัยร้อยละ 39.85  มี"หนี้สิน"เฉลี่ยครัวเรือนละ 1,248,847.03 บาท

 

โดยคาดว่าใช้ "หนี้"ได้ทั้งหมดร้อยละ 71.11  รู้สึกเครียดและวิตกกังวลเกี่ยวกับหนี้สินปานกลางร้อยละ 38.15 เมื่อมี"หนี้สิน"จึงวางแผนการใช้จ่ายให้รัดกุมมากขึ้น ร้อยละ 60.23 

 

ทั้งนี้การแก้ปัญหา"หนี้สิน"ต้องแก้ด้วยตนเอง มีวินัย วางแผนการใช้จ่าย อดออม ร้อยละ 80.88 

 

รองลงมาคือรัฐปรับโครงสร้างหนี้ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 61.85 และมองว่าตนเองที่จะช่วยแก้ปัญหาหนี้ได้ ร้อยละ 89.23 รองลงมาคือ ครอบครัว คนใกล้ชิดร้อยละ 46.33

 

จากผลการสำรวจ พบว่า กลุ่มที่มีหนี้บัตรเครติตมากที่สุด คือ พนักงานเอกชน และราชการ ส่วนกลุ่มลูกจ้างรับจ้างส่วนใหญ่มีหนี้น้อยกว่า 5 แสนบาท กลุ่มราชการมีหนี้ประมาณ 1ล้านบาทขึ้นไป

 

โดยกลุ่มลูกจ้าง/รับจ้างมีความเครียดเกี่ยวกับหนี้สินมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อาจเป็นเพราะความไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน รวมถึงสถานการณ์โควิด-19
ที่ทำให้ตัวเลขคนตกงานพุ่งสูงขึ้นถึง 8.7 แสนคน ปัญหาหนี้สินจึงเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของประชาชน และก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา 
 


 


 

โพลชี้คนไทย \"หนี้ท่วม\" ครัวเรือนละ 1.24 ล. หนี้บัตรเครดิต-สินเชื่อ มากสุด

ภาครัฐจึงควรมีมาตรการช่วยเหลือทั้งระบบ การเพิ่มรายได้  การลดค่าครองชีพ ปรับโครงสร้างหนี้ ฯลฯ เพื่อช่วยให้ประชาชนมีความสามารถในการชำระ"หนี้"เพิ่มมากขึ้น

โพลชี้คนไทย \"หนี้ท่วม\" ครัวเรือนละ 1.24 ล. หนี้บัตรเครดิต-สินเชื่อ มากสุด

และผลโพลสะท้อนให้เห็นว่การก่อหนี้แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ (1) การก่อหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคและใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ได้แก่ หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และ (2)การก่อหนี้เพื่อซื้อทรัพย์สิน ได้แก่ สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถ 

 

กลุ่มที่นำเป็นห่วง คือ กลุ่มที่ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ เพราะเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน จึงก่อหนี้จากบัตรเครดิดแทนถึงแม้ว่าดอกเบี้ยจะสูงกว่าก็ตาม ซึ่งบัตรเครดิตไม่ได้ใช้แค่การอุปโภคบริโภค แต่เป็นการกดเงินสดออกมาเพื่อการลงทุนด้วยเช่นกัน 


สำหรับการลด"ภาระหนี้"นั้น ประชาชนควรมีวินัยทางการเงิน สร้างรายได้เพิ่ม ลดค่าใข้จ่ายที่ไม่จำเป็น การออมเงินก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ในปัจจุบันยังมีทางเลือกในการหารายได้เพิ่มโดยใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ให้เป็นประโยชน์ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการทำธุรกิจต่ำลง 

 

อย่างไรก็ตาม ประชาชนควรหาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีในการขายและทางการเงินเพิ่มเติม สำหรับหนี้ที่มีอยู่ควรใช้วิธีเจรจากับธนาคารเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และภาครัฐควรช่วยประชาชนในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ