ข่าว

หมอนิธิ เตือน อย่าตื่นเต้น "โอไมครอน" แนะดูแล อย่าให้ปีใหม่ซ้ำรอยสงกรานต์

หมอนิธิ เตือน อย่าตื่นเต้น "โอไมครอน" แนะดูแล อย่าให้ปีใหม่ซ้ำรอยสงกรานต์

28 พ.ย. 2564

"หมอนิธิ" เตือน อย่าพึ่งตื่นเต้น โควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" แนะ ดูแลตัวเองให้ดี อย่าให้ปีใหม่เหมือนสงกรานต์

(28 พ.ย.2564) ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊คส่วนตัว Nithi Mahanonda ถึงการแพร่ระบาดของ "โควิดสายพันธุ์ใหม่" Omicron หรือ "โอไมครอน" ระบุว่า โควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" อาจมีมาพักหนึ่งแล้ว แต่เกิด และหลบอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีการเฝ้าระวังจริงจัง จากการดูจุดกลายพันธุ์ น่าจะวนเวียนอยู่ในตัว host มาพักนึง แล้วก็โผล่ขึ้นมาจากการเคลื่อนย้ายของคนที่เป็น host เข้ามาในเมือง 

 

หมอนิธิ เตือน อย่าตื่นเต้น \"โอไมครอน\" แนะดูแล อย่าให้ปีใหม่ซ้ำรอยสงกรานต์

ยังหวังว่า ระบบภูมิต้านทานอื่น ๆ ในตัว นอกจากแอนติบอดี (ที่ทำท่าว่ามันอาจจะเก่งหลบหลีกภูมิจากวัคซีนได้) ยังพอช่วยประทังได้ อย่าเพิ่งตื่นเต้นรอข้อมูลกันนิด ว่ามันหลบได้ดี ระบาดได้เร็วมากน้อยแค่ไหน ขณะนี้ใส่หน้ากาก เลี่ยงที่อากาศไม่ถ่ายเท และรักษาระยะห่าง 
จะปลอดภัย อย่าให้หลังปีใหม่นี้ เหมือนหลังสงกรานต์ที่ผ่านมานะครับ กระจายเร่งการฉีดวัคชีนให้ทั่วถึงทุกที่ ทุกกลุ่ม ทุกอายุ เอาหลักวิชาการ (ทั้งสังคมและวิทยาศาสตร์) และความจริง เข้ามาเป็นหลักลดกรอบเดิม ๆ ลดอัตตา และตัดสินใจให้เร็วนะครับ

 

หมอนิธิ เตือน อย่าตื่นเต้น \"โอไมครอน\" แนะดูแล อย่าให้ปีใหม่ซ้ำรอยสงกรานต์

 

ยืนยันเหมือนเดิมที่เคยว่าไว้ว่า โรคนี้ต้องเอาตัวรอดไปด้วยกันทุกคนทุกกลุ่มครับ 
 

"โอไมครอน" (Omicron) โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเพิ่งถูกค้นพบ และได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ จากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ในวันที่ 26 พ.ย.2564 ที่ผ่านมา และล่าสุด ได้ถูกจัดให้เป็นเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดที่ 5 ที่ WHO จัดให้อยู่ในสายพันธุ์ที่ "น่ากังวล" (Variant of Concern หรือ VOC) ต่อจากสายพันธุ์อัลฟา, เบตา, แกมมา, เดลตา

 

"ไวรัสสายพันธุ์น่ากังวล" (VOC) ของไวรัสโคโรนานี้ เป็นสายพันธุ์ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่ถูกจัดให้อยู่ในคำนิยาม "สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ" (VOI) ด้วยวิธีการประเมินเปรียบเทียบ, การพิสูจน์ได้ว่ามีความสัมพันธ์กันกับ 1 หรือมากกว่านั้นในการเปลี่ยนแปลงของขนาดสาธารณสุขโลก ที่กำลังตามมาอย่างมีนัยสำคัญ อาทิ การเพิ่มขึ้นในส่วนการส่งผ่านการแพร่เชื้อ หรือการก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายโดยมีการเปลี่ยนแปลงในทางระบาดวิทยา (การพัฒนาของเชื้อโรค) ของโควิด-19, ความรุนแรงของโรค หรือการเปลี่ยนแปลงในอาการของโรคทางคลินิกที่เพิ่มขึ้น หรือการลดลงของประสิทธิภาพของสาธารณสุข และมาตรการทางสังคม หรือการวินิจฉัย, วัคซีน, การบำบัดรักษาโรคที่มีอยู่