"โอไมครอน" ส่อหลุด ต้องสงสัยติดเชื้อ แต่มีผลตรวจ อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา เป็นลบ
ฝรั่งเศสพบสงสัยติด โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" 8 ราย ที่มีผลการตรวจคัดกรองไวรัสชนิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ต่าง ๆ (อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา) ออกมาเป็นลบ
เกาะติด "โอไมครอน" โควิดสายพันธุ์ใหม่ Omicron โควิดโอไมครอน บี.1.1.529 (B.1.1.529) กระทรวงสาธารณสุขฝรั่งเศสรายงานการตรวจพบผู้ป่วยต้องสงสัยติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์โอไมครอน 8 ราย ในหมู่ผู้โดยสารที่มีผลตรวจโรคเป็นบวก หลังจากเคยเดินทางเยือนแอฟริกาในช่วง 14 วันที่ผ่านมา
กระทรวงสาธารณสุขฝรั่งเศส ระบุในแถลงการณ์ว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 8 รายดังกล่าว ที่มีผลการตรวจคัดกรองไวรัสชนิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ต่าง ๆ ออกมาเป็นลบ (อัลฟา เบตา แกมมา และ เดลตา) จำเป็นต้องได้รับการยืนยันเพิ่มเติมด้วยการจัดลำดับพันธุกรรมซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายวัน
ทั้งนี้ "โอไมครอน" หลายประเทศเพื่อนบ้านของฝรั่งเศสได้รายงานการตรวจพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์โอไมครอน ที่ได้รับการยืนยันแล้ว
เมื่อเช้าวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของฝรั่งเศส โอลิเวียร์ เวรอง กล่าวกับ บีเอฟเอ็มทีวี (BFMTV) ช่องข่าวและสภาพอากาศในฝรั่งเศส ว่า ตั้งแต่วินาทีที่เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์โอไมครอน ระบาดในหลายประเทศเพื่อนบ้าน ก็เป็นไปได้ว่ามันจะระบาดที่ฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสและประเทศอื่น ๆ ในสหภาพยุโรปได้ตัดสินใจระงับเที่ยวบินจาก 7 ประเทศในภูมิภาคแอฟริกาใต้ เพื่อดำเนินมาตรการป้องกัน
28 พฤศจิกายน 2564 องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์โอไมครอน สามารถแพร่เชื้อได้ดีกว่าหรือก่อเกิดอาการของโรคที่รุนแรงกว่า เมื่อเทียบกับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์อื่น ๆ อย่างเช่น เดลตา
(แฟ้มภาพซินหัว : หญิงเยี่ยมชมนิทรรศการปารีส โฟโต 2021 รอบสื่อมวลชนที่ห้องโถงแกรนด์ ปาเล เอเฟเมียร์ในกรุงปารีส เมืองหลวงของฝรั่งเศส วันที่ 10 พ.ย. 2021)