"โอไมครอน" ยืนยันยังตรวจเจอด้วย RT-PCR ปรับเทคนิคป้องกันเชื้อหลุดรอด
กรมวิทฯยืนยันโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" สามารถตรวจเจอได้ด้วย RT-PCR กำชับทุกแล็บตรวจอย่างละเอียดป้องกันเชื้อกลายพันธุ์หลุดรอด เล็งให้นักท่องเที่ยวตรวจ RT-PCR แทน ATK ทุกคน
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวระหว่างการแถลง สถานการณ์โควิด-19ในประเทศไทย และโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" ว่า ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้มีการออกมาตรการห้าม 8 ประเทศในแถบแอฟริกาใต้ ได้แก่ แอฟริกาใต้ นามิเบีย เลโซโท บอตซวานา ซิมบับเว โมซัมบิก มาลาวี เอสวาตินี่ ส่วนผู้ที่เข้ามาแล้วจะต้องทำการกักตัว 14 วัน ตรวจหาเชื้อโควิด-19
อย่างไรก็ตามสำหรับสถานการณ์การระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอนล่าสุดขณะนี้ในต่างประเทศพบการระบาดหลักร้อยเท่า เนื่องจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นเรื่องใหม่ และสร้างความตกใจให้แก่ประชาชน เพราะที่ผ่านมาสายพันธุ์โอไมครอนถูกจัดชั้นเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในประเทศไทยเองก็ได้มีการวางมาตรการตั้งรับอย่างเข็มงวด โดยเฉพาะการตรวจหาเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนจากจำนวนผู้ติดเชื้อ โดยขณะนี้มีการส่งตัวอย่างไปแล้ว 75 ตัวอย่าง และตรวจเสร็จเรียบร้อยแล้ว 45 ตัวอย่าง ซึ่งจากการทำการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ยังพบเพียงสายพัยธุ์เดลตาเท่านั้น ส่วนการตรวจสอบตัวอย่างผู้ติดเชื้อที่เดินทางจากต่างประเทศ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังไม่พบว่ามีสายพันธุ์โอไมครอน เช่นกัน ดังนั้นจึงยืนยันว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่พบผู้ติดเชื้อ สายพันธุ์โอไมครอน
นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า การใช้ RT-PCR แล้วตรวจหาโฮไมครอนไม่เจอหรือไม่นั้น ที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์ทางกาแพทย์ ได้กับให้ทุกแล็บ ตรวจหาเชื้อโควิด-19อย่างรอบครอบเพื่อป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนหลุดรอด โดยทุกแล็บจะต้องดำเนินการตรวจยีนส์ดังนี้
1.ตรวจยีนส์มากกว่า 1 ยีนเพื่อหาเชื้อโอไมครอน และต้องไม่พบเชื้อทั้งหมด หรือ
2.ตรวจ 1 ยีนแต่ต้องตรวจมากกวา 1 ตำแหน่ง จึงจะสามารถยืนยันว่าไม่พบ
3.ตรวจมากกว่า 1 ยีนที่แตกต่างกัน
4.ตรวจ 1ยีนมากกว่า 1 ตำแหน่ง
5.ตรวจมากกว่า 1 ยืนที่ต่างกันหรือ 1 ยีนมากกว่า 1 ตำแหน่ง
โดยวิธีการตรวจแบบนี้จึงส่งผลให้สามารถตรวจหาเชื้อได้ละเอียดโอกาสที่เชื้อหลุดรอดไปจะมีน้อยมาก
นอกจากนี้ยังไม่การใช้เทคนิคอื่น ๆ ในการตรวจหาเชื้อโควิด-19ไม่ว่าจะเป็นตรวจและสังเหตุหารหัสพันธุกรรมในสายพันธุ์ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม โอไมครอน มีการกลายพัยธุ์ที่คล้ายกับเดลต้าและเบต้า หากมีการตรวจเบื้องต้นแล้วพบว่าพันธุ์กรรมคล้ายกันให้สันนิษฐานว่าเป็น โอไมครอน ทั้งนี้ได้ประสานให้หน่วยงานตรวจหาเชื้อโควิดทั่วประเทศให้ใช้เทคนิคดังกล่าว
ด้านการตรวจหาเชื้อด้วย ATK จะเป็นอย่างไร หลายคนมองว่าหากการกลายพันธุ์จะทำให้การแสดงผลผิดเพี้ยนไปหรือไม่ ในเบื้องต้นยังสามารถตรวจหาอเชื่อได้อยู่ ทั้งนี้การระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอนยังมีข้อมูลต่าง ๆ อย่างจำกัด เนื่องจากการติดเชื้อทั่วโลกยังเป็นแค่หลักร้อยจึงยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าการแพรระบาดจะรุนแรงมากกว่าเดลตาหรือไม่ หรือเชื้อไวรัสสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีเพียงใด
แต่เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโอไมครอนในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มี ทบทวนให้นักท่องเที่ยวตรวจ RTPCR ทุกราย หลังจากที่ให้ตรวจเพียงแค่ ATK เท่านั้น