ข่าว

"โอไมครอน" แพร่เชื้อง่าย - ป่วยหนักขึ้น หรือไม่ WHO ยังไม่ฟันธง รออัปเดตก่อน

"โอไมครอน" แพร่เชื้อง่าย - ป่วยหนักขึ้น หรือไม่ WHO ยังไม่ฟันธง รออัปเดตก่อน

30 พ.ย. 2564

องค์การอนามัยโลก ยังไม่ฟันธง "โอไมครอน" สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายหรือก่อให้เกิดอาการป่วยหนักมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งรวมถึงเดลตาหรือไม่

 

เกาะติด "โอไมครอน" โควิดสายพันธุ์ใหม่ Omicron โควิดโอไมครอน บี.1.1.529 (B.1.1.529) ล่าสุด องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า ปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนว่าโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์โอไมครอน สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายหรือก่อให้เกิดอาการป่วยหนักมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งรวมถึง เดลตา หรือไม่

 

 

 

 

องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ "โอไมครอน" แพร่กระจายจากคนสู่คนได้กว่าสายพันธุ์อื่น ๆ หรือไม่ แม้ยอดผู้มีผลตรวจโรคเป็นบวกพุ่งขึ้นในแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบการอุบัติของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ใหม่นี้

ขณะเดียวกัน ยังไม่มีความชัดเจนว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์โอไมครอน จะก่อให้เกิดอาการป่วยรุนแรงหรือไม่ แต่ข้อมูลเบื้องต้นบ่งชี้ว่าอัตราการรักษาตัวโรงพยาบาลในแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้น ซึ่งสาเหตุอาจมาจากยอดผู้ติดเชื้อโดยรวมเพิ่มขึ้น

 

 

 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ว่าอาการป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์โอไมครอน แตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ เนื่องจากการทำความเข้าใจระดับความรุนแรงของสายพันธุ์โอไมครอนยังต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์

ปัจจุบันโรคโควิด-19 ชนิดกลายพันธุ์ ทุกสายพันธุ์ ซึ่งรวมถึงสายพันธุ์เดลตา สามารถก่อให้เกิดอาการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงสุด ดังนั้น การป้องกันจึงเป็นกุญแจสำคัญ

 

 

 

อย่างไรก็ดี องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า หลักฐานเบื้องต้นบ่งชี้ความเสี่ยงติดเชื้อซ้ำด้วยสายพันธุ์โอไมครอน แต่ข้อมูลที่เกี่ยวกับประเด็นนี้ยังมีอยู่จำกัด ซึ่งคาดว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติมในอีกไม่กี่วันและสัปดาห์

ส่วน การตรวจโรคโควิด-19 แบบพีซีอาร์ (PCR) ยังคงสามารถตรวจจับสายพันธุ์โอไมครอน และมีการวิจัยเพิ่มเติมว่าสายพันธุ์โอไมครอนจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีนและวิธีการรักษาโรคโควิด-19 ที่มีอยู่อย่างไร

 

 

 

 

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์โอไมครอน หรือ บี.1.1.529 (B.1.1.529) เป็น “สายพันธุ์ที่น่ากังวล” (VOC) เมื่อวันศุกร์ (26 พฤศจิกายน 2564) ที่ผ่านมา

 

 

“สายพันธุ์ที่น่ากังวล” บ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ล่าสุด มีการเปลี่ยนแปลงหนึ่งประการหรือมากกว่าในระดับที่มีนัยสำคัญต่อสาธารณสุขโลก ได้แก่ มีศักยภาพการแพร่เชื้อเพิ่มขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาที่เป็นอันตราย มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงทางอาการของโรค มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของมาตรการสาธารณสุข - สังคม หรือการวินิจฉัย วัคซีน การรักษาที่มีอยู่

 

 

 

องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกร้องนานาประเทศขยับขยายการเฝ้าระวังและการตรวจลำดับพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ชนิดกลายพันธุ์ที่แพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงจัดส่งผลการลำดับพันธุกรรมและคำอธิบายเข้าฐานข้อมูลที่สาธารณชนเข้าถึงได้ และรายงานการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ที่น่ากังวลแก่องค์การอนามัยโลก (WHO)

นอกจากนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้มีการลงพื้นที่สืบสวนสอบสวนและการประเมินในห้องปฏิบัติการ เพื่อความเข้าใจผลกระทบของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์ที่น่ากังวล ต่อการระบาดวิทยาของโรคโควิด-19 ประสิทธิภาพของมาตรการสาธารณสุข - สังคม และการสร้างภูมิคุ้มกันโรคระบาด

 

 

 

โอไมครอน, โควิดสายพันธุ์ใหม่, Omicron, โควิดโอไมครอน, บี.1.1.529, B.1.1.529, องค์การอนามัยโลก, WHO

 

(แฟ้มภาพซินหัว : นักเดินทางที่โถงผู้โดยสารขาออกของท่าอากาศยานนานาชาติเบนกูเรียน ใกล้เมืองเทลอาวีฟของอิสราเอล วันที่ 28 พ.ย. 2021)