ดัน “มอ.” เป็น ศูนย์ตรวจโควิดภาคใต้ รองรับการตรวจทุกสายพันธุ์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมมือ "มอ." จัดตั้งศูนย์ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ ซึ่งมีศักยภาพตรวจระดับหาสารพันธุกรรมได้ทุกสายพันธุ์ที่มีในขณะนี้ เน้นการตรวจแบบ ถอดรหัสพันธุกรรม หรือ โฮจีโนม
ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยภายหลังลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือ “มอ.” ในการจัดตั้งศูนย์ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ ว่า จากเดิมที่ในพื้นที่ภาคใต้ จะต้องส่งตัวอย่างมายืนยันที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
“ตอนนี้ก็ไม่ต้องแล้ว เนื่องจากตัวอย่างเชื้อ สามารถตรวจหาสายพันธุ์อย่างละเอีนด ที่ศูนย์ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ที่มอ.ได้เลย ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ”นพ.ศุภกิจ กล่าว
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวอีกว่า รวมถึงในช่วงที่สายพันธุ์โอไมครอน เริ่มมีการแพร่ระบาดในหลายประเทศ ทำให้ความต้องการในการตรวจพิสูจน์สายพันธุ์มีจำนวนมากขึ้น
"ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็น การตรวจรหัสพันธุกรรมขั้นสูงสุด คือ การถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อ ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดจะถูกรายงานเข้าระบบ จีเซท หรือ ถังกลางของโลก เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้ข้อมูลในส่วนนี้ได้" อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ การพัฒนา ห้องปฏบัติการ เพื่อรองรับโรคภัยไข้เจ็บในประเทศไทย มีมานานแล้ว และมีความก้าวหน้าในระดับที่ทั่วโลกยอมรับ ตอนนี้มีห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กว่า 400 แห่ง
สำหรับการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมกับเครือข่ายห้องปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน- 26 พฤศจิกายน 2564 สุ่มตรวจผู้ติดเชื้อทั้งหมด 43,918 รายพบเป็นสายพันธุ์เดลต้า 2,875 ราย สายพันธุ์อัลฟ่า 14,523 ราย และสายพันธุ์ เบต้า 690 ราย
โดยช่วงระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม-26 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งเป็นช่วงเปิดประเทศข้อมูลจากการสุ่มตรวจผู้ติดเชื้อ 1 955 ราย พบส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์เดลต้า
ขณะที่การเฝ้าระวังโควิดในพื้นที่ภาคใต้ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 26 พฤศจิกายน จากการสุ่มตรวจผู้ติดเชื้อ 479 ราย พบเป็นสายพันธุ์เดลต้า 478 ราย สายพันธุ์ อัลฟา 1 ราย
ด้าน ศ.ดร.นพ. สุรศักดิ์ สังขทัต ณ อยุธยา รองผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาด้านวิทย่ศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “ มอ.” ระบุว่า เบื้องต้น ศูนย์ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ วางเป้าในการสุ่มตรวจ ตัวอย่าง เดือนละ 300 ตัวอย่าง
โดยจะเป็นการตรวจแบบ ถอดรหัสพันธุกรรม หรือ โฮจีโนม ซึ่งเป็นการตรวจเชื้อขั้นสูงสุด แบบเปลือยตัวไวรัสทั้งตัว ก็จะสามารถลงรายละเอียดได้ว่าเชื้อโควิคนั้นเป็นสายพันธุ์อะไร แต่จะไม่เป็นการตรวจหาสายพันธุ์ผู้ติดเชื้อทุกราย
โดยจะใช้การสุ่มตรวจ เพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาด พิจารณาจากการแพร่ระบาดในพื้นที่ หากพบการแพร่ระบาดมากกว่า 50 คนขึ้นไป หรือเป็นการระบาดซ้ำ หรือ ในส่วนรับวัคซีนแล้วมีการติดเชื้อ
ทั้งนี้ การตรวจ รหัสพันธุกรรมขั้นสูงสุด หรือ การถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัส / ราคาค่อนข้างสูงเริ่มต้น 1 ตัวอย่าง ประมาณ 20,000 บาท แต่ปัจจุบัน กรมวิทยาตรวจได้ส่งตัวอย่างเชื้อจำนวนมาก 300-400 ราคาก็จะลดลงมา
“โดย ต้นทุนน้ำยาตรวจเชื้ออยู่ 2,000-3,000บาท ที่สำคัญ คือ จำเป็นต้องมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์การตรวจหาเชื้อในครั้งนี้ด้วย. โดยระยะเวลาการตรวจต่อรอบจะรู้ผล 3-5 วัน” รองผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาด้านวิทย่ศาสตร์สุขภาพ มอ. กล่าวในที่สุด