ข่าว

จากสนามม้า..สู่อุทยานของพ่อ "อุทยานเฉลิมพระเกียรติ" รัชกาลที่ 9

จากสนามม้า..สู่อุทยานของพ่อ "อุทยานเฉลิมพระเกียรติ" รัชกาลที่ 9

04 ธ.ค. 2564

สวนสาธารณะบนพื้นที่ 297 ไร่แห่งใหม่ในกรุงเทพมหานคร บนพื้นที่ "สนามม้านางเลิ้ง" เดิม กำลังจะแล้วเสร็จในรูปแบบของ อุทยานเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9

วันที่ 4 พ.ค. พ.ศ.2562 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ พระราชทานอารักขาแก่ประชาชนชาวไทยความว่า

"เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป"

จากนั้นทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองราชอาณาจักรไทยโดยทศพิธราชธรรมจริยา จึงเหมือนคำมั่นสัญญาต่อคนไทยทั้งประเทศ ที่ช่วงนั้นยังไม่พ้นจากความโศกาอาดูร หลังการเสด็จสู่สวรรคาลัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อได้ยินพระราชดำรัสเช่นนี้ จึงเหมือนน้ำทิพย์ที่ช่วยเยียวยาความทุกข์โศกลงได้บ้าง พร้อมๆกับความหวังถึงอนาคตภายใต้พระบรมโพธิสมภาร

จากสนามม้า..สู่อุทยานของพ่อ \"อุทยานเฉลิมพระเกียรติ\" รัชกาลที่ 9

นับแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงพระราชทานโฉนดที่ดินในพระปรมาภิไธย ซึ่งมีที่ตั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และในส่วนภูมิภาค เพื่อใช้ประโยชน์เป็นสถานที่ทำงาน สถานศึกษา และเป็นประโยชน์ในทางราชการ กระทั่งมีข่าวต่อเนื่องจากกรณีราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (Royal Turf Club of Thailand under the Royal Patronage) หรือสนามม้านางเลิ้งที่เปิดทำการมานานถึง 102 ปี ได้รับแจ้งจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทำหนังสือขอยกเลิกสัญญาเช่า 3 ฉบับ และขอคืนพื้นที่ภายใน 180 วัน นำไปสู่การปิดตำนานของสนามม้าแห่งนี้ ไปเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2562 ท่ามกลางความสงสัยว่า อดีตสนามม้าแห่งนี้ จะถูกพัฒนาพื้นที่ต่อไปอย่างไร

จากสนามม้า..สู่อุทยานของพ่อ \"อุทยานเฉลิมพระเกียรติ\" รัชกาลที่ 9

ต่อมาจึงมีกระแสข่าวผ่านสื่อออกมาว่า จะได้รับพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ จนล่าสุดจึงมีความชัดเจนมากขึ้น เมื่อสำนักพระราชวังได้แจ้งหมายกำหนดการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในวันที่ 5 ธันวาคม 2564 

จากสนามม้า..สู่อุทยานของพ่อ \"อุทยานเฉลิมพระเกียรติ\" รัชกาลที่ 9 จากสนามม้า..สู่อุทยานของพ่อ \"อุทยานเฉลิมพระเกียรติ\" รัชกาลที่ 9 จากสนามม้า..สู่อุทยานของพ่อ \"อุทยานเฉลิมพระเกียรติ\" รัชกาลที่ 9 จากสนามม้า..สู่อุทยานของพ่อ \"อุทยานเฉลิมพระเกียรติ\" รัชกาลที่ 9 จากสนามม้า..สู่อุทยานของพ่อ \"อุทยานเฉลิมพระเกียรติ\" รัชกาลที่ 9 จากสนามม้า..สู่อุทยานของพ่อ \"อุทยานเฉลิมพระเกียรติ\" รัชกาลที่ 9

 

“อุทยานเฉลิมพระเกียรติ” พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 จึงนับเป็นโครงการก่อสร้างตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ์ รัชกาลที่ 10 ที่ทรงพระราชทานที่ดินจำนวน 297 ไร่ ของอดีตสนามม้านางเลิ้ง เพื่อพัฒนาให้เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพมหานครฯ สำหรับประชาชนทุกคนได้ใช้พักผ่อน และมีลานออกกำลังกาย ลานกิจกรรม ที่ประชาชนจะสามารถเข้าไปใช้ได้ เป็นการออกแบบเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร 

โดยในโครงการจะแบ่งเป็นโซนสวนสาธารณะประมาณ 216 ไร่ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 อาคารจอดรถใต้ดิน 3 ชั้น รองรับรถยนต์ 700 คัน ร้านค้าของ “ชุมชนนางเลิ้ง” และอาคารจอดรถโรงพยาบาลรามาธิบดี

โดยเฉพาะภายในสวนสาธารณะของอุทยานฯ ที่จะมีจุดสำคัญไฮไลท์ คือ พระบรมราชานุสาวรีย์ในหลวงรัชกาลที่ 9 สระน้ำเลข 9 (เลข ๙ ไทย) สะพานหยดน้ำพระทัย สะพานไม้เจาะบากง การจัดสวนที่สะท้อนแนวคิด คือ “น้ำคือชีวิต จากนภา ผ่านภูผา สู่นที” 

อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่ “แก้มลิง” แห่งใหม่ของกรุงเทพมหานครฯ ที่จะเชื่อมคลองผดุงกรุงเกษม กับคลองเปรมประชากรและคลองสามเสน รวมไปถึงเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการฟื้นฟูป่า รักษาแหล่งน้ำ เกษตรทฤษฎีใหม่ กังหันชัยพัฒนา และฝายชะลอน้ำ Floating Solar Cell อีกด้วย 

จากสนามม้า..สู่อุทยานของพ่อ \"อุทยานเฉลิมพระเกียรติ\" รัชกาลที่ 9 จากสนามม้า..สู่อุทยานของพ่อ \"อุทยานเฉลิมพระเกียรติ\" รัชกาลที่ 9

นอกจากนี้ภายในอุทยานฯยังออกแบบให้มีอุปกรณ์ออกกำลังกาย ลานกิจกรรม สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในสวนต่างๆ คาดว่าอุทยานฯจะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้ภายในปี 2567 อุทยานฯแห่งนี้จึงถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความผูกพันอันใกล้ชิดของคนไทย ที่จะได้รำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ต่อไปได้อย่างไม่เสื่อมคลาย