"เงินบาทดิจิทัล" คืออะไร มีวิธีใช้อย่างไร เหมือน คริปโต หรือไม่
"เงินบาทดิจิทัล" คืออะไร เมื่อสกุลเงินดิจิทัลถือเป็นสกุลเงินใหม่แห่งโลกเทคโนโลยี วันนี้เรามารู้จัก เงินบาทดิจิทัล เพื่อเตรียมพร้อมปรับตัวสู่โลกใบใหม่
จากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาประกาศกาสจะเริ่มใช้ "เงินบาทดิจิทัล" ในช่วงกลางปี 2565 ก็ทำให้หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า "เงินบาทดิจิทัล"คืออะไร ใช้อย่างไร มีความเหมือนต่างกับ คริปโตเคอเรนซี่ (Cryptocurrency) หรือไม่
บทความนี้จะมาช่วยไขคำตอบ
"เงินบาทดิจิทัล" คืออะไร
เงินบาทดิจิตอล เป็นหนึ่งใน สกุลเงินดิจิตัลของรัฐ (CBDC) ซึ่งธนาคารกลางของแต่ละประเทศก็จะมี สกุลเงินดิจิตัลของตัวเองทำให้สกุลเงินดิจิตัลมีค่าเท่ากับธนบัตร หรือ เรียกอีกอย่างว่าธนบัตรดิจิตอล
"เงินบาทดิจิทัล" ใช้อย่างไร
เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยปล่อย "เงินบาทดิจิทัล" มาทดลองใช้ภายในองค์กรกลางปี 65 นั้น เราต้องรอติดตามต่อไปว่าระบบนี้มีความเสถียรมากน้อยแค่ไหน จะถูกนำมาใช้ในประชาสังคมเมื่อไหร่และ อย่างไร ทั้งนี้เพื่อเป้นการเตรียมความพร้อมการขึ้นสู่โลกออนไลน์เต็มรูปแบบ เราสามารถติดตามข่าวสาร "เงินบาทดิจิทัล" ได้กับทางธนาคารแห่งประเทศไทย
"เงินบาทดิจิตอล" ต่างจาก “คริปโตเคอเรนซี่” อย่างไร
- ต่างกันที่กลไกการควบคุม
ถึงแม้ทั้งสองระบบจะเป็นการนำเทคโนโลยี 'บล็อกเชน' มาใช้แต่ "เงินบาทดิจิตอล" ที่เป็นสกุลเงินดิจิตัลของรัฐ มีตัวกลางซึ่งเป็น หน่วยงานรัฐ เข้ามาควบคุม แต่ คริบโตเคอเรนซี่ ไม่มีหน่วยงานภาครัฐมาเกี่ยวข้องแต่เป็นสมาชิกในระบบจะตรวจสอบกันเอง
- ข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคล และ ข้อมูลการทำธุรกรรมต่าง ๆ จะถูกภาครัฐเก็บข้อมูลไว้หากเราทำธุรกรรมผ่าน CBDC แต่หากเราทำธุรกรรมผ่าน คริปโตเคอเรนซี่เราจะไม่สามารถตรวจสอบอะไรได้เลย
- วัตถุประสงค์
สกุลเงินดิจิตัลของรัฐ (CBDC) ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้แทนเงินสดบนโลกออนไลน์ได้ หรือที่เรียกว่า Fiat Money - เฟียต มันนี่ ในขณะที่คริปโตเคอเรนซี่สามารถทำได้ทั้งเก็งกำไร และ ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
- ความผันผวนของค่าเงิน
ด้วยความที่ สกุลเงินดิจิตัลของรัฐ (CBDC) จะคล้ายกับเงินสดของประเทศ ๆ หนึ่งจึงทำให้ค่าเงินเป็นไปตาม ตลาดค่าเงินประเทศนั้น ๆ แต่ค่าคริปโตเคอเรนซี่จะมีความผันผวนเนื่องจากจะเปลี่ยนไปตาม อุปสงค์ และ อุปทาน หรือ supply - demand นั่นเอง