ข่าว

"ชวน หลีกภัย" ผู้คร่ำหวอดรัฐธรรมนูญไทย

"ชวน หลีกภัย" ผู้คร่ำหวอดรัฐธรรมนูญไทย

10 ธ.ค. 2564

89 ปี รัฐธรรมนูญไทย.. หากจะกล่าวถึงบุคคลที่ใช้รัฐธรรมนูญมากที่สุด คงไม่พ้น "ชวน หลีกภัย" เนื่องจากมีเส้นทางทางการเมืองที่ยาวนานผ่านมาหลายตำแหน่ง ส.ส. ผู้นำฝ่ายค้านฯ ประธานสภาผู้แทนฯ ประธานรัฐสภา รัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น

 เป็นเวลา 89ปีแล้วนับแต่ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญปกครองประเทศ และหากจะกล่าวถึงบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญมากที่สุด คงหนีไม่พ้น "นายชวน หลีกภัย" ประธานรัฐสภาและอดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีหลายกระทรวง ผู้นำฝ่ายค้าน และ ส.ส. 16 สมัย ไม่เคยสอบตกแม้แต่ครั้งเดียว


คนที่ใช้รัฐธรรมนูญมากที่สุดก็คือผม ผมใช้รัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งทุกฉบับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511  รัฐธรรมนูญออกมาปี 2511 เลือกตั้งปี 2512 ผมลงสมัครผู้แทนราษฎรและได้เป็น ส.ส.เป็นปาฐกถาพิเศษของ "นายชวน หลีกภัย" ในหัวข้อ ความหวังสภาผู้แทนฯภายใต้รัฐธรรมนูญ 60  ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562

 

เพราะว่าหากไล่ดูตำแหน่งทางการเมืองที่ "นายชวน" เคยดำรงตำแหน่งมา ซึ่งเป็นตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญกำหนด ไม่ว่าจะเป็น ส.ส., ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร,ประธานสภาผู้แทนราษฎร,ประธานรัฐสภา,รัฐมนตรี ,นายกรัฐมนตรี เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญหลายฉบับ
 

-เริ่มตั้งแต่เป็น ส.ส. สมัยแรก พ.ศ. 2512 (รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 ปี 2511 ) 

 

-ส.ส.สมัยที่สอง พ.ศ. 2518   ( รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 10 ปี 2517)

 

-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2518  (รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 10 ปี 2517)

 

-ส.ส.สมัยที่สาม พ.ศ. 2519 ( รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 10 ปี 2517)

 

-รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2519 (รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 10 ปี 2517)

 

-รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2519( รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 10 ปี 2517)

 

-ส.ส. สมัยที่สี่ พ.ศ. 2522 ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13  ปี 2521)

 

-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2523  ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13  ปี 2521)

 

-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2524  ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13  ปี 2521)

 

-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2525-2526
 ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13  ปี 2521)

 

-ส.ส. สมัยที่ห้า พ.ศ. 2526  ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13  ปี 2521)

 

-ส.ส. สมัยที่หก พ.ศ. 2529  ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13  ปี 2521)

 

-ประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529-2531  ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13  ปี 2521)

 

- ส.ส. สมัยที่เจ็ด พ.ศ. 2531   ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13  ปี 2521)


- รมว.สาธารณสุข พ.ศ. 2531-2532    ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13  ปี 2521)


-รองนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2532 – 26 ส.ค.2533   ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13  ปี 2521)

-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2533   ส.ค.-ธ.ค.2533
 ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13  ปี 2521)


-ส.ส.สมัยที่แปด พ.ศ 2535 (22 มี.ค.2535) ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 15   ปี 2534  )


-ส.ส. สมัยที่เก้า พ.ศ. 2535 (13 ก.ย.2535)  ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 15   ปี 2534  )


-นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 (23 ก.ย.2535 – 20 ก.ค.2538)   ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 15   ปี 2534  )


- ส.ส. สมัยที่สิบ พ.ศ. 2538 (2 ก.ค.2538)  ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 15   ปี 2534  )

 

-ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 (4 ส.ค.2538)   ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 15   ปี 2534  )

 

- ส.ส. สมัยที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2539 ( 17 พ.ย. 2539 )   ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 15   ปี 2534  )

 

-ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 (21 ธ.ค.2539)
  ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 15   ปี 2534  )

 

-นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2540 (9 พ.ย.2540 – 8 ก.พ.2544)   ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 ปี 2540 )


-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2540 (14 พ.ย.2540-18 ก.พ.2544)   (รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 ปี 2540 )


-สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สมัยที่สิบสอง) พ.ศ. 2544 (6 ม.ค.2544)
 (  รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 ปี 2540 )

 

-ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 (11 มี.ค.2544)      (  รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 ปี 2540 )

 

- ส.ส.  (สมัยที่สิบสาม)    พ.ศ. 2548 (  รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 ปี 2540 )

 

-ส.ส.    (สมัยที่สิบสี่)     พ.ศ.2550    ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18  ปี 2550 )

 

-ส.ส.   (สมัยที่สิบห้า)    พ.ศ. 2554   ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18  ปี 2550 )


-ส.ส. (สมัยที่สิบหก )   ประธานสภาผู้แทนราษฎร  ประธานรัฐสภา  พ.ศ. 2562  ( รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20  ปี 2560)

 

"ช่วงใดที่เป็นธรรมนูญชั่วคราวของการยึดอำนาจ ผมก็ไม่มีโอกาสได้ใช้เพราะผมไม่เคยมาจากการแต่งตั้งเลยตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา มีแต่มาจากการเลือกตั้ง ผมจึงใช้รัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งทุกฉบับตั้งแต่ปี 2511 เป็นต้นมา" ชวน บอก


สมกับเป็นผู้ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย จริงๆ