ข่าว

โครงการส่งเสริม "เกษตรแบบแปลงใหญ่" จากทฤษฎีสู่ความยั่งยืนอาชีพชาวนาไทย

โครงการส่งเสริม "เกษตรแบบแปลงใหญ่" จากทฤษฎีสู่ความยั่งยืนอาชีพชาวนาไทย

10 ธ.ค. 2564

หนึ่งในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริม "เกษตรแบบแปลงใหญ่" จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานได้อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม คือ จังหวัดนครนายก โดยมีพี่เลี้ยงเป็น ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครนายก ที่ดูแลให้คำปรึกษา

หนึ่งในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริม "เกษตรแบบแปลงใหญ่"จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานได้อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม คือ จังหวัดนครนายกโดยมีพี่เลี้ยงเป็น ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครนายก ที่ดูแลให้คำปรึกษา ในเรื่องกระบวนการผลิต และควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของ "กลุ่มแปลงใหญ่ข้าว" เพื่อกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีไปสู่เกษตรกรและผู้ต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี

 

ตั้งแต่ปี 2559 ถึง 2564 เกษตรกรจังหวัดนครนายกที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริม"เกษตรแบบแปลงใหญ่" หรือ นาแปลงใหญ่ มี ทั้งหมด 27 กลุ่ม ใน 4 อำเภอ 24 ตำบล รวมทั้งสิ้น 1,158 ราย  พื้นที่ประมาณ 28,380 ไร่ ในส่วนของปี 2564 จะเป็นกลุ่มเก่าที่เข้าร่วมโครงการมาอย่างต่อเนื่องและดำเนินการมาถึงปีที่ 3 จำนวน 8 กลุ่ม และกลุ่มใหม่ที่เพิ่งเริ่มดำเนินการ จำนวน 1 กลุ่ม เกษตรกรทั้งหมด 378 ราย พื้นที่ประมาณ 7,316 ไร่

โครงการส่งเสริม \"เกษตรแบบแปลงใหญ่\" จากทฤษฎีสู่ความยั่งยืนอาชีพชาวนาไทย

นางสาวกรรณิการ์ สีนวลมาก ผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครนายก กล่าวว่า ในส่วนของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครนายก เราดูแลเฉพาะโครงการที่ดำเนินการในจังหวัดนครนายกเพียงจังหวัดเดียวแต่ภาพรวมเราก็อยากจะผลักดันเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกร ให้มีการพัฒนาเพื่อให้เติบโตไปได้ด้วยตัวเอง เจ้าหน้าที่ศูนย์ หรือหน่วยงานภาครัฐอื่น เป็นเพียงแค่พี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาเท่านั้น ประธาน หรือผู้จัดการแปลง ของแปลงใหญ่ จะต้องบริหารจัดการกลุ่มได้ด้วยตัวเอง โดยที่เขาจะต้องพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนทั้ง 5 ด้าน

โครงการส่งเสริม \"เกษตรแบบแปลงใหญ่\" จากทฤษฎีสู่ความยั่งยืนอาชีพชาวนาไทย

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรวมกลุ่ม การบริหารจัดการ  การดำเนินการโดยเฉพาะการลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิต หรือว่าในเรื่องของการตลาด รวมถึงการศึกษาและใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม โดยเฉพาะเพื่อการพัฒนาสินค้าข้าว ให้ไปสู่มาตรฐานไม่ว่าจะเป็น เรื่องของ GAP, GAP Seed อนาคตถ้าหลาย ๆ กลุ่มเป็นอินทรีย์ เราก็จะผลักดัน แล้วก็สุดท้าย ในความยั่งยืนของทุก ๆ ด้าน ของกลุ่มนาแปลงใหญ่ เขาจะต้องไปให้ถึง นั้นคือสิ่งที่เราอยากจะพัฒนากลุ่มนาแปลงใหญ่ไปให้ได้

โครงการส่งเสริม \"เกษตรแบบแปลงใหญ่\" จากทฤษฎีสู่ความยั่งยืนอาชีพชาวนาไทย

โครงการส่งเสริม \"เกษตรแบบแปลงใหญ่\" จากทฤษฎีสู่ความยั่งยืนอาชีพชาวนาไทย

เจ้าหน้าที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครนายกได้มีการจัดประชุมและออกติดตามให้คำแนะนำ ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองให้แก่"กลุ่มนาแปลงใหญ่" สมาชิกบางส่วนได้ผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้แลกเปลี่ยนในชุมชนหรือพื้นที่ใกล้เคียง บางส่วนก็เป็นแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครนายก โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตต้องผ่านตามมาตรฐานที่กรมการข้าวกำหนด ต้องมีการกำจัดพันธุ์ปน ได้รับการตรวจประเมินแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์จากเจ้าหน้าที่ตามช่วงเวลาที่กำหนด

 

นอกจากนี้กลุ่มยังต้องศึกษาเกี่ยวกับโรคและแมลงในนาข้าว เพื่อเฝ้าระวังการระบาดของโรคและแมลงศัตรูข้าว และติดตามสถานการณ์เพื่อเตือนภัยให้กับสมาชิกป้องกัน กำจัด ได้อย่างทันท่วงที ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครนายก จึงเปรียบเสมือนเป็นทั้งพี่เลี้ยงและเพื่อนคู่คิดของกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่และเป็นหน่วยงานที่เกษตรกรให้ความไว้วางใจเรื่องข้าวมากที่สุด

 

นางสาวกัญญา อินทกาญจน์ นักวิชาการเกษตรปฎิบัติการ  หัวหน้ากลุ่มถ่ายทอดวิทยาการผลิตเมล็ดพันธุ์ดี ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครนายก ที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการระบบส่งเสริม "เกษตรแบบแปลงใหญ่" โดยทำงานร่วมกับเกษตรกรอย่างใกล้ชิด กล่าวว่า กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครนายก มีความเข้มแข็ง และสามัคคีมาก ให้ความร่วมมือในทุกกิจกรรมเป็นอย่างดี

 

ผลการตอบรับของ"เกษตรกรแปลงใหญ่"ข้าวจังหวัดนครนายก เป็นไปด้วยดี เกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความสนใจ และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่มาออกจัดกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นเวทีชุมชน การประชุมภาคีที่มีหน่วยงานต่างๆ มาร่วมพิจารณาเรื่องสำคัญ หรือการจัดทำ GAP (Good Agricultural Practices : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี) ทางด้าน ICS (Internal Control System : ระบบควบคุมภายใน) ชึ่งมีการจดบันทึกข้อมูลค่อนข้างมาก ทุกคนในกลุ่มก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี กลุ่มนาแปลงใหญ่ของจังหวัดนครนายก

 

ส่วนใหญ่มีจุดเด่นที่เหมือนกันคือเรื่องของการให้ความร่วมมือ แต่มีบางกลุ่มที่มีความเข้มแข็งในด้านการพัฒนาคุณภาพและแปรรูปสินค้าอย่างชัดเจน สามารถสร้างผลิตภัณฑ์จำหน่ายได้และเป็นที่ยอมรับ สามารถพัฒนาต่อไปโดยประกอบกับนโยบายของผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครนายกที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ความสามารถทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวิชาการและเทคโนโลยี

 

และนำความรู้ดังกล่าวมาอบรมให้กับเกษตรกร"นาแปลงใหญ่" ให้ผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพดีตรงตามมาตรฐานกำหนด สามารถนำมาเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อใช้เองในกลุ่มและจำหน่ายให้เกษตรกรในพื้นที่ เพื่อลดปัญหาด้านราคาเมล็ดพันธุ์ที่ค่อนข้างสูง เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตลงได้

 

โครงการระบบส่งเสริม"เกษตรแบบแปลงใหญ่" จากทฤษฎีสู่ความยั่งยืนในอาชีพชาวนาไทย จะสัมฤทธิ์ผลเป็นรูปธรรมได้ ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานรัฐในพื้นที่และกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็ง ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครนายก ส่งเสริมระบบ "เกษตรแบบแปลงใหญ่" ยกระดับอาชีพชาวนาไทย ให้มั่งคั่งและยั่งยืน