ข่าว

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

17 ธ.ค. 2564

เจาะลึกมุมมอง แนวคิดและวิสัยทัศน์ของ ดร.เอ้-สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นักการเมืองคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงประเทศไทย ที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นลมใต้ปีก แต่เขาจะบินไกลไปถึงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม. หรือไม่ คนกรุงเทพฯ เท่านั้นคือผู้ให้คำตอบ

ผ่านมา 5 วันเต็มๆ นับแต่วันแรกที่เปิดตัวขอลงชิงชัยตำแหน่งพ่อเมืองบางกอก ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือ ดร.เอ้ ที่คนกรุงเทพฯ คนการเมือง คนข่าว และคนไทยที่สนใจการเมือง สนใจการเลือกตั้ง สนใจความเปลี่ยนแปลง น้อยคนที่จะไม่หันมองชื่อนี้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องมีชำเลืองมองว่าเขาเป็นใคร ทำไมจู่ ๆ จึงมีชื่อฮอตฮิตติดเทรนด์ทวิตเตอร์ ติดเทรนด์อากู๋ ที่เสิร์จชื่อเมื่อไร เป็นต้องเห็นชื่อของเขาปรากฏหราในอันดับต้นๆ 

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

 

รายการ “คมชัดลึก” ได้นั่งถก นั่งคุยในหลายเรื่องหลายประเด็นกับดร.เอ้ และล้วงลึกไปถึงความรู้สึก ตัวตนที่แท้จริงของเขา โดยเฉพาะการเลือกทิ้งหน้าที่การงานในถนนสายวิชาการ ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แล้วเบนเข็มชีวิตหันเข้าสู่ถนนสายการเมืองด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. ในนามพรรคประชาธิปัตย์ 

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

 

หากเส้นทางที่เขาเลือกเดินวันนี้.. เป็นก้าวที่พลาด และนำมาซึ่งความล้มเหลวในชีวิต ลูกผู้ชายคนนี้จะยอมรับความผิดหวังครั้งนี้ได้หรือไม่ จะเป็นการเอาชื่อเสียงและความสำเร็จที่สั่งสมมาตลอดชีวิต มาทิ้งทั้งที่ยังหนุ่มแน่นอยู่หรือไม่ ดร.เอ้ ตอบอย่างมั่นใจ แต่น้ำเสียงและแววตาปิดไม่มิดว่า..เขาเองนั้นต้องการโอกาส ต้องการความไว้วางใจ และต้องการเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่งที่อยากเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น 

“ความสำเร็จ ความดีในอดีต มันไม่ได้หายไปไหน อยากให้ความดี ความสำเร็จ การต่อสู้ในอดีต คนได้เห็น คนเราอยากจะรู้ว่าอนาคตเป็นยังไง ดูเขาในอดีต ดูลักษณะเขา จะได้เข้าใจเขามากขึ้น ผมอยากให้คนมองผมได้เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีบุคลิกของตัวเอง มีความกล้าหาญ บู๊ๆ หน่อย เปรี้ยวๆ หน่อย แต่ทำงานจริง กล้าที่จะพูดไปก่อน ทฤษฎีปัจจุบันต้องพูดไปก่อน  สิงคโปร์บอกจะเป็นประเทศที่ฉลาดที่สุด เด็กต้องเรียนเก่งที่สุด จีนบอกจะไปดาวอังคารก่อน ไปว่าเขาโม้ไม่ได้เพราะเขาผลักดันคนในชาติ ผมอยากให้คนไทยมีทัศนคติเปิดกว้างแบบนั้น” 

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

นี่เป็นความรู้สึกลึกๆ ที่ ดร.เอ้ บอกกับเรา พร้อมกับการยอมรับว่ากระแสข่าวที่อาจารย์ผู้สอนเขา “เฮอร์เบิร์ต ไอน์สไตน์” (Herbert Einstein) ศาสตราจารย์ในภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อมของ MIT ไม่ได้เป็นหลานที่แท้จริงของ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” ตามที่เขาได้บอกไว้ในเวทีวันเปิดตัว 13 ธ.ค. ที่ผ่านมานั้น อาจเป็นบทเรียนแรกทางการเมืองที่เขาได้เรียนรู้ แม้เขาจะเชื่อโดยความบริสุทธิ์ใจก็ตาม และเขายินดีที่จะปรับปรุงการสื่อสารใหม่ และการเลือกเปลี่ยนเส้นทางเดินจากนักวิชาการมาเป็นนักการเมือง อาชีพที่เขามองว่า “ช่างอาภัพ”

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

 

“ที่จริงก็จริงนะ.. การออกจากการทำงานด้านอื่นที่ประสบความสำเร็จ มาเดินสายการเมืองก็ถือเป็นอาชีพที่อาภัพ ออกมานี้คนจะมองเป็นภาพลบเสียส่วนใหญ่ เราคงต้องปรับปรุงเรื่องการสื่อสารมากกว่านี้ แต่ผมขอย้ำว่าที่ผมพูดมานี้ ผมเคยทำมาก่อนแล้วจริง ถึงแม้จะเจ็บตัวยังไง แต่มันมีผลงานที่พิสูจน์ได้จริง ๆ ในอดีตลองไปดูมา และอยากเป็นตัวอย่างแก่คนรุ่นน้อง รุ่นหนุ่มสาว รุ่นลูกด้วย ออกมาเถอะ มันเจ็บนะ มันไม่ง่าย แต่นี่มันบ้านของเรา ถ้าเราบ่นอย่างเดียว เราไม่ออกมาสู้ ประเทศก็ไม่เปลี่ยน กรุงเทพฯ ก็ไม่เปลี่ยน ถ้าเกิดเราพอจะมีดี มีความกล้าหน่อยเถอะ ออกมาสู้ด้วยกัน” 

 

คำพูดที่บ่งบอกถึงความตั้งใจอย่างแท้จริงที่จะขออาสาเข้ามาแก้ไขปัญหาให้กับกรุงเทพฯ และเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองอันดับหนึ่งของอาเซียน คือนโยบายที่ ดร.เอ้ ไว้ในเวทีวันเปิดตัว และบอกกับเราในวันนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งเขาเล่าถึงจุดที่ทำให้ตัดสินใจเดินเข้าสู่ถนนสายการเมือง และเลือกฝากอนาคตการชิงชัยเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.ไว้กับพรรคประชาธิปัตย์ 

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

 

“ข้อแรก.. ผมสนใจการเมืองมาตลอด เป็นนักเปลี่ยนแปลงในทุกองค์กร สนใจการเมืองของประเทศไทย ของอเมริกา และช่วงหลังเห็นกระแสพลังการเปลี่ยนแปลงในพรรคประชาธิปัตย์ ข้อสอง.. พรรคประชาธิปัตย์ให้โอกาส “เลือดใหม่” ที่ไม่ได้อยู่พรรคประชาธิปัตย์มาก่อนให้ได้มีโอกาสเสนอตัว เข้ามามีบทบาท ซึ่งพรรคอื่นก็มีมาคุย ผมก็คุยกับทุกท่าน แต่ผมเห็นกระแสพลังความเปลี่ยนแปลงในพรรคประชาธิปัตย์ เราเห็นบทบาทของคนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น กิมมิกของพรรคในอดีต ตอนนี้มีสีสันมากขึ้น และข้อสุดท้าย.. ทีมงานในพื้นที่ ต้องยอมรับว่า ผมมีวิสัยทัศน์ดุดันที่จะเปลี่ยนกรุงเทพฯ แต่ถ้าเราไม่มีทีมในพื้นที่ เป็นไปไม่ได้ เพราะระบบบริหาร ผู้ว่าฯกทม. ต้องมีทีมที่เริ่มต้นด้วยการมีอุดมการณ์เดียวกัน วันแรกที่เปิดตัวพรรคมีทีมในพื้นที่ ทั้ง 50 เขต อันนี้สำคัญ รวมทั้งความต้องการของปัญหาในพื้นที่ที่มีความละเอียด ถ้าเรามีทีมเราจะแก้ปัญหาในระดับเขตได้มากขึ้น” ดร.เอ้ 

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

 

เมื่อได้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของเขาแล้ว คงต้องไปดูวิสัยทัศน์และแผนเปลี่ยนกรุงเทพฯ ที่เขาพูดย้ำเสมอว่า “เราทำได้” เขาจะทำอย่างไร จะแก้ปัญหาของกรุงเทพฯ ได้จริงหรือไม่ จะเชื่อได้อย่างไรว่านี่ไม่ใช่การขายฝัน ดร.เอ้ บอกอย่างมั่นใจว่า ..

 

“วันนี้เรื่องวิกฤติกรุงเทพฯ มันรุ่นแรงกว่าในอดีตเยอะ สมัยก่อนคนไม่เชื่อว่าน้ำจะทะลักในปี 54 และมาเจอน้ำทะลักในซังฮี้ ปัญหามันใหญ่ขึ้น ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 นาทีนี้กทม.ใหญ่ขึ้น ปัญหาใหญ่ขึ้น ฉะนั้นเราต้องคิดใหญ่กว่าปัญหา ถึงจะดักทางแก้ปัญหาถูก ถึงส่งสัญญาณว่า เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้ และผมพยายามพูดเรื่องความหวัง ความเชื่อและเราทำได้ อย่างเมืองโตเกียว ที่คนไทยชอบมาก เจอพายุไต้ฝุ่น 7-12 ลูกต่อปี โตเกียวน้ำไม่ท่วม และเขามีประชากร 10 กว่าล้านคน มีความหนาแน่น แต่รถก็ไม่ติด และก่อสร้างมากมายในช่วงโอลิมปิกแต่วัดค่า PM2.5 เจอน้อยมาก เขาเจอหนักกว่าเรา แต่เขาก็ทำได้ ทำไมกทม.ทำไม่ได้สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ กรุงโซล แม่น้ำฮานเคยเน่าเสีย วันนี้ใสสะอาด และกรุงปักกิ่งที่สอบตกโอลิมปิกเพราะค่าฝุ่น PM2.5 แต่วันนี้เขาผ่านแล้ว” 

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

 

เมื่อถามถึงปัญหากรุงเทพฯ ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือเรื่องใด ดร.เอ้ ตอบทันทีว่า น้ำท่วม.. อันนี้ชี้ชะตาคนกทม. น้ำท่วมปี 54 ฝนตกแป๊บเดียว น้ำทะเลหนุน น้ำทะเลลึก 9 กิโลเมตร ส่งผลทำให้ซังฮี้ น้ำประปาดื่มไม่ได้แล้ว พื้นที่กรุงเทพฯ ถ้าเกิดฝนตก น้ำฝนรอระบาย น้ำเหนือไหลบ่ามา น้ำทะเลหนุนสูง มันจะมาพร้อมกัน ผู้ว่าฯต้องแสดงบทบาสำคัญในการจัดการเรื่องนี้และต้องรู้ลึกซึ้งด้วยเพื่อคุยกับผู้ร่วมงาน ซึ่งต้องคุยกับสมุทรปราการ และสมุทรสาคร เพื่อสร้างประตูกั้นน้ำทะเลหนุนสูงเข้ากทม. 

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

ดร.เอ้ บอกด้วยว่าการแก้ปัญหาในกทม.นั้น ไม่ได้ยากเพราะมีข้าราชการที่พร้อมให้ความร่วมมือ ขอเพียงมีผู้นำที่รู้จริง ก็พร้อมจะทำตาม “ที่จริงแล้วข้าราชการไทยมีเสน่ห์ และเชื่อผู้นำ แต่ถ้าผู้นำไม่แนะนำให้ทำอะไร ข้าราชการก็ไม่ทำอะไร เขาถูกสอนกันมาว่าถ้านายไม่สั่ง อย่าทำเพราะมันเสี่ยง แต่ถ้ามีนาย หรือมีผู้ว่าฯ ที่มีความรู้เรื่องนี้ มี Passion ดุดัน แก้ปัญหา เป็น และเป็นนายกฯสภาวิศวกร ทำเรื่องดินและน้ำมา ผมว่าขาจะให้ความร่วมมือ เขาจะเชื่อ และเกิดความเปลี่ยนแปลงได้ และผมว่าในระยะสั้น ระบบปั๊มน้ำอัตโนมัติด้วยไฟฟ้าต้องใช้แล้ว ต้องเริ่มแล้ว ในระยะกลาง แก้มลิงใต้ดินต้องทำ ในระยะยาวต้องทำเกี่ยวกับประตูกั้นน้ำทะเลหนุน” 

 

สำหรับการแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ดร.เอ้ บอกทางแก้แบบเห็นภาพว่า “น่าสนใจมากว่า เมืองใหญ่ทั่วโลกอย่าง นิวเยอร์ก ลอนดอน โตเกียว ปักกิ่ง สิงคโปร์ เขาใช้ระบบสัญญาณจราจรไฟอัตโนมัติมานานแล้ว แต่กทม.สัญญาณไฟจราจรเป็นของกทม. แต่ระบบการเปิด-ปิดไฟจราจรเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเขาก็ใช้ประสบการณ์เท่าที่เขามีอยู่ เขารู้เฉพาะแยกที่เขาอยู่ แต่แยกหน้าเขาไม่รู้แล้ว สุดท้ายกทม.ก็รถติดไปทั่วหมด แต่ถ้าใช้ระบบสัญญาณไฟจราจรอัตโนมัติ หรือ AI มาใช้จะช่วยให้ระบบการจราจรคล่องตัวมากขึ้น นี่ไม่ได้ขายความฝัน ต่างประเทศเขาทำมานานแล้ว และผมอยู่ในแวดวงปัญญาประดิษฐ์ ผมจะของานสัญญาณไฟจราจรมาให้กทม.ดูแล” 

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

 

แน่นอนว่ากทม.เป็นเมืองหลวงที่มีปัญหาหลายด้าน การจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จึงไม่ใช่เรื่องง่าย อาจต้องมีการประสานกับหลายหน่วยงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือและแก้ปัญหาร่วมกัน ในเรื่องนี้ ดร.เอ้ บอกความลับให้ได้รู้ว่า “ผู้ว่าฯกทม.มีบทบาทมาก ไซต์งานก่อสร้าง ที่บอกว่าเขามี พ.ร.บ.ของเขา การไฟฟ้านครหลวง การประปา หรือแม้แต่รฟม.จะทำอะไร ก็ต้องมาขออนุญาตผู้ว่าฯกทม. ขออนุญาตเขต และเมื่อสร้างเสร็จก็ต้องคืนพื้นที่สาธารณูปโภคให้ด้วย มันมีอำนาจแฝงมหาศาลในการเจรจาต่อรอง อันนี้ชัดเจน

 

ตอนผมขุดอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ต้องไปเจรจาขอใช้พื้นที่กับกทม.และต้องคืนพื้นที่ใหม่ให้ด้วย มันมีบทบาทตรงนี้อยู่ บทบาททุกงานในโลกนี้ไม่ได้เขียนไว้ 100.00% แต่บทบาทที่เกี่ยวข้องกันนี้ เขาเกรงใจกทม. และบทบาทตรงนี้สำคัญ และกฎหมายที่มีอยู่มันเอื้อ พอที่จะทำได้ กทม.มีกองวิศวกรรมจราจรที่ใช้ติดกล้อง 6 หมื่นกว่าตัว แต่ใช้ควบคุมจรจาจรเพียงไม่กี่ตัว ถ้าจะทำระบบสัญญาณไฟจราจรอัตโนมัติ ก็ไม่เสียเงินมากมาย เพราะใช้แต่ซอฟแวร์ เราไม่พูดถึงตำรวจ คือถ้าทำได้จริง ตำรวจเขาคงรู้สึกดี ใช่ว่าเขาอยากจะทำหน้าที่ตรงนี้เพราะเขาก็เหนื่อยและเครียด”

 

ดร.เอ้ ยังพูดถึงการแก้ปัญหาควันพิษ ฝุ่นละออง PM2.5 ด้วยว่า หากจะแก้ปัญหาอะไร ก็ต้องรู้และเข้าใจในปัญหานั้นอย่างแท้จริง อย่างโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ปล่อยฝุ่นทั้งนั้น แม้จะบอกว่าเป็น PM10 ก็อันตรายเหมือนกัน แต่รถที่ขนอิฐหินดินทรายไปสร้างอาคาร ก็ปล่อยควันดำ กทม.จะทำอะไรได้ไหม การออกใบอนุญาตและกฎหมายสิ่งแวดล้อม ถ้าปล่อยฝุ่นออกมา รถออกมาทิ้งขยะ กทม.สามารถให้หยุดก่อสร้างได้ ด้วยเหตุความปลอดภัย หรือถอนใบอนุญาตได้ ก็ขึ้นอยู่ว่าจะทำไหม คือต้องใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันและเข้มข้น 

 

มาถึงประเด็นเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ยังก่อสร้างส่วนต่อขยายไม่แล้วเสร็จ รวมทั้งเรื่องราคาค่าโดยสารที่แพงเกินไป ในเรื่องนี้ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธ์ อดีตรมว.คมนาคม และผู้ลงสมัครชิงชัยตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.ได้เสนอแก้ไขราคาค่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวไว้ที่ราคา 35 บาทตลอดสายขณะที่ ดร.เอ้ เสนอว่าควรอยู่ที่ 25 บาทตลอดสาย พร้อมกับให้เหตุผลว่า 

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

 

“ตอนผมเป็นนายกสภาวิศวกร เขาใช้ม.44 ตั้งผมเข้าไปดูรถฟ้าสายสีเขียว ที่กทม.ดูแลอยู่ เข้าไปแล้วเห็นว่ารัฐติดกระดุมเม็ดแรกผิดตั้งแต่ต้น คำแรกที่ผมคิดคือสวัสดิการ เรื่องแรกคือการเดินทางด้วยรถเมล์ รถไฟฟ้าก็ควรเป็นสวัสดิการเหมือนรถเมล์ปรับอากาศ รถเมล์ค่าโดยสาร 15-25 บาท รถไฟฟ้าเราก็อยากให้ทุกคนได้ใช้เป็นสวัสดิการ ก็ต้องมีราคาเท่ากับรถเมล์ปรับอากาศ นอกจากนี้ เราต้องเอาความสามารถในการจ่ายของประชาชนมาเป็นตัวตั้ง ค่าเดินทางไม่ควรเกิน 20% ของค่าแรงขั้นต่ำ ถ้าค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 300 บาทต่อวัน ค่ารถก็ 60 บาท ฉะนั้นถ้าเขาต้องเดินทางและต่อด้วยรถเมล์ ค่ารถไฟฟ้าราคาสูงสุด ก็ไม่ควรเกิน 50 บาท และถ้าเขา มีพ่อแม่ลูกอีก 2 คน รวมกันแล้ว เขาคงไม่มาใช้รถไฟฟ้าเอาเงินไปผ่อนรถยาริสราคา 5-6 พันบาทต่อเดือนแทน” 

 

ดร.เอ้ ย้ำว่า “เราถึงว่าควรตั้งราคารถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ราคา 25 บาทตลอดสาย ผมรู้ว่ารัฐตั้งต้นผิด รัฐต้องตั้งว่านี่คือสวัสดิการเหมือนรถไฟฟ้าสายอื่น รถไฟฟ้าสายหมอชิต-อ่อนนุช จะสิ้นสุดสัญญาปี 2572 และหลังจากนั้นจะกลับมาเป็นของกทม. ก่อนโควิดประชาชนใช้บริการรถบีทีเอสทะลุล้านคนแล้ว ถ้าปี 2572 คนใช้บริการเกินล้านห้าแน่นอน คนที่จะขึ้น ถ้าราคา 20 บาท จะได้เท่าไร วันหนึ่งก็ 30 ล้านบาท ปีหนึ่งก็ได้จากตั๋วราคา 20 บาท หมื่นล้านบาทต่อปี ไหนจะได้จากค่าโฆษณาอีก ร้านค้าก็เยอะขึ้น ตีแค่ 3,000 ล้านบาท ปีหนึ่งก็หมื่นสามพันล้านบาท เข้ากระเป๋าเฉย ๆ ถ้าจ้างเดินรถก็ไม่เกิน 9 พันล้านบาท เหลือ 4 พันล้านบาท สบายๆ 4 พันล้านบาท 10 ปีก็ 4 หมื่นล้านบาท  30 ปีก็แสนกว่าล้านบาท ฉะนั้น มีเงินแสนล้านบาทรออยู่ในอนาคต 

 

วันนี้ก่อนถึง 10 ปีเราเจออะไรบ้าง 1.บีทีเอส รับจ้างเดินรถไป 5 สถานี ตรงบางจาก-แบริ่ง ให้เขาเดินรถไปแล้วเป็นหนี้หมื่นล้าน ช่วงเหนือคูคตจนถึงสำโรง เอกชนลงทุนไปแล้ว 2 หมื่นล้าน  รวมแล้วเลยเป็นหนี้ 3 หมื่นล้าน แล้วตรงนี้จะใช้หนี้อย่างไร พูดง่ายๆ คือเงินในอนาคตนี้ออกพันธบัตรใช้ตรงนี้ได้เลย และราคา 20 บาท วันนี้คนขึ้น 3 แสนคน เฉพาะส่วนเหนือ ส่วนใต้ วันหนึ่งคนขึ้นก็ 6 ล้านบาท ปีนึงก็ 2 พันล้านบาท บวกค่าโฆษณาพันล้านบาท แค่นี้ก็สามารถดูแลได้แล้ว ไม่นับภาษีล้อเลื่อน ที่กทม.ได้จากกรมขนส่งทางบก 30% ต่อปี เอามาช่วยได้อีก ทำไมจะเก็บราคาค่าโดยสารที่ 20 บาทไม่ได้ 

 

แต่หนี้ก้อนใหญ่อยู่ตรงนี้คือ โครงสร้างพื้นฐาน 8 หมื่นล้านบาท รัฐบาลต้องแฟร์กับประชาชน เพราะรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีม่วง รัฐบาลดูแลหมด แต่กับรถไฟฟ้าสายสีเขียว รัฐผลักให้กทม.ดูแล และกทม.ผลักให้เอกชนดูแล รถไฟฟ้าก็เลยราคาค่าโดยสารถูกไม่ได้ ดังนั้น หนี้จากโครงสร้างพื้นฐานก็ให้รัฐดูแล แต่เมื่อรัฐคิดว่าเป็นบิสสิเนส ไม่คิดว่าเป็นสวัสดิการ ก็ต้องไปแบ่งผลกำไรกับเอกชน ทั้งที่มันเป็นของรัฐ ของลูกหลาน เป็นการผลักภาระให้คนกรุงเทพฯ”

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

 

สำหรับแนวคิดที่จะผลักดันให้ กทม. เป็นเมืองที่ได้รับคัดเลือกจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2036 นั้น ดร.เอ้ บอกว่าไม่ใช่ขายฝัน โดยเขาย้ำว่า “จะบอกว่าที่เสนอแบบนี้เพราะเราจัดเอเชียนเกมส์เป็นคนแรกๆ และในเอเชีย โตเกียวจัดไปแล้ว 2 ครั้ง ดังนั้น ในอาเซียนเราจะปล่อยให้สิงคโปร์ หรือจากาตาร์ จัดโอลิมปิกหรือ มันควรเป็น กทม. การเสนอจัดโอลิมปิก มันจะรวมพลังคนกทม. ผมต้องอวดบ้าน มันจะทำให้คนกทม.และรัฐบาลผลักดันทุกอย่าง ฟุตบาทจะเรียบ ระบบสาธารณูปโภคคต่าง ๆ  ไฟฟ้าจะลงดิน จะเกิดขึ้นได้จริง ฝุ่นพิษต้องไม่มี และถ้าได้รับเลือกขึ้นมาจริง ๆ กทม.จะเป็นยังไง ไม่ธรรมดา เพราะกทม.มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยว 20 กว่าล้านคนอยู่แล้ว และกทม.เป็นมหานครของโลก” 

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

 

ดร.เอ้ ยังชี้ช่องด้วยว่าถ้ากทม.ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่สำหรับจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกแล้ว กทม.จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาจากภาคเอกชน กทม.เป็นโอกาสธุรกิจ “อย่าคิดว่าเป็นเงินของรัฐหมด ถ้าโอลิมปิกมาบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศไทยได้ประโยชน์หมด จะเกิดพลัง รัฐเอกชนร่วมกันและเปลี่ยน กทม. ชีวิตคนต้องมีความกดดันหน่อย ไม่กดดันไม่อ่านหนังสือสอบ โอลิมปิก 2036 นี้อย่าหัวเราะเลย ผมว่าเป็นอะไรที่เปลี่ยนกทม. เปลี่ยนประเทศไทยจริง ๆ” 

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

 

ในตอนท้าย ดร.เอ้ ย้ำถึงแนวคิดทางการเมืองและความมุ่งมั่นตั้งใจในการอาสาขอเป็นผู้ว่าฯ กทม. โดยเขายอมเจ็บตัว แต่เขามาเพื่อเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม.. 
“ผมมีความสุขทุกวัน ไม่ใช่ผมไม่เคยเจอทัวร์ลงนะ ไปดูประวัติเลย ทุกเรื่อง เพราะว่าฉายา The Disruptor เมืองไทย ที่จีเอ็มเขาให้ หรือนักเปลี่ยนแปลง คือลุย ผมเจอมาทุกเรื่อง ที่มหาวิทยาลัยก็เจอ ลุยมาหมด ผมมาเพื่อเปลี่ยนแปลง ผมคิดที่จะมาเปลี่ยนแปลง นักเปลี่ยนแปลงก็เจ็บทุกคน และพร้อมยอมรับแรงกดดัน เป็นตัวอย่างให้หนุ่มสาวคนรุ่นใหม่ ดูพี่เอ้ พี่อยากเป็นตัวอย่าง เจ็บ แต่เราก็ต้องทนเพื่อดึงคนรุ่นใหม่ที่เก่ง ดี มีความสามารถ น่าจะเป็นผู้นำประเทศได้ แต่กลัวเจ็บ ดึงคนรุ่นใหม่ที่เก่งกว่า และมีความพร้อมได้ออกมาช่วยประเทศกัน นั่นคือความตั้งใจของผม”

 

ส่วนจุดอ่อนของเขานั้น เขาบอกว่า “คนกทม.หลายกลุ่ม ผมยังไม่รู้จัก บุคลิกของนักเปลี่ยนแปลงจะใจร้อน ดุดัน เอาจริงเอาจัง พร้อมที่จะลุย รุ่นน้องบอกว่าผมเป็นนายขนมต้ม หน้าตาแหกยับเยิน แต่ก็สู้ไม่ถอย หน้าตาดูแล้วอาจจะไม่ถูกชะตา ชอบ-ไม่ชอบพรรคผม ผมอยากมาเปลี่ยนแปลงกทม. ท่านอาจจะมีขวัญใจ ชอบ-ไม่ชอบ ก็ขอให้มาใช้ผม มาบ่นเยอะๆก่อนมาอยู่พรรคประชาธิปัตย์ ก็มีคนเขียนจดหมาย สวดมนต์ว่าอย่ามาอยู่พรรคนี้เลย ผมก็คิดไตร่ตรองทุกอย่างและคิดว่าทำดีที่สุดแล้ว และคนกทม. ไม่เหมือนเลือกส.ส. แต่กทม.กำลังจะจมน้ำ ปัญหาฝุ่นและการศึกษาแย่ เขาอาจจะไม่ถูกใจพรรคผม ไม่ถูกใจผมบ้างในหลาย ๆ เรื่อง แต่ถ้าเขาเห็นเป็นนักสู้ที่ทน นักเปลี่ยนแปลงที่ทน เขาก็อาจจะเลือกเพื่อมาใช้ผม และด่าผมได้ ต่อให้ชอบ ไม่ชอบพรรคผมก็ไม่เป็นไร” 

 

เปิดวิสัยทัศน์ ดร.เอ้ บนเส้นทางความเชื่อ เปลี่ยนกรุงเทพ “เราทำได้” จริงหรือ

 

ก่อนจบบทสนทนา ถามดร.เอ้ว่าถ้าสิ่งที่ตัดสินใจวันนี้ไม่เป็นตามที่คาดหวัง จะกลับไปสวมเสื้อนักวิชาการ หรืออนาคตจะก้าวสู่เส้นทางการเมือง เขาตอบว่า “ไม่คิดอนาคตเลย เหมือนตอนที่ผมคิดสร้าง รพ.พระจอมเกล้าฯ ประกาศจะสร้าง รพ.ไป คนยังไม่เชื่อเลยว่าจะสร้างรพ.ได้ เพราะเริ่มจากศูนย์บาท ตอนนี้ตอกเสาเข็มแล้ว เราเกิดเป็นคนไทย ถูกข่มขืนมา ถูกรังแกด้วยความไม่เชื่อมาทั้งชีวิต ทำไมผมถึงไปซ้ำเติมเขา เอ้-สุชัชวีร์ คนนี้พร้อมที่จะเชื่อ พร้อมที่จะลุย ผมเชื่อว่าคนกทม.จะกรุณาให้โอกาสผมมารับใช้ และผมก็ไม่คิดเลยว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับผม และถ้าจะล้มเหลวก็พร้อมจะยอมรับ” เขาย้ำถึงความตั้งใจที่บ่มเพาะมาตลอด 30 ปี เพื่อแก้ไขปัญหาของกทม. หากเขามีโอกาสได้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร