ข่าว

วังวนรัฐประหาร”นายพลเสื้อคับนำทีม จปร.5 ตั้ง รสช.”ยึดอำนาจฉีกรธน.EP.13

วังวนรัฐประหาร”นายพลเสื้อคับนำทีม จปร.5 ตั้ง รสช.”ยึดอำนาจฉีกรธน.EP.13

20 ธ.ค. 2564

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 กลายเป็นวันที่ถูกจารึกไว้ว่าเป็นวันก่อการรัฐประหารครั้งที่ 11 ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย หลังจากว่างเว้นการรัฐประหารมานานถึง 15 ปี ติดตามได้ ย้อนรอย89ปีรธน. ตอนวังวนรัฐประหาร EP.13

 

วังวนรัฐประหาร”นายพลเสื้อคับนำทีม จปร.5 ตั้ง รสช.”ยึดอำนาจฉีกรธน.EP.13

 

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 กลายเป็นวันที่ถูกจารึกไว้ว่าเป็นวันก่อการรัฐประหารครั้งที่ 11 ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย หลังจากว่างเว้นการรัฐประหารมานานถึง 15 ปี นับจากการรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่นำโดย "พลเรือเอกสงัด  ชลออยู่"เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519
 

คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือที่เรียกอย่างย่อกันว่า รสช.เป็นคณะรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาล ที่มี "พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ" เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 17 ภายใต้การนำของ "พลเอกสุนทร คงสมพงษ์"ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ที่ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนสายทหารว่า "นายพลเสื้อคับ" เนื่องจากบุคลิกส่วนตัว ที่ชอบแต่งเครื่องแบบรัดรูป และมีคติประจำตัวคือ "ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน" 

 

คณะรัฐประหาร รสช.

 

วังวนรัฐประหาร”นายพลเสื้อคับนำทีม จปร.5 ตั้ง รสช.”ยึดอำนาจฉีกรธน.EP.13

 

โดยร่วมมือกับ "พล.อ.สุจินดา คราประยูร"ผู้บัญชาการทหารบก, "พล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี" รองผู้บัญชาการทหารบก และ "พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล"ผู้บัญชาการทหารอากาศ วางแผนควบคุมตัว "พล.อ.ชาติชาย"พร้อมคณะผู้ติดตาม บนเครื่องบินซี 130 ของกองทัพพอากาศ ขณะกำลังจะทะยานนำคณะบินไปจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ในเวลา 11.00 น.
 

อันมีชนวนเหตุสำคัญข้อหนึ่ง คือ "พล.อ.ชาติชาย" ตัดสินใจที่จะให้ "พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก" อดีตผู้บัญชาการทหารบก ครองตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับบุคคลที่เป็นผู้นำกองทัพในสมัยนั้น

พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี
 
สำหรับพล.อ.ชาติชาย ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทย ส.ส.นครราชสีมา ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2531 สืบต่อจาก "พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์" อดีตนายกรัฐมนตรีที่ครองอำนาจมายาวนานถึง 8 ปี
 

เหตุการณ์ยึดอำนาจบริหารประเทศในครั้งนี้ จึงนับเป็นการปิดฉากของประชาธิปไตยครึ่งใบของไทยลง ด้วยข้อกล่าวหาที่รุนแรงต่อรัฐบาลในขณะนั้นว่า "เป็นรัฐบาลบุฟเฟ่คาร์บิเน็ต"ที่ปล่อยให้มีการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างมหาศาล ข้าราชการการเมืองใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงข้าราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริต เป็นเผด็จการทางรัฐสภา ทำลายสถาบันทหาร และบิดเบือนคดีล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เห็นได้ชัดเจนจากประกาศฉบับที่ 1 ของ รสช.
 
วังวนรัฐประหาร”นายพลเสื้อคับนำทีม จปร.5 ตั้ง รสช.”ยึดอำนาจฉีกรธน.EP.13
 
และในวันเดียวกันนี้ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ยังได้ออกประกาศฉบับที่ 3 เรื่อง "การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ 13" อันรวมไปถึงวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และการปฏิบัติงานตามปกติขององค์มนตรี และศาลทั่วประเทศตามมา
 

 

จากนั้นถัดมาอีก 7 วัน รสช.จึงได้ประกาศบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 14 หรือธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2534 ซึ่งมีบทบัญญัติทั้งสิ้น 33 มาตรา โดยธรรมนูญฉบับนี้ มีแนวทางการปกครอง คล้ายคลึงกับธรรมนูญการปกครอง ฉบับ พ.ศ.2520 ซึ่งลดบทบาทรัฐสภาให้มีหน้าที่เพียงจัดทำรัฐธรรมนูญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดเท่านั้น
 

แต่การรัฐประหารของคณะ รสช.ในครั้งนี้ ก็ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ต่างจากการก่อการรัฐประหารครั้งก่อนๆมา คือ ไม่ได้ยกเลิกกฎหมายพรรคการเมือง
 


 


"... คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ มีเจตนารมณ์ที่จะให้การดำเนินการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ภายหลังที่สถานการณ์เข้าสู่ปรกติแล้ว คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ จึงยังไม่ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2524 เพื่อให้พรรคการเมืองยังคงสภาพอยู่ได้ต่อไป แต่เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อย จึงห้ามมิให้พรรคการเมืองที่มีอยู่แล้ว ดำเนินการประชุมหรือดำเนินกิจกรรมใดๆทางการเมือง และการดำเนินการเพื่อการจัดตั้งหรือจดทะเบียนพรรคการเมือง ให้ระงับไว้เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้จนกว่าจะได้มีประกาศเป็นอย่างอื่น…"
 

และอีกประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ที่ได้รับการกล่าวถึงมาจนถึงปัจจุบันคือ ประกาศฉบับที่ 26 ที่ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินอดีตรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลของพล.อ.ชาติชาย ทั้งสิ้น 25 คน และมีผลสรุปให้ดำเนินการยึดทรัพย์สินของอดีตรัฐมนตรี 10 คน รวมทั้งสิ้น 1,969.38 ล้านบาท 


  
วังวนรัฐประหาร”นายพลเสื้อคับนำทีม จปร.5 ตั้ง รสช.”ยึดอำนาจฉีกรธน.EP.13
 

แต่ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาว่า คำสั่งยึดทรัพย์สินนี้ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงได้กลายเป็นกรณีศึกษาสำคัญทางการเมืองในการใช้อำนาจของคณะรัฐประหารในเวลาต่อมา 

 

การรัฐประหารครั้งนี้ ยังถูกกล่าวถึงเบื้องหลังตามรายงานของ "เซอร์ ไมเคิล แรมซีย์ เมลฮ์อูอิช” (Michael Ramsay Melhuish)เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ที่จัดส่งรายงานชื่อ"ประเทศไทย: บทเรียนจากการรัฐประหาร" จากกรุงเทพฯ ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษในกรุงลอนดอน และเอกสารนี้ได้ถูกปรับลดชั้นความลับ มาเป็นเอกสารที่เผยแพร่ต่อสาธารณะได้ เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2562 มีความยาว 10 หน้า

 

ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 วันที่ รสช. ซึ่งนำโดย "พล.อ.สุนทร" นำกำลังเข้ายึดอำนาจล้มรัฐบาล "พล.อ.ชาติชาย" หัวหน้าพรรคชาติไทย ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และเอกสารบางช่วงบางตอน ยังระบุด้วยว่า 

 

 

 

"…การรัฐประหารดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่เห็นได้ชัดว่าประเทศไทยในปี 2534 เป็นประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากที่ยอมให้มีการยึดอำนาจทางทหารต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ 1950, 60 และ 70 นับแต่ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ระบบพรรคการเมืองไทย พัฒนาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีความไม่ราบรื่นอยู่บ้าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการเปลี่ยนแปลง จากสถานะในอดีตที่พรรคการเมืองที่อาจจะดูเหมือนจะเป็นแค่ส่วนประกอบในระบบรัฐราชการ ไปสู่บทบาทที่สำคัญมากขึ้น ในฐานะของการเป็นตัวแทนประชาชน…

 

วังวนรัฐประหาร”นายพลเสื้อคับนำทีม จปร.5 ตั้ง รสช.”ยึดอำนาจฉีกรธน.EP.13

 

…โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการถกเถียงเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งได้กำหนดให้ รสช. แปรสภาพเป็นสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ และได้มอบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแก่ พล.อ.สุนทร ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ยิ่งทำให้สื่อมวลชนวิพากษ์วิจารณ์ รสช.อย่างมาก และทำให้ถูกมองว่า เหตุผลของการรัฐประหารครั้งนี้ เป็นข้อแก้ตัวที่"กลวงเปล่า" ดังจะเห็นได้จากการตรวจสอบการทุจริตภายใต้รัฐบาล "พล.อ.ชาติชาย" มุ่งเน้นจัดการแค่นักการเมืองบางคน ในขณะที่การทุจริตของทหาร ที่โจ่งแจ้งไม่แพ้กัน ก็ถูกเพิกเฉย…"