"ประกันสังคม" ม.33 ธ.ค.นี้ เตรียมส่งเงินสมทบเต็มอัตราโดนหักกี่บาทเช็คเลย
"ประกันสังคมม. 33" สิ้นเดือนธันวาคม 64 เตรียมจ่ายเงินสมทบในอัตราเดิมทั้งลูกจ้างและนายจ้าง สำนักงานประกันสังคมหักสูงสูด 750 บาท
อัปเดตการจ่ายเงินสมทบของ "ผู้ประกันตนมาตรา 33" ที่ผ่านมา คณะกรรมการประกันสังคมมีมติลดอัตราเงินสมทบ ประกันสังคม ต่ออีก 3 เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2564 โดยกำหนดลดอัตราเงินสมทบ ของนายจ้าง ในอัตราร้อยละ 2.5 และลูกจ้างในอัตรา 2.5% ซึ่งจดระยะการลดเงินสมทบในเดือนธ.ค. 64 นี้ ผู้ประกันมาตรา 33 จะต้องจ่ายเงินสมทบในอัตรา 5% หรือ 750 บาท ตามอัตราเดิมที่เคยจ่าย
สำหรับ อัตราการเก็บเงินสมทบ "ประกันสังคมม.33" ปี 2564 ที่ผ่านมามีการลดอัตราเงินสมทบ "ผู้ประกันตนมาตรา 33" ดังนี้
- เดือน มกราคม 64 ส่งเงินสมทบ 3% สูงสุด 450 บาท
- เดือน กุมภาพันธ์ - มี.ค. 64 ส่งเงินสมทบ 0.5% สูงสุด 75 บาท
- เดือน เมษายน - พฤษภาคม 64 ส่งเงินสมทบ 5% สูงสุด 750 บาท
- เดือน มิถุนายน - พฤศจิกายน 64 ส่งเงินสมทบ 2.5% สูงสุด 375 บาท
- เดือน ธันวาคม 64 ส่งเงินสมทบ 5% สูงสุด 750 บาท
วิธีการคำนวณอัตราส่งเงินสมทบ "ประกันสังคมม.33"
เงินเดือน 15,000 (เงินเดือน) x 5% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 750 (จำนวนเเงินที่ถูกหัก)
เงินเดือน 15,000 (เงินเดือน) x 2.5% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 375 (จำนวนเเงินที่ถูกหัก)
ผู้ประกันตน "ประกันสังคมม.33" จะได้สิทธิอะไรบ้าง
1. กรณีเจ็บป่วย
2. กรณีคลอดบุตร
3. กรณีทุพพลภาพ
4. กรณีเสียชีวิต
5. กรณีสงเคราะห์บุตร
6. กรณีชราภาพ
7. กรณีว่างงาน
สิทธิการรักษา "ประกันสังคมม.33" กรณีเจ็บป่วย ดังนี้
1.กรณีเจ็บป่วยปกติ
ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนที่จะเจ็บป่วยสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามสิทธิหรือเครือข่ายสถานพยาบาลนั้นได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นค่าผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน รวมทั้งค่าตรวจสุขภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพ เว้นแต่มีความประสงค์สิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ห้องพิเศษ แพทย์พิเศษ ซึ่งเหล่านี้ผู้ป่วยต้องจ่ายเพิ่มเอง
2.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน
หากเข้ารับรักษากับสถานพยาบาลที่ไม่ใช่สถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิหรือเครือข่าย กรณีผู้ประกันตนได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนสามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนด ดังนี้
สถานพยาบาลของรัฐ
ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ขอรับค่าบริการทางการแพทย์ได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งตามรายละเอียดดังนี้
- ผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
- ผู้ป่วยใน เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง
- ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
สถานพยาบาลเอกชน
ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเบิกได้ดังนี้
ผู้ป่วยนอก
เบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท
เบิกค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงเกิน 1,000 บาท
ผู้ป่วยใน
- ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่ไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท
- ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท
- ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล กรณีที่รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท
- กรณีที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท ตามระยะเวลาการผ่าตัด
- ค่าฟื้นคืนชีพรวมค่ายา และอุปกรณ์เบิกได้ไม่เกิน 4,000 บาท
- ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหรือเอกซเรย์ เบิกได้ไม่เกินรายละ 1,000 บาท