ด่วน ผู้ว่ากกท. มีคำตอบ "ธงชาติไทย" นัดชิงชนะเลิศฟุตบอลซูซูกิคัพ
ผู้ว่ากกท. ชี้แจงขั้นตอนในการแข่งขัน ฟุตบอลเอเอฟเอฟซูซูกิคัพ นัดชิงชนะเลิศ ระหว่าง "ทีมชาติไทย" กับทีมชาติอินโดนีเซีย ปม"ธงชาติไทย" ระบุ ในขั้นตอนแล้วขณะนี้ถือว่า ไทย สามารถทำได้ แต่เนื่องจากฟุตบอลรายการนี้ จัดโดยสหพันธ์กีฬา รายละเอียดในการใช้สัญลักษณ์ จึงต่างออกไป
ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย ( กกท. ) ให้สัมภาษณ์กับ "คมชัดลึก" ว่า การแสดงออก ด้วยการใช้สัญลักษณ์ "ธงชาติไทย" ในการแข่งขันกีฬาระดับสากล รวมไปถึงการแข่งขัน ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน เอเอฟเอฟซูกิคัพ 2020 นัดชิงชนะเลิศ ระหว่าง"ทีมชาติไทย" กับทีมชาติอินโดนีเซีย แข่งขันที่ประเทศสิงคโปร์ วันเสาร์ที่ 1 มกราคม
ทั้งนี้กระบวนการต่าง ๆ ในการแสดงออก ภายใต้สัญลักษณ์ของประเทศไทย "ธงชาติไทย" สามารถทำได้ภายใต้ขอบเขตของฝ่ายจัดการแข่งขัน คือ สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน หรือ เอเอฟเอฟ ที่อนุญาตให้ทั้ง 2 ชาติ คือ ไทยและ อินโดนเซีย สามารถกระทำได้ ประเด็นที่ขอขี้แจงทำความเข้าใจก็คือ กระบวนการในการคืนสิทธิให้กับประเทศไทย ในกรณีการแสดงออกต่อการให้ความร่วมมือ กับ องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก WADA วาดา หรือ " วาด้า"
กระบวนการเหล่านี้ ถือว่าประเทศไทย ได้ดำเนินการลุล่วงไปแล้ว ภายหลังจาก ได้มีการออก พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. ๒๕๕๕ พ.ศ. ๒๕๖๔ ดังนั้นจึงเท่ากับว่า ประเทศไทย สามารถแสดงออกในกิจกรรมกีฬาได้ตามปกติ ไม่มีการปิดกั้นใด ๆ โดยเฉพาะในเรื่องของ ธงชาติไทย ที่จะนำขึ้นสู่ยอดเสา อันเป็นแนวทางปฏิบัติสากล ในการแข่งขัน ที่แสดงออกให้กับประเทศที่ชนะเลิศการแข่งขัน
อย่างไรก็ตามกรณีของฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน เป็นการจัดการแข่งขันโดยสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน ดังนั้นการแสดงออกด้วยการใช้สัญลักษณ์ในประเด็น"ธงชาติไทย" จึงแตกต่างออกไป จะเห็นว่า ในการแข่งขันฟุตบอล นัดชิงชนะเลิศ ทั้ง 2 ประเทศ ต่างใช้ธงสัญลักษณ์ ที่แสดงออก
ด้วยตราสัญลักษณ์ ของทีมกีฬา คือ ประเทศไทย ที่ใช้สํญลักษณ์ คือ "ช้างศึก" บนผืนสีน้ำเงิน ส่วน อินโดนีเซีย ใช้สัญลักษณ์ของ" ครุฑ" หรือ การูด้า บนผืนสีแดง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวกีฬา ที่จัดโดยสหพันธ์ ทำหน้าที่จัดการแข่งขัน กับฝ่ายจัดการแข่งขัน เช่น โอลิมปิก , ซีเกมส์ , และเอเชี่ยนเกมส์ ที่เป็นองค์กรกีฬาสากล จึงมีความต่างกันออกไป ในแต่ละขั้นตอน ที่มีความเกี่ยวข้องกับการแสดงออกของประเทศ ที่แข่งขัน รวมไปถึงประเทศที่ชนะเลิศ
ดังนั้นประเด็น"ธงชาติไทย" กับการแข่งขันฟุตบอล เอเอฟเอฟซูซูกิคัพ จึงต่างกันออกไป ในการแสดงออก ผ่านสื่อที่จัดทำโดยฝ่ายจัดการแข่งขัน เช่นบน สกอร์บอร์ด ก่อนการแข่งขัน ที่จะมีสัญลักษณ์ของ 2 ชาติ หรือ สัญลักษณ์สมาคมกีฬานั้น ๆ ส่วนการแสดงออกนอกเหนือ ไปจากนี้ สามารถทำได้ ตามปกติ
ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลงชาติก่อนการแข่งขัน การยืนเคารพเพลงชาติในสนามกีฬา หรือ การนำธงชาติมาโบกสะบัด ส่วนการที่จะเปลี่ยนแปลงไปใช้สัญลักษณ์อื่นใด ขึ้นอยู่กับทางฝ่ายจัดการแข่งขัน ที่จะอนุญาตให้ สมาคมกีฬานั้น ๆ ดำเนินการตามเห็นสมควร
สัญลักษณ์บนสกอร์บอร์ดของ ทั้ง 2 ชาติ ที่ต่างใช้สัญลักษณ์ของสมาคมกีฬาแต่ละประเทศ โดย อินโดนีเซีย ใช้ "การูด้า" ส่วนไทย ใช้"ช้างศึก" อันเป็นกรอบปฏิบัติของการแข่งขันกีฬา ที่จัดโดยสหพันธ์
ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ การกีฬาแห่งประเทศไทย ( กกท. )
ขอขอบคุณภาพจาก เพจช้างศึก และกองประชาสัมพันธ์ การกีฬาแห่งประเทศไทย ( กกท. )