ข่าว

ตั้งเป้าปี 65 พลิก "โควิด19" เป็นโรคประจำถิ่น จับตา 1-2 เดือนอาจเกิดระบาดใหญ่

ตั้งเป้าปี 65 พลิก "โควิด19" เป็นโรคประจำถิ่น จับตา 1-2 เดือนอาจเกิดระบาดใหญ่

04 ม.ค. 2565

สธ.วางแผนปี 65 ทำให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น เร่งทำให้เชื้ออ่อน-สร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชน พร้อมเฝ้าระวัง 1-2 เดือน หากหย่อนมาตรการอาจจะเกิดการระบาดครั้งใหญ่

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค  กล่าวระหว่างการแถลงอัปเดตสถานการณ์โรค "โควิด19" และโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ว่า  สถานการณ์ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เกิน 1 ล้านคน ติดเชื้อรวม 300 ล้านคน แต่พบว่าอัตราการเสียชีวิต ป่วนรุนแรงลดลง สำหรับสถานการณ์การระบาดของ "โควิด19" ในประเทศไทย ช่วงปีใหม่มีการเดินทางกลับต่างจังหวัด โดยเฉพาะเมืองที่เป็นเมืองท่องเที่ยวทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น  เช่น ชลบุรี ที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากที่สุดในประเทศ แซงหน้ากรุงเทพมหานคร  จ.อุบลราชธานี มีรายงานผู้ติดเชื้อเพิ่ม ส่วนใหญ่เกิดจากการทำกิจกรรมรวมกันโดยไม่ใส่หน้ากากอนามัย โดยเฉพาะในร้านอาหารกึ่งผับบาร์ ที่พบว่ามีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม มีการดัดแปลงร้านเป็นบาร์ ผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่าง โดยได้มีการสั่งการให้คณะกรรมการควบคุมโรคเข้าไปตรวจสอบดูแล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดเป็นคลัสเตอร์ใหม่ ๆ 

 

สำหรับการคาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ภาพรวมของประเทศไทย ภายหลังจากที่พบการแพร่ระบาดของโอไมครอน  ที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และเป็นวงกว้าง ส่งผลให้ขณะนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยหากประชาชนหย่อนต่อการปฏิบัติตาม Universal Prevention  ตามการคาดการณ์ของกระทรวงสาธารณะสุข พบว่า อาจจะมีการกระจายตัวเพิ่มสูงมากขึ้น โอกาสการติดเชื้อเพิ่มสูง โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดการระบาดของสายพันธุ์โอไมครอน โดยในสถานที่เลวร้ายที่สุดหลังจากปีใหม่ไปแล้วประมาณ  1-2 เดือนข้างหน้า อาจจะพบติดเชื้อมากขึ้น โดยจะมีคนติดเชื้อประมาณ 30,000-40,000 คน   แต่หากฉีดวัคซีน ประชาชนให้ความร่วมมือ จะทำให้สถานการณ์การไม่รุนแรง ควบคุมการระบาดได้ ก็จะทำให้มีผู้ติดเชื้อน้อยลง 

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้มีการสรุปสถานการ์การระบาดของโควิด 19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และแนวทางในปี 2565  ซึ่ง สธ. จะทำให้ "โควิด19" กลายเป็นโรคประจำถิ่น  ดังนี้ 

  • 2020 เป็นโรคอุบัติใหม่ มีชื่อว่าสายพันธุ์อู่ฮั่น ที่มีการระบาดเร็ว โดยในช่วงแรกของการระบาดไทยใช้วิธีการควบคุมโรคแบบ Lockdown จำกัดการเดินทาง ซึ่งส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจในระยะสั้น  รวมทั้งประชาชนให้ความร่วมมือในการสวมหน้ากากอนามัย ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีวัคซีน 

 

  • 2021 เกิดการกลายพันธุ์ 4 สายพันธุ์ เบตา แกรมมา อัลฟา เดลตา โดยที่ผ่านมาเน้นความสมดุลระหว่างสุขภาพและเศรษฐกิจ จึงเริ่มประเทศ ซึ่งไทยสามรถทำได้ดี ค่อย ๆ ทยอยเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวภายใต้มาตรการการควบคุมและดูแลป้องกันโรคระบาด รวมไปถึงมีการรณรงค์ฉีดวัคซีน และจัดหาวัคซีนให้ได้ 104 ล้านโดสภายในปี 2564 ซึ่งสามารถจัดหาให้ได้ 120 ล้านโดสมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ และสามารถฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้ครบตามเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ 
  • 2022 สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขคาดหวังเอาไว้ คือ การปรับระบบการดูแลและป้องกัน "โควิด19" ให้แก่ประชาชน และทำให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น  ทำให้สามารถประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงความปกติมากที่สุด โดยมีปัจจัยที่จะทำให้โควิดกลายมาเป็นโรคประจำถิ่นนั้นมี 3 อย่าง คือ 

 

1. ทำให้เชื้ออ่อนแรงลง ไม่ทำให้คนติดเชื้อแล้วเสียชีวิต ป่วยหนัก แพร่กระจายได้มากขึ้น 
2.ประชาชนต้องมีภูมิคุ้มกัน โดยการฉีดวัคซีน ปี 2022 เป็นรูปแบบการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็ม 3 และ 4 ซึ่งมีการเตรียมความพร้อมไว้แล้ว  
3.จัดการสิ่งแวดล้อม และความเสี่ยง เตรียมคามพร้อมระบบสาธารณะสุขรองรับ มียารองรับ จะทำให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น สิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับความร่วมมือกับประชาชน 


อย่างไรก็ตามจากกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ ในประเทศอิสราเอล ติดเชื้อโควิดและไข้หวัดใหญ่พร้อมกัน นพ.โอภาส ชี้แจง ว่า โควิด-19 และไขหวัดใหญ่เป็นไวรัสเหมือนกัน แต่เป็นคนละสายพันธุ์กันไม่สามารถรวมกันได้ แต่สามารถติดเชื้อทั้งสองชนิดพร้อมกันได้แต่ค่อนข้างยาก กรณีดังกล่าวเป็นครั้งแรก อาการของ 2 โรค นี้จะมีความคล้ายกัน คือจะมีอาการ ไข้ ไอ เจ็บคอ เสียชีวิต ประชาชนอย่าตกใจ ทางการแพทย์พบว่าการติดเชื้อ 2 ชนิดในคนเดียวกันสามารถเกิดขึ้นได้ แต่สามารถป้องกัน โดยการสวมหน้ากากอนามัย มีวัคซีน เพราะการป้องกันตนเองยังเป็นมาตรการสำคัญ