เช็คพื้นที่-อัตราเตียงว่าง หากติดโควิด "โอไมครอน" แล้วอยากเข้ารักษา
กรมการแพทย์ มั่นใจระบบสาธารณสุขไทยขณะนี้พร้อมรับผู้ติดเชื้อ "โอไมครอน" กรณีระบาดหนัก เตียงรองรับผู้ติดเชื้อ "โควิด19" ยาเวชภัณฑ์มีเพียงพอ
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สำหรับความพร้อมด้านระบบสาธารณสุขนั้น ยืนยัน ว่า ขณะนี้ เตียงรักษาผู้ป่วย "โควิด19" มีเพียงพอ สามารถรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ "โอไมครอน" ทั่วประเทศได้วันละ 50,000 ราย ซึ่งสูงกว่าที่กรมควบคุมโรคเคยคาดการณ์ไว้ว่าไทยจะมีผู้ติดเชื้อสูงประมาณ 30,000 ราย หลังปีใหม่
โดยข้อมูลสถานการณ์เตียงกรุงเทพฯ และปริมณฑลรวมทุกประเภท มีรายละเอียด ดังนี้
- เตียงไอซียู ห้องความดันลบ เตียงทั้งหมด 232 เตียง ครองเตียง 65 เตียง เตียงว่าง 167 เตียง อัตราของเตียงคิดเป็น 28 %
- ห้องดัดแปลงความดันลบ 1,184 เตียง ครองเตียง 456 เตียง เตียงว่าง 728 เตียง อัตราครองเตียง คิดเป็น 38.5 %
- ห้องไอซียูรวม 470 เตียง ครองเตียง 30 เตียง เตียงว่าง 440 เตียง อัตราครองเตียง คิดเป็น 6.4%
- ห้องแยกโรค 3,964 เตียง ครองเตียง 929 เตียง เตียงว่าง 3,035 เตียง อัตราครองเตียง คิดเป็น 23.4%
- ห้องสามัญ 8,223 เตียง ครองเตียง 1,952 เตียง เตียงว่าง 6,271 เตียง อัตราครองเตียง คิดเป็น 23.7%
- ฮอลพิเทล 16,084 เตียง ครองเตียง 2,278 เตียง เตียงว่าง เหลือ 13,806 เตียง อัตราครองเตียง คิดเป็น ร้อยละร้อยละ14.2
- เตียงสนาม 1,544เตียง ครองเตียง 163 เตียง เตียงว่าง 1,381 เตียง อัตราครองเตียง คิดเป็น 10.6%
- ทำให้ภาพรวมการครองเตียงผู้ป่วยโควิด ในกรุงเทพฯและปริมณฑลอยู่ที่ 18.5 %
- กรุงเทพมหานคร มีเตียงทั้งหมด 2,712 เตียง โดยมีอัตราครองเตียง 268 เตียง ทำให้มีเตียงว่างอีก2,444 เตียง ซึ่งศักยภาพของกรุงเทพมหานครสามารถรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ได้ถึง 8,000 รายต่อวัน
ส่วนความพร้อมเตียงที่รองรับผู้ป่วยอาการรุนแรง มีเตียง 11,000 เตียง เป็นอาการป่วยระดับ 2 มี 6,000 เตียง ระดับ 3 มี 5,000 เตียง ซึ่งยืนยันว่า หน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์และหน่วยบริการสถานพยาบาลอื่นๆ มีเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19 เพียงพอในขณะนี้
นพ.สมศักดิ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ได้มีการหารือและสั่งการในพื้นที่ต่างจังหวัดเตรียมระบบ Home Isolation และ Community Isolation ในการรองรับผู้ป่วยกลุ่มไม่มีอาการ เนื่องจากตามข้อมูลผู้ติดเชื้อโอมิครอน 100 รายแรกในประเทศไทย พบเป็นผู้ป่วยไม่มีอาการ 48 % มีอาการเล็กน้อย 41% และอยู่ระหว่างสังเกตอาการ 11% ซึ่งอาการทั้งหมดคล้ายกับไข้หวัดจึงแนะนำประชนหากมีอาการดังกล่าวอย่างใด อย่างหนึ่ง ให้ตรวจหาเชื้อด้วยATK และหากพบผลตรวจ ATK เป็นบวก
สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถโทรประสาน สายด่วน สปสปช. เบอร์ 1330 ในการประเมินและคัดกรองอาการเพื่อเข้าสู่ระบบการรักษา โดยทาง สปสช.จะประสานงานกลับหาผู้ป่วยไม่เกิน 6 ชั่วโมง แต่หากมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงให้โทรหาสายด่วน 1669
กรณีผู้ติดเชื้อ "โควิด19" ในต่างจังหวัด กระทรวงสาธารณสุขได้จัดเตรียมสายด่วนในแต่ละจังหวัด เพื่อการประสานรับผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองด้วยตนเอง ทั้งนี้การระบาดโควิดรอบนี้ อาจจะพบเด็กเล็กติดเชื้อโควิดสูงขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งได้ประสานกรุงเทพมหานคร ขอให้มีการจัดตั้ง Community Isolation ในทุกเขต อย่างน้อยเขตละ 1 แห่ง ซึ่งเตรียมเตียงไว้ 50 เตียงต่อแห่ง และต้องมีพื้นที่ลานโล่ง สำหรับกิจกรรมของเด็กตามช่วงวัย ส่วนการรักษาโควิดในเด็กเล็ก ได้สั่งการทุกโรงพยาบาลทเตรียมยาน้ำฟาวิพิราเวียร์ ไว้รักษากลุ่มเด็กโดยเฉพาะ ตอนนี้ทุกโรงพยาบาลสามารถผลิตเองได้แล้ว
นอกจากนี้ ได้มีการหารือกับกทม.เตรียม Community Isolation รองรับแรงงานต่างด้าวที่ติดเชื้อโควิด โดยกำหนดให้ 1 เขต มี1แห่ง ประมาณ 100 เตียง ส่วนแนวทางการรักษาโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนนั้นจะใช้การรักษา เหมือนกับโควิดสายพันธุ์อื่นที่ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์เป็นหลัก เนื่องจากยาชนิดอื่น ๆ ยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการอยู่