ข่าว

ประกาศยกระดับเตือนภัย "โควิด19" ระดับ4 ปชช. งดไปสถานที่เสี่ยง-ชะลอเดินทาง

ประกาศยกระดับเตือนภัย "โควิด19" ระดับ4 ปชช. งดไปสถานที่เสี่ยง-ชะลอเดินทาง

06 ม.ค. 2565

สธ.ประกาศยกระดับเตือนภัย " โควิด19" ระดับ 4 ประชาชนควรงดไปสถานที่เสี่ยง-ชะลอเดินทางข้ามจังหวัด-ทำงานที่บ้าน 50-80% ดูรายละเอียดแนวทางปฏิบัติตัวที่นี่

นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวระหว่างการแถลงสถานการณ์การระบาดของ "โควิด19"  และสายพันธุ์โอไมครอน ว่า จากการสถานการณ์การระบาดที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากยิ่งขึ้น สธ.จึงจำเป็นต้องยกระดับการเตือนภัยเป็นระดับ 4 จากทั้งหมด 5 ระดับ โดยที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการสาธารณสุขมีมติให้ยกระดับการเตือนภัยเป็นระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับการเตือนภัย โดยสำหรับการเตือนภัยระดับ 4 นั้น ประชาชนควรงดเดินทางไปสถานที่เสี่ยง ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด  งดทำกิจกรรมร่วมกลุ่ม และให้ดำเนินการทำงานที่บ้าน (Work From Home) 50-80 % 
สำหรับรายละเอียด ระดับเตือนภัยป้องกันโควิด-19 ของประเทศไทย จะมีทั้งหมด 5 ระดับ คือ 

ระดับ 1 ใช้ชีวิตได้ปกติ แบบ COVID-19 Free Setting ประชาชนสามารถ โดยสารขนส่งสาธารณะได้ การเดินทางเข้าประเทศโดยปกติ  

 

ระดับ 2 เร่งเฝ้าระวัง คัดกรอง เลี่ยงกิจกรรมรวมกลุ่ม 1,000 คนขึ้นไป  งดเข้าสถานบันเทิง เลี่ยงเข้าสถานที่ปิด/แออัด เลี่ยงร่วมกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มจำนวนมาก เลี่ยงโดยสารขนส่งสาธารณะทุกประเภท

 ระดับ 4 ปิดสถานที่เสี่ยง ทำงานจากที่บ้าน 50 – 80% งดไปรับประทานร่วมกัน  งดดื่มสุราในร้าน งดเข้าสถานที่เสี่ยงทุกประเภท เลี่ยงเข้าใกล้ผู้อื่นนอกบ้าน คัดกรองก่อนเดินทาง  ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ ใช้ระบบกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศ

 

ระดับ 5 จำกัดการเดินทางและกิจกรรมต่างๆ ทุกคนงดออกนอกบ้าน หากจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิต เช่น ตรวจ รักษา ซื้ออาหาร ของใช้ งดรวมกลุ่มมากกว่า 5 คน งดใกล้ชิดกันในบ้าน  รวมถึงเคอร์ฟิว ซึ่งจะมีการกำหนดมาตตรการตามระดับเตือนภัยทั้ง 5 ระดับด้วย

ประกาศยกระดับเตือนภัย \"โควิด19\" ระดับ4 ปชช. งดไปสถานที่เสี่ยง-ชะลอเดินทาง

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า เน้นย้ำ ให้ประชาชนตรวจ ATK หากมีผลเป็นบวกให้ประสาน ไปที่สายด่วนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โทร. 1330 กด 14 เพื่อลงทะเบียนกักตัวที่บ้าน ตามมาตรการ Home Isolation หรือไปสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อให้แพทย์ พยาบาลวินิจฉัยทันที หรือหากพบว่ามีอาการเหมือนไข้หวัดให้ดำเนินการตรวจหาเชื้อทันที เนื่องจากอาการของโอไมครอนมีความคล้ายเคียงกับอาการไข้หวัดค่อนข้างมาก  

สำหรับเชื้อ "โควิด19" สายพันธุ์ "โอไมครอน"  การป้องกันไมได้แตกต่างจากสายพันธุ์เดลตา มากนัก เพราะฉะนั้น มาตรการที่ทำมาเดิมสามารถใช้ได้ แต่สิ่งที่แตกต่าง คือ โอไมครอน จะก่อโรคน้อยกว่า ซึ่งตอนนี้ข้อมูลค่อนข้างชัด ขณะที่อาการจะคล้ายกับไข้หวัดมาก คือ มีอาการเจ็บคอ ไอ ไม่มีไข้  หรือมีไข้น้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา เพราะฉะนั้น ประชาชนที่มีอาการเหล่านี้ ให้สงสัยไว้ว่าอาจจะเป็น "โควิด19" สายพันธุ์ "โอไมครอน" และไม่ต้องกังวลว่าหากติดเชื้อแล้วจะเป็นสายพันธุ์อะไร  เนื่องจากสายพันธุ์โอมิครอน ความรุนแรงจะมีน้อยด้วยซ้ำ แต่ในเรื่องป้องกันโรค การรักษา ไม่ได้แตกต่างกัน การที่เราตรวจหาสายพันธุ์โอไมครอน ก็เพื่อใช้ในการเฝ้าการระบาดในเชิงระบาดวิทยา และช่วยในการติดตามอาการของโรค เพื่อปรับมาตรการต่าง ๆ มากกว่า