ข่าว

ชป. จับมือญี่ปุ่น ปรับปรุงระบบ "การบริหารจัดการน้ำ" เขื่อนป่าสักฯ

ชป. จับมือญี่ปุ่น ปรับปรุงระบบ "การบริหารจัดการน้ำ" เขื่อนป่าสักฯ

07 ม.ค. 2565

ชป. จับมือญี่ปุ่นปรับปรุงระบบ "การบริหารจัดการน้ำ" เขื่อนป่าสักฯ ด้วยระบบเรดาร์ Solid-State Polarimetric X-band

 6 ม.ค. 65 ที่กรมชลประทาน นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MoC) ระหว่างกรมชลประทานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่นว่าด้วยการปรับปรุงระบบ  "การบริหารจัดการน้ำ" ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ด้วยระบบเรดาร์ Solid-State Polarimetric X-band ซึ่งมีนายโนซากิ มาซาโตชิ อธิบดีกรมวิทยุ สำนักงานสื่อสารโทรคมนาคม กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ลงนามฝ่ายญี่ปุ่น

 

โดยมี ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา นายโฮโซโนะ เคสุเกะ เลขานุการเอกด้านดิจิทัล สารสนเทศ เทคโนโลยีการสื่อสารวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย นายสุรัช ธนูศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 10 และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี

ชป. จับมือญี่ปุ่น ปรับปรุงระบบ \"การบริหารจัดการน้ำ\" เขื่อนป่าสักฯ

ชป. จับมือญี่ปุ่น ปรับปรุงระบบ \"การบริหารจัดการน้ำ\" เขื่อนป่าสักฯ

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การลงนาม MoC ในวันนี้เป็นการริเริ่มความร่วมมือระหว่างกรมชลประทานกับกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมมือกันกำหนดแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบ "การบริหารจัดการน้ำ" ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี-สระบุรี ด้วยระบบเรดาร์ Solid-State Polarimetric X-band ด้วยการปรับปรุงการบริหารจัดการอุทกภัยและ "การบริหารจัดการน้ำ" ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ชป. จับมือญี่ปุ่น ปรับปรุงระบบ \"การบริหารจัดการน้ำ\" เขื่อนป่าสักฯ

อาทิ การหาความสัมพันธ์ของน้ำฝน-น้ำท่า การประเมินปริมาณน้ำที่จะไหลลงอ่างเก็บน้ำฯซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและทันต่อสถานการณ์ ตอบสนองต่อภารกิจของกรมชลประทาน รวมทั้งสนับสนุนให้กรมชลประทานนำระบบดังกล่าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในแผนการป้องกันภัยพิบัติของประเทศไทยต่อไปในอนาคต
 

สำหรับระบบเรดาร์ X-Band จะมีการส่งข้อมูลเป็นระบบ Real time มีความละเอียดสูงในการประเมินปริมาณฝน ส่งสัญญาณด้วยระบบ Dual polarization ส่งคลื่นออกไปได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน สามารถเพิ่มศักยภาพในการวัดปริมาณฝนได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ใช้ประเมินปริมาณน้ำที่จะไหลลงอ่างเก็บน้ำ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทันต่อเหตุการณ์ ปัจจุบัน สถานีตรวจวัดอากาศดังกล่าวได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จกว่า 80% โดยรอการติดตั้งเรดาร์ตรวจอากาศซึ่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น และติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมใช้งานภายในฤดูฝนปี 2565 นี้