ข่าว

ราชกิจจาฯออกประกาศสธ.ให้ผู้แพ้วัคซีนโควิด ต้องได้รับการรักษากรณีฉุกเฉิน

ราชกิจจาฯออกประกาศสธ.ให้ผู้แพ้วัคซีนโควิด ต้องได้รับการรักษากรณีฉุกเฉิน

07 ม.ค. 2565

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 ให้ผู้ป่วยที่แพ้การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จัดเข้าอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาฉุกเฉิน 

7 ม.ค.65  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) (ฉบับที่ 3)  โดยเป็นการแก้ไขประกาศเพิ่มเติมให้ ผู้ป่วยที่แพ้การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จัดเข้าอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาฉุกเฉิน 

 

มีเนื้อหาว่า   เนื่องจากรัฐได้กำหนดมาตรการในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19) โดยการฉีดวัคซีนโควิด 19 จากสถานพยาบาลที่ภาครัฐก าหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงกำหนดให้สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสามารถ ให้บริการฉีดวัคซีนทางเลือก โดยผู้รับบริการเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งหากบุคคลผู้รับการฉีดวัคซีน เกิดอาการแพ้วัคซีนหรืออาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการฉีดวัคซีนโควิด 19 บุคคลนั้นย่อมมีความจำเป็น ต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินจากสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

 

จึงเป็นการสมควร แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมาย ว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) (ฉบับที่ 2)

ราชกิจจาฯออกประกาศสธ.ให้ผู้แพ้วัคซีนโควิด ต้องได้รับการรักษากรณีฉุกเฉิน

 

ราชกิจจาฯออกประกาศสธ.ให้ผู้แพ้วัคซีนโควิด ต้องได้รับการรักษากรณีฉุกเฉิน

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ และมาตรา 33/1 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ สถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำ ของคณะกรรมการสถานพยาบาล จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน โรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 3)"

 

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ก าหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน โรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) (ฉบับที่ 2) และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 

"ข้อ 3 ให้ผู้ป่วยดังต่อไปนี้เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน จากสถานพยาบาลตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 (1) ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ (2) บุคคลกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) โดยการฉีดวัคซีนตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม การป้องกันและขจัดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) จากรัฐ หรือเกิดอาการแพ้วัคซีนหรืออาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการฉีดวัคซีน (3) บุคคลกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) โดยการฉีดวัคซีนทางเลือกหรือตัวเลือก ที่ผู้ป่วย หรือบุคคลอื่นรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง และเกิดอาการแพ้วัคซีนหรืออาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการฉีดวัคซีน"

 

ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564

 

อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

 

คลิกอ่านประกาศฉบับเต็ม>>>

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ (Coronavirus Disease ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)) (ฉบับที่ ๓)