ข่าว

"ดีอีเดส" เผย "เฟคนิวส์" ต้นปีว่อนแล้ว 20 ข่าว ส่งดำเนิคดี พรบ.คอมฯ กว่า 50 URL

"ดีอีเดส" เผย "เฟคนิวส์" ต้นปีว่อนแล้ว 20 ข่าว ส่งดำเนิคดี พรบ.คอมฯ กว่า 50 URL

08 ม.ค. 2565

"ดีอีเอส" พบสัปดาห์แรกของปี มี "เฟคนิวส์" 20 เรื่อง “ชัยวุฒิ” ย้ำยังไม่มีล็อกดาวน์ ไม่มีเคอร์ฟิว หลังพบข่าวเก่าว่อน เผยต้นปี เอาผิด พรบ.คอมฯแล้ว 50 ยูอาร์แอล

8 ม.ค.2565 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส เปิดเผยสถานการณ์ข่าวปลอม เฟคนิวส์  ระหว่างวันที่ 1-7 มกราคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัปดาห์แรกของปี 2565 พบข่าวปลอม 20 เรื่อง  และข่าวบิดเบือน 1 เรื่อง จาก เรื่องที่มีการส่งตรวจสอบ 60 เรื่อง  ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพ และนโยบายของรัฐ  โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ขณะนี้อยู่ในช่วงเฝ้าระวังหลังเทศกาลปีใหม่ทำให้มีการแชร์ข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก

\"ดีอีเดส\" เผย \"เฟคนิวส์\" ต้นปีว่อนแล้ว 20 ข่าว ส่งดำเนิคดี พรบ.คอมฯ กว่า 50 URL

 

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส แสดงความเป็นห่วงประชาชนที่รับข้อมูลข่าวสารในช่วงนี้ขอให้ตรวจสอบข้อมูลจากหลาย ๆ ด้าน ทั้งจากหน่วยงานรัฐโดยตรงหรือสื่อมวลชนที่มีความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะช่วงนี้ มีการนำข่าวเก่าที่เกี่ยวกับมาตรการควบคุมโควิด-19 ในช่วงที่มีการระบาดรุนแรง มาเผยแพร่ซ้ำกันมาก ทั้งเรื่องการล็อกดาวน์ ห้ามเดินทางข้ามจังหวัด หรือการเคอร์ฟิว  จนทำให้ประชาชนที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงตื่นตระหนก ทั้งที่มาตรการตอนนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์ ควบคุมการแพร่บาดอย่างใกล้ชิด และบังคับใช้มาตรการต่างๆให้กระทบกับประชาชนน้อยที่สุด ยืนยันว่ายังไม่มีการล็อกดาวน์ หรือประกาศเคอร์ฟิว ตามที่มีการนำข่าวเก่ามาเผยแพร่ซ้ำกัน จึงขอให้ประชาชนตรวจสอบให้ชัดเจน โดยเฉพาะภาพข่าว หรือ อินโฟกราฟฟิกข่าว ที่ไม่ได้ระบุวันที่และเวลาไว้ จนสร้างความสับสนให้กับประชาชน
 

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส ยังเปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 27 ธ.ค.64 – 2 ม.ค.65 พบว่ามีการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จำนวน 19 ยูอาร์แอล แบ่งเป็น เฟซบุ๊ก 11 ยูอาร์แอล ยูทูบ 6 ยูอาร์แอล และทวิตเตอร์ 2 ยูอาร์แอล
 

 

ซึ่งการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ดีอีเอส ได้ประสานหน่วยงานเจ้าของเรื่องมาร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดแล้ว โดยในช่วงสัปดาห์ดังกล่าว ศาลสั่งปิดกั้นและลบเนื้อหาที่ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ แล้ว 2 คำสั่ง จำนวน 50 ยูอาร์แอล ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคง