ยอดยังพุ่ง สธ.ย้ำต้องตรวจ "ATK" แม้ไม่ชี้ชัด "โอไมครอน" หวั่นสาธารณสุขล่ม
ย้ำประชาชนอีก ไม่มีไม่มี "ATK"ยี่ห้อไหนตรวจระบุสายพันธุ์ "โอไมครอน" หรือสายพันธุ์อื่นได้ เป็นการตรวจหาเชื้อเบื้องต้นเท่านั้น สธ.เผยแนวทางต่อจากนี้เฝ้าชะลอการระบาด ป้องกันระบบสาธารณสุขรับคนป่วยไม่ไหว
กระทรวงสาธารณสุขแถลง สถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แผนการรับมือการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เริ่มต้นในเดือนมกราคม รวมไปถึงแนวทางการตรวจโควิด-19 ด้วย "ATK "
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาประชาชนเกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับการใช้ชุดตรวจ "ATK" เพื่อตรวจหาการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเองว่ามีประสิทธิสามารถตรวจได้อย่างแม่นยำ และแต่ละยี่ห้อมีความแม่นยำแตกต่างกันอย่างไร โดยกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ข้อชี้แจงว่า ชุดตรวจ "ATK" ทั้ง 8 ยี่ห้อที่ขายตามท้องตลอดนั้น สามารถตรวจเจอเชื้อโควิด-19ได้ แต่ย้ำว่าชุดตรวจ "ATK" ไม่สามารถตรวจแล้วระบุสายพันธุ์ของโควิด-19ได้ไม่ว่าจะเป็นการระบุสายพันธุ์โอไมครอนหรือสายพันธุ์อื่น ๆ เพราะการตรวจ "ATK" เป็นเพียงการคัดกรองการติดเชื้อเบื้องต้นเท่านั้น และเป็นการลดการใช้ทรัพยากรณ์การตรวจแบบ RT-PCR เนื่องจากการตรวจแบบ RT-PCR นั้นมีข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลาในการรายงานผล ราคาที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุด "ATK" จึงเป็นการคัดกรองตัวเองในเบื้องต้น และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อ โดยหากต้องการจะตรวจหาสายพันธุ์จะต้องทำการตรวจหาสายพันธุกรรมเฉพาะ ซึ่งเป็นเทคนิคทางการแพทย์ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ATK ที่ผ่านการอนุมัติจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นเพียงการคัดกรองตรวจหาการติดเชื้อเบื้องต้นเท่านั้น แต่ไม่สามารถบอกถึงสายพันธุ์ได้ว่าเป็นสายพันธุ์อะไร แต่ไม่ว่าจะติดเชื้อสายพันธุ์ไหนก็ตรวจเจอ แม้ไม่ได้ระบุสายพันธุ์ ทั้งนี้ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาออกมาว่าชุดตรวจของบริษัทไหนดีกว่ากัน
ด้าน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดทั่วโลกแม้ว่าจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น แต่พบว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง ประเทศที่ยังติดเชื้อมากที่สุดยังเป็นอเมริกา สำหรับประเทศไทย 7,926 ราย เสียชีวิต 13 ราย แม้ว่าจะมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่อัตราการตายลดลง ซึ่งชี้เห็นว่าโรคนี้อาจจะติดง่าย แต่ลดความรุนแรงลงไปมาก สำหรับผู้เสียชีวิตยังเป็นกลุ่มโรคประจำตัว สธ.มีการคาดการณ์เอาไว้ว่า หากสามารถเริ่มต้นควบคุมโรคได้ดีการระยาดจะอยู่ภาวะต่ำ แต่หากคุมไม่ได้จำนวนผู้ติดเชื้อจะสูงมากยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจำเป็นต้องขอความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ส่วนการคาดการณ์การเสียชีวิตหากจัดการไม่มีจะมีปริมาณการเสียชีวิตมากขึ้น แต่ปัจจุบันอัตราการตายในประเทศไทยลดลง
อย่างไรก็ตามการระบาดระลอกใหม่ เป็นการระบาดของโควิดกกลายพันธุ์ที่มีความรุนแรงน้อย กรมควบคุมโรคจึง พิจารณาแนวทางให้การระบาดครั้งนี้กลายเป็นโรคประจำถิ่น ด้วยแนวทางการขอความร่วมมือให้ประชาชนฉีดวัคซีน บริหารจัดการการระบาด ยุทธศาตร์ชะลอการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ช้าที่สุด เพื่อป้องกันระบบสาธารณสุขล่ม โรงพยาบาลรองรับผู้ป่วยไม่เพียงพอ ดังนั้นการชะลอการระบาดจึงเป็นแนวทางที่จะช่วยทำให้ระบบสาธารณสุขสามารถรับมือกับการระบาดในครั้งนี้ได้ โดยมาตรการในการชะลอการระบาดนั้น สธ.จะดำเนินการดังนี้
- มาตรการด้านสาธารณสุข แนวทางชะลอการระบาด เพื่อให้ระบบสธ.รองรับได้ ด้วยการเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน ซึ่งวัคซีนที่จัดหามาเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการคัดกรอง ATK และการติดตามเฝ้าระวังการกลายพันธุ์
- มาตรการด้านการแพทย์ เป็นมาตรการที่สำคัญ มีการใช้ระบบHome Isolasion Community Isolation มากยิ่งขึ้นเนื่องจากโรคไม่ได้รุนแรง หากอาการหนักจึงจะรับการดูแลที่ รพ. โดยสธ.จะสนับสนุนยา อุปกรณ์เบื้องต้น รวมไปถึงการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผ่านระบบสายด่วน 1330 เพื่อรองรับ ขณะนี้ได้สั่งการมีการพัฒนาทั่วทุกจังหวัดแล้ว
- มาตรการทางสังคม ประชาชนให้การป้องกันตัวเองขั้นสูงสุด รักษาระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา สถานบริการมีความปลอดความเสี่ยงโควิด
- มาตรการการสนับสนุน ปีนี้เข้าสู่โรคประจำถิ่นและสามารถดูแลและบริหารจัดการการระบาดได้อย่างดี ภายใต้มาตรการ VUCA