ข่าว

11 ม.ค. 2565

โฆษกรัฐบาล แจง "โรคASF" มีมากว่า100 ปีไม่มีวัคซีน เผยข่าวดี “กรมปศุสัตว์-จุฬาฯ” ร่วมวิจัยผลิตวัคซีน คาดปี2565 จะประกาศใช้เป็นประเทศแรกในโลก ขณะที่ครม.เคาะงบกลาง575ล้านบาท จ่ายชดเชยค่าทำลายหมูจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ในพื้นที่56 จังหวัด มีที่ไหนบ้าง เช็คที่นี่

วันที่ 11 ม.ค. 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. อนุมัติงบประมาณประจำปี 2565 (งบกลาง) 574.11 ล้านบาท

 

สำหรับค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า (African swine fever : ASF) เป็นค่าใช้จ่ายราคาสุกร หรือหมูที่ถูกทำลาย ตั้งแต่ 23 มี.ค.-15 ต.ค. 2564

 

มีเกษตรกรที่กรมปศุสัตว์ได้ทำลายสุกรไปแล้วและยังไม่ได้รับเงินค่าชดเชย มีเกษตรกรจำนวน 4,941 ราย และสุกร 159,453 ตัว ในพื้นที่ 56 จังหวัดทั่วประเทศ ประกอบด้วย

 

ภาคกลาง 10 จังหวัด

ปทุมธานี

อ่างทอง

ชัยนาท

สิงห์บุรี

ลพบุรี

พระนครศรีอยุธยา

สระบุรี

อุทัยธานี

นครสวรรค์

สุพรรณบุรี

 

ภาคตะวันออก 1 จังหวัด

สระแก้ว

ภาคตะวันตก 3 จังหวัด

เพชรบุรี

กาญจนบุรี

ประจวบคีรีขันธ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด

นครราชสีมา

บุรีรัมย์

สุรินทร์

ชัยภูมิ

ศรีสะเกษ

อุบลราชธานี

เลย

หนองบัวลำภู

มหาสารคาม

กาฬสินธุ์

ขอนแก่น

อำนาจเจริญ

หนองคาย

บึงกาฬ

ร้อยเอ็ด

นครพนม

อุดรธานี

มุกดาหาร

สกลนคร

ยโสธร

ภาคเหนือ 12 จังหวัด

เชียงใหม่

ลำปาง

แม่ฮ่องสอน

น่าน

พะเยา

แพร่

อุตรดิตถ์

สุโขทัย

พิษณุโลก

ตาก

กำแพงเพชร

เพชรบูรณ์

ภาคใต้ 10 จังหวัด

สุราษฎร์ธานี

ภูเก็ต

ตรัง

กระบี่

ระนอง

นครศรีธรรมราช

ชุมพร

พัทลุง

พังงา

และสงขลา

นายธนกร กล่าวอีกว่า ส่วนแนวทางในการรับการจัดสรร ชดใช้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ซึ่งมีการพิจารณาจากคณะกรรมการประเมินตามค่าชดใช้ราคาสัตว์ที่ถูกทําลายอันเนื่องจากเป็นโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด หรือสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด พ.ศ. 2560

 

ทั้งนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลมอบหมายกรมปศุสัตว์ดำเนินการระบบเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยง กำกับดูแลให้เกษตรกร ตลอดจนการป้องกันการควบคุมโรค เช่น มีรั้วรอบฟาร์ม มีจุดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นต้น

 

“นายกรัฐมนตรีย้ำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการตรวจสอบ สำรวจโรคตามหลักวิชาการและมาตรฐานสากล พร้อมชี้แจงให้ประชาชนอย่างโปร่งใส ที่สำคัญต้องลดความเดือดร้อนของเกษตรกรเจ้าของฟาร์ม ผู้ค้ารายย่อย โดยเฉพาะผู้บริโภคในขณะนี้ให้มากที่สุด”นายธนกร กล่าว

 

นายธนกร กล่าวอีกว่า โรคระบาด ASF นั้นมีมากว่า 100 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันและยาที่รักษาโรคได้ ในส่วนของประเทศไทยกรมปศุสัตว์ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำวิจัยในการพัฒนาวัคซีน ขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้ว 60-70% คาดว่าจะสามารถผลิตวัคซีนใช้ได้ในปี2565นี้ และจะเป็นประเทศแรกของโลก