ข่าว

"กัญชา" หมอธีระวัฒน์แนะดูด้วยตา ช่วยคนรายได้น้อยใช้บรรเทาป่วยมานาน

"กัญชา" หมอธีระวัฒน์แนะดูด้วยตา ช่วยคนรายได้น้อยใช้บรรเทาป่วยมานาน

14 ม.ค. 2565

"กัญชา" หมอธีระวัฒน์เผยสะท้อนความนิ่งเฉย และความเมตตา แนะให้ลงพื้นที่ดูด้วยตา คนรายได้น้อยใช้ใบรักษาอาการ บรรเทาความเจ็บป่วยมานาน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ถึงกรณีการปลดล็อก "กัญชา" เพื่อเป็นยารักษาให้แก่ประชาชนที่เจ็บ ป่วย ให้สามารถบรรเทาอาการ และช่วยเหลือตัวเองได้ โดยระบุว่า   เรื่องของกัญชาสะท้อน ความนิ่งเฉย ความเสื่อมถอย ของน้ำใจ และความเมตตา


จากท่าน ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ สรุปให้เราฟังว่า...
คนที่อยู่ในวงการกฎหมาย (และเมื่อหมอได้ฟังแล้วก็พบว่าคนที่อยู่ในทุกวงการ ไม่เว้นแม้กระทั่งแพทย์) จะแบ่งออกได้เป็น 3 เผ่า

เผ่าที่หนึ่ง ทำตามตัวหนังสือเหมือนมีฝา ให้หลังพิง สามารถแสดงอำนาจบริหารอำนาจได้ตามประสงค์เพราะมีตัว หนังสืออยู่ในมือ สิ่งที่ปรากฏเห็นตรงหน้าไม่มีผลต่อการตัดสินใจ ความนึกคิด นี่คือเผ่า WHAT IS...

 

เผ่าที่สอง เมื่อปฏิบัติไปแล้ว เริ่มตระหนัก ว่าผลของการปฏิบัตินั้นนำมาสู่อะไร เกิดอะไรขึ้น โดยเฉพาะในทางที่ไม่ถูกไม่ควร เกิดผลร้ายกระทบทั้งในระดับบุคคลและในระดับสังคมประเทศเผ่านี้ WHAT HAPPENED
เผ่าที่สาม นอกจากตระหนักว่าเกิดอะไรขึ้นแล้ว และผลที่เกิดขึ้นเป็นไปในทางลบ ดังนั้น จะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ของกระบวนการตัวหนังสือ กฎหมาย การประกาศข้อแนะนำในการประพฤติปฏิบัติ WHAT SHOULD BE

ดังนั้น ถ้าเราพิจารณาถึงที่อาจารย์คนึงนิจได้กล่าวไว้ เราจะพบว่า ถ้าคนไทยทั้งประเทศกลับกลายเป็นเผ่าที่สองและเผ่าที่สาม และสามารถรวมพลังปรับเปลี่ยนสังคมปรับปรุงประเทศได้
ประเทศกูจะมี...แต่ความเจริญ ความสุข ความมั่งคั่งน้ำใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ทำไมเรื่อง "กัญชา" สะท้อนให้เห็นถึงความยึดติดในเผ่าที่หนึ่งของบุคคลและหน่วยงานที่มีอำนาจ ทั้งนี้ในบางท่านในอาชีพต่างๆ แสดงความเห็นในวงกว้าง และอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งโดยไม่ทราบเนื้อหาที่ถ่องแท้ โดยที่กรมการแพทย์ ได้มีการเตรียมการมาสองปี และจัดอบรมเป็นพันคนแล้ว
นักกฎหมาย แสดงความเป็นห่วงว่าพืชกัญชาที่มาเป็นยาจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นสายพันธุ์นั้น สายพันธุ์นี้ เอาส่วนไหนมา ดอกก็มี ต้นก็ได้ ใบ ราก เมล็ด แล้วจะเรียกว่ายาได้อย่างไร จะปล่อยให้ออกมาได้อย่างไร ต้องสั่งเข้าดีกว่าเป็นมาตรฐาน ควบคุมได้หมดจด

 

แพทย์แผนปัจจุบัน ห่วงว่าจะรู้ว่ามีประโยชน์ ได้อย่างไร ในเมื่อตำราก็ดีหรือวารสารที่ตีพิมพ์
โดยเฉพาะข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์อภิธาน (meta-analysis) ซึ่งใช้ดูผลตามสถิติ ก็บอกว่าใช้ได้สามสี่โรคเท่านั้น จะเอาไปใช้อย่างอื่นได้อย่างไร ไม่สนใจรายงานเป็นรายๆ เป็นกลุ่ม ไม่สนใจผู้ป่วยคนไทยที่ได้รับการรักษาด้วยกัญชาพื้นบ้านแล้วอยู่ได้ด้วยความสุข บรรเทาอาการทรมาน เริ่มช่วยตนเองได้ ไม่เป็นภาระ แทนที่จะลงไปหาความจริงให้เห็นกับตา เกิดอะไรขึ้น
และพร้อมกันนั้น แพทย์ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ด้วย แสดงความเป็นห่วงว่าแล้วจะอธิบายกลไกทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร?

ทั้งๆที่แม้ว่าคนไข้ที่เป็นโรคที่ไม่มีทางรักษาจะดีขึ้นจาก "กัญชา" ก็ตาม จะรอดจากกัญชาก็ตาม แต่อธิบายไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็ไม่ควรจะใช้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมไม่ถูกต้องตามกระบวนการที่อธิบายได้ด้วย วิทยาศาสตร์
แต่โดยเนื้อแท้พืชกัญชาที่เป็นยา เป็นทั้งต้นรากใบดอก ล้วนมีส่วนประกอบของสารต่างๆไม่เท่ากันและเป็นที่มาของการใช้ในสัดส่วนต่างๆกัน ตามตำราของแพทย์แผนไทยหรือที่จารึกไว้แต่โบราณกาล
ลักษณะของการใช้ที่ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เรียกว่าใช้ทุกอย่างที่มาจากพืช full spectrum เป็นการออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของการสร้างสารกัญชาในร่างกายอีกทอด โดยผ่านตัวรับหลากหลายที่อยู่ในมนุษย์ตั้งแต่หัวจดเท้าทุกเซลล์และทุกอวัยวะ และเลือกที่จะทำงานตามความเหมาะสม และสั่งงานให้มีการประสานกันของระบบต่างๆ

การวิเคราะห์วิจัยด้วยแบบแผนปัจจุบันยืนยึดถือตามหลักตายตัวว่า จะต้องใช้อะไร จากที่ใด ปริมาณแค่ไหน ในเวลาเท่าไหร่ และเปรียบเทียบผล แต่ไม่ได้ตระหนักถึงธรรมชาติของพืชกัญชาที่นำมาใช้เป็นยาและการตอบสนองซึ่งต่างกันในแต่ละคน แม้ว่าจะเป็นโรคเดียวกัน
คำอธิบายเบื้องลึกทางวิทยาศาสตร์จนปัจจุบันมีมากมาย โดยเป็นยอดปรารถนาของบริษัทยา และขอจดสิทธิบัตรพืชกัญชาในประเทศทั้งหมด

 

แต่แท้จริงแล้วการใช้ในคนป่วย ไม่ได้ยากเกินไปที่จะใช้ และประชาชนคนทั่วไปก็มีการใช้มาเนิ่นนานด้วยการปรับขนาดขึ้นลงของตนเอง และสามารถอธิบายได้ตามหลักการของการออก ฤทธิ์กัญชาในสมัยใหม่ โดยที่คนป่วยเหล่านี้มักเป็นคนยากไร้ ยากจนที่สุดในประเทศหรือที่เข้าไม่ถึงการรักษาหรูหรา หรือไม่สามารถเข้าไปรอรับการรักษาในโรงพยาบาลซึ่งแออัด และ หมอและพยาบาลหยิบมือไม่สามารถรับมือได้
อีกทั้งโรคก็มีระดับความซับซ้อน และแทรกซ้อนเกินกว่าความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่จะแก้ไขได้

 

และเป็นที่มาที่คนยากไร้เหล่านี้พบหนทางในการรักษาตนเองให้พ้นจากความทรมานจนกระทั่งถึงหาย ที่ได้เห็นประจักษ์ชัดในคนป่วยต่างๆ ที่ถูกตราหน้าว่าใช้ของผิดกฎหมายใช้ยาเสพติด จนกระทั่งถูกจับ ปรับ ถูกเข้าคุกแม้ว่า เห็นอยู่ชัดเจนด้วยตาว่าเจ็บป่วย โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ก็ตาม และปลูกสิบต้นถูกกล่าวหาว่ามากเกิน

 

โดยไม่เข้าใจว่า คนป่วยใช้ใบในการรักษาด้วย ไม่ใช่สกัดแต่น้ำมันจากดอก จนกระทั่งมีการอบส่วนต่างๆ หรือใช้ชงแบบน้ำชา ในการบรรเทาอาการปวด เครียด นอนไม่หลับ ในผู้สูงอายุในพื้นที่
เราควรละอายใจหรือไม่อย่างไร ที่เราอยู่ในที่ปลอดภัย และปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามตัวหนังสือ เถรตรง แต่ไม่ได้ช่วยกันทำให้ดีขึ้น ในสิ่งที่ควรจะเป็นและต้องเป็น
ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใด ทางวิทยาศาสตร์แพทย์ กฎหมาย สังคม ผู้บริหาร จำต้องนึกอยู่เสมอและ ใส่ใจว่าที่ทำอยู่ขณะนี้ทำเพื่อใครไม่ใช่ทำเพื่อตนเองอย่างเดียวแต่วิชาความรู้ประสบการณ์ที่ผ่านมา
ทำเพื่อความยุติธรรมกับคนที่อ่อนด้อย ไร้โอกาส ไม่มีที่พึ่งให้พอลืมตาอ้าปากได้
และเราคนไทยทั้งประเทศควรจะนิ่งเฉยปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมเช่นนั้นหรือ?
การใช้ "กัญชา" เพื่อเป็น “ยา” ขณะนี้รู้ วิธีใช้ ข้อจำกัด ข้อควรระวัง วิธีใช้ไม่ให้ติดจนเกิดมีความเปลี่ยนแปลงในสมองบางตำแหน่ง ทั้งนี้ โดยมีกรรมพันธุ์ หรือ พันธุกรรมพิเศษที่เป็นตัวกำหนดให้เปราะบาง และพัฒนาจนมีโรคจิต...
ความนิ่งเฉย (ทั้งๆที่ไม่ควรนิ่งเฉย) ทั้งความนิ่งเฉยของสังคมและของรัฐ คือ...
ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง (Structural Violence) ที่มีรากลึกมาจาก...
ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม (Cultural Violence)...
ยิ่งถ้า ความนิ่งเฉยนั้นเกิดจากอวิชชาหรือความไม่รู้ (Ignorance) ก็ยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้นอีก
สรุป Ignorance is toxic! (ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ)