ข่าว

มั่นใจ นโยบายตลาดนำการผลิต แก้ปัญหาสินค้าเกษตรแพง

มั่นใจ นโยบายตลาดนำการผลิต แก้ปัญหาสินค้าเกษตรแพง

14 ม.ค. 2565

"นราพัฒน์" ยันสินค้าแพงไม่ใช่มาจากรัฐบาลบริหารงานผิดพลาด มั่นใจ นโยบายตลาดนำการผลิต แก้ปัญหาสินค้าเกษตรแพงในระยะยาวได้ชะงัก

 

นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ภาคเหนือ เปิดเผยว่า การที่สินค้ามีราคาแพงขึ้น ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก อันเป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด – 19 
 

ถ้ามองการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลปัจจุบัน บอกได้ว่า ขอชื่นชมรัฐบาลที่สามารถประคับประคองประเทศมาได้ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้นต่อเนื่องช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศจากการส่งออกได้เพิ่มขึ้น

 

อีกทั้งการเยียวยาดูแลประชาชนทำได้ดี สำหรับปัญหาสินค้าที่แพงขึ้น เป็นความปกติในภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ ไม่ใช่เป็นเรื่องการบริหารที่ผิดพลาดของรัฐบาล และต่อไปกลไกลของตลาดจะช่วยทำให้ปัญหาคลี่คลายลงแน่นอน เพียงแต่รัฐบาลต้องเข้าไปบริหารจัดการดูแลให้ดี



"ปัญหาเนื้อหมูมีราคาแพงนั้น หากดูจากสถิติของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นได้ชัดว่า ปริมาณหมูขุนที่ส่งเข้าโรงฆ่าชำแหละทั้งประเทศในปี 2564 นั้น มีปริมาณน้อยกว่า ปี 2561-2563 อย่างมาก สาเหตุหลักมาจากการหยุดเลี้ยงของเกษตรกรจากปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และความเสี่ยงจากปัญหาการเกิดโรคระบาดต่าง ๆ จึงส่งผลให้ราคาเนื้อหมูในช่วงเดือนมกราคมของปี 2565 ปรับตัวสูงขึ้น เพราะความต้องการมีมากขึ้นจากนโยบายการเปิดประเทศ และเข้าสู่ช่วงเทศกาลต่าง ๆ แต่ปริมาณเนื้อหมูที่ออกสู่ตลาดน้อย แต่ต้องขอตั้งเป็นข้อสังเกตุ และจะนำเรียนไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ คือ ทำไมราคาหมูหน้าเขียงเพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติ เมื่อเทียบกับราคาหมูหน้าฟาร์ม จุดนี้ต้องเข้าไปดูแลและแก้ไข" ผู้ช่วยรมต. ประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว 



นายนราพัฒน์ กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาว่า ในระยะสั้น รัฐบาลคงต้องเข้าไปช่วยอุดหนุนเพื่อแก้ไขปัญหาสำหรับสินค้าที่มีปัญหา เช่น การส่งเสริมเลี้ยงหมูแก่เกษตรกรรายย่อย ส่วนระยะยาวนั้น นโยบายตลาดนำการผลิต ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 


นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

และกระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการร่วมกัน จะเป็นคำตอบ ด้วยการใช้ระบบข้อมูลที่เรียกว่า Single Bigdata  จะเป็นข้อมูลที่ทำให้การส่งเสริมอาชีพอย่างไร แค่ไหน ให้แก่เกษตรกรได้ถูกต้องตรงกับความต้องการของตลาด  ซึ่งวันนี้ได้เกิดเป็นผลแล้ว เช่น การส่งเสริมการปลูกพืชอนาคต การส่งเสริมธุรกิจโปรตีนทางเลือก การรวมกลุ่มสร้างพลังของเกษตรกร เป็นต้น