ข่าว

เปิดเกณฑ์ "ค่าใช้จ่าย Hospitel" รักษาโควิด แบบไหนรัฐจ่ายให้ฟรี มีคำตอบให้

เปิดเกณฑ์ "ค่าใช้จ่าย Hospitel" รักษาโควิด แบบไหนรัฐจ่ายให้ฟรี มีคำตอบให้

23 ก.พ. 2565

เปิดเงื่อนไข "ค่าใช้จ่าย Hospitel" รักษาโควิด แบบไหน รายการอะไรบ้าง ที่รัฐจ่ายให้ฟรี แบบไหนต้องควักเงินจ่ายเอง มีคำตอบให้

อัปเดต "ผู้ป่วยโควิด" กับ "ค่าใช้จ่าย Hospitel" จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค "โควิด-19" โดยเฉพาะโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" พบตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ยังเพิ่มสูงขึ้น จากจำนวนผู้ป่วยใหม่ที่ยังไม่มีแนวโน้มลดลง จึงอาจเกิดปัญหาสถานพยาบาลไม่เพียงพอรองรับ "โรงพยาบาลสนาม" และ "Hospitel" คลิกที่นี่ จึงเป็นทางเลือก ที่มีไว้รองรับผู้ป่วยที่อาการไม่หนัก เพื่อลดความแออัดโดยไม่จำเป็นในสถานพยาบาล 

 

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ สบส. ระบุถึงสถานการณ์เตียงใน Hospitel กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีประมาณ 116 แห่ง ทั้งหมด 30,000 เตียง ซึ่งในขณะนี้ ยังมีจำนวนเตียงว่างเป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมาก็มี Hospitel ทยอยปิดตัวลงไปบ้าง เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง รวมถึงการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามความต้องการใช้บริการ 

เงื่อนไขการเข้ารักษาตัวใน "Hospitel"

 

  • กรณีประชาชนที่จะเข้ารักษาใน Hospitel ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เป็นผู้ประเมินอาการ และสภาพแวดล้อมที่บ้านด้วย 
  • กรณีการซื้อประกันสุขภาพ หรือประกันโควิด-19 ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้มีการพูดคุยกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการ
  • ประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ถึงการวินิจฉัยอาการโรค หากพบติดเชื้อ จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เพราะถือเป็นสถานพยาบาลประเภทหนึ่งในการรักษา
  • ผู้ป่วย คนไข้ที่ติดเชื้อมีสิทธิที่จะได้การคุ้มครองดูแล ตามสิทธิประกันต่าง ๆ ที่ได้มีการซื้อไว้ 

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ขอความร่วมมือโรงพยาบาลเอกชน อย่าเรียกเก็บค่ารักษาผู้ป่วยโควิด พร้อมย้ำว่า ภาครัฐพร้อมออกค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ป่วยทุกคน

 

กำหนดอัตราจ่ายค่าบริการให้แก่โรงพยาบาล ทั้งการตรวจและการรักษา รวมไปถึงค่าที่พักอื่น ๆ เช่น โรงพยาบาลสนาม หรือ  Hospitel โดยค่าใช้จ่าย Hospitel ดังนี้

 

  1. ค่าตรวจแบบ RT-PCR จ่ายตามจริงไม่เกิน 1,600 บาท/ครั้ง
  2. ค่าเก็บตัวอย่างส่งตรวจ 100 บาท/ครั้ง
  3. ค่าบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ 600 บาท/ครั้ง
  4. ค่ายารักษาผู้ป่วยใน จ่ายตามจริงไม่เกิน 7,200 บาท/ราย
  5. ค่าห้องดูแลการรักษารวมค่าอาการ จ่ายตามจริงไม่เกิน 2,500 บาท/วัน
  6. ค่าห้องความดันลบหรือห้อง ICU ซึ่งเป็น UCEP COVID-19 หรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติถึงแก่ชีวิตกรณีโควิด วันละ 5,000 บาท
  7. ค่าหอผู้ป่วยเฉพาะโควิด-19 และสถานกักกันในโรงพยาบาล (Hospitel) จ่ายตามจริงไม่เกิน 1,500 บาท/วัน
  8. ค่ายานพาหนะรับส่งจ่ายตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายของสำนักงานฯ
  9. ค่าอุปกรณ์รวมค่าทำความสะอาดยานพาหนะเพื่อฆ่าเชื้อ 3,700 บาท/ครั้งเป็นต้น

 

อย่างไรก็ตาม จากตัวอย่างของการเข้ารับการรักษาโควิด ในโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง พบว่า ผู้ป่วยโควิด จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง เช่น ค่าห้องและอาหาร ในกรณีค่าใช้จ่ายรักษาผู้ป่วยโควิดสูงเกินมาตรฐานราคากลาง ปฏิเสธการส่งตัวไปยังฮอสพิเทล หรือโรงพยาบาลเครือข่าย และเลือกเข้ารักษาตัวในห้องเดี่ยว หรือห้องพิเศษ ซึ่งอยู่นอกเหนือจากสิทธิของรัฐบาล ที่ครอบคลุมเฉพาะห้องร่วม ห้องคู่ และห้องไอซียูสำหรับผู้ป่วยวิกฤตเท่านั้น