ฉีกกฎวงการศึกษา วิศวะ จุฬาฯ จัดให้ทุกวัย "ไลฟ์ลองเลิร์นนิ่ง"
ฉีกกฎวงการศึกษา วิศวะ จุฬาฯ เปิดอีโคซิสเต็ม "ไลฟ์ลองเลิร์นนิ่ง" หลักสูตรเติมไฟทักษะวิศวะฯในตลาดแรงงาน พร้อมหนุนทุกวัยเรียนได้ตลอดชีวิต
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดโครงการใหม่ ที่มีแนวคิดสนับสนุน การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) “ไลฟ์ลองเลิร์นนิ่ง” ด้วยการปรับการเรียนการสอนใหม่ เพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียนยุคใหม่ที่มักจะต้องเผชิญกับสังคมที่มีการแข่งขันสูงและกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง
ทั้งในเชิงโครงสร้างและเทคโนโลยีในตลาดแรงงานยุคใหม่ ซึ่งจะเริ่มเปิดสอนในปีการศึกษา2565นี้โดยมี นายอดิศักดิ์ เหล่าจันทร์ นายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการChula Engineering สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Lifelong Learning)
ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า โครงการChula Engineeringสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Lifelong Learning)สอดรับกับนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.)โดยโครงการใหม่ที่กำลังจะเปิดสอนนี้ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนในหลากหลายกลุ่ม
ทั้งคนทำงาน นิสิต นักศึกษาที่กำลังจะจบ รวมถึงเยาวชน และ ประชาชนทั่วไปที่สนใจจะศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติมในศาสตร์แห่งศตวรรษหน้าภายใต้แนวคิดหลัก คือ การสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนในกลุ่มต่างๆ ที่มีพื้นฐานที่หลากหลาย และได้เรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ๆ ตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคหน้า
เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานที่มีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างก้าวกระโดดและรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นการเปิดตัวPlatform of Innovative Engineering for Sustainability (PIES)แห่งการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่นสูง มุ่งเน้นการเสริมความรู้ (Reskill and upskill)จัดกลุ่มรายวิชาที่เกี่ยวเนื่อง เป็นModuleในรูปแบบMicro Programที่ผู้เรียนสามารถเลือกจัดรูปแบบองค์ความรู้ได้ตามความสนใจของตนเองได้อย่างอิสระ
ซึ่งนำไปสู่การการเรียนการสอนแบบCustomized Learningโดยร่วมกับผู้ประกอบการ องค์กรการเรียนรู้ต่างๆ เช่นCoureseraและ หลักสูตรต่างๆ ของคณะฯ กว่า 15 หลักสูตร เป็นต้น ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นระบบนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนสมัยใหม่ ซึ่งเป็น PIESที่ให้อิสระแห่งการเรียนรู้แก่ผู้เรียนทุกกลุ่ม ทุกความต้องการ ทั้งในระบบปริญญา (Degree program)และระบบเรียนรู้เพื่อเสริมทักษะ (Non degree certificate program)
โดยมีคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และองค์กรที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมกันแบ่งปันองค์ความรู้และทักษะเฉพาะต่างๆ ผ่านระบบคลังวิชา (Credit Bank)ให้ผู้เรียนสามารถเก็บหน่วยกิตไว้ เพื่อดำเนินการต่อยอดการเรียนรู้แบบตลอดชีวิตและไร้ขีดจำกัดของตัวเองต่อไปในอนาคต เพื่อให้กับเข้าสังคมยุคดิสรัปชั่น(Disruption)ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
สำหรับกลุ่มคนทำงาน คนที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา หรือน้องๆ เยาวชนรุ่นใหม่ที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย โครงการChula Engineeringสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตนี้ยังเปิดกว้างให้กับผู้ที่ต้องการมาเพิ่มทักษะความรู้ด้านวิศวกรรม ด้านอื่นๆ นอกเหนือจากหลักสูตรที่เรียนปกติได้อย่างหลากหลายวิชาที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนทักษะทั้งด้านSoft Skills (ทักษะการคิดวิเคราะห์)และHard Skills (ทักษะการฝึกฝนด้านวิชาชีพและความเชี่ยวชาญ)
ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญต่อการทำงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น วิชาMachine Learningand Time Series Analysis (การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์Machine Learningกับการวิเคราะห์ตามลำดับเวลา), Practical IoT (การฝึกหัดการใช้Internet of Thingsในชีวิตประจำวัน), System perspectives on EV technology (เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า), Environmental Trend, Technology and Innovation (ทิศทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการจัดการสิ่งแวดล้อม),Intergated Water Resources Management (บูรณาการการจัดการทรัพยากรน้ำ) เป็นต้น