ข่าว

ข่าวดี รพ.บางนา 5 เปิดให้บริการ "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" วอล์คอินได้เลย

ข่าวดี รพ.บางนา 5 เปิดให้บริการ "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" วอล์คอินได้เลย

23 ม.ค. 2565

ข่าวดี โรงพยาบาลบางนา 5 เปิดให้บริการ "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" โมเดอร์นา แบบวอล์คอิน ลดอาการผลข้างเคียง หมอยืนยันได้ผลดีเทียบเท่าการฉีดวัคซีนปกติ

"ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นจากประชาชน เนื่องจากได้ผลดีเทียบเท่ากับการฉีด "วัคซีนเข็มกระตุ้น" แบบปกติที่ฉีดกันอยู่ในปัจจุบัน แต่การ "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" จะมีอาการผลข้างเคียงที่น้อยกว่า 

 

โดยล่าสุดโรงพยาบาลบางนา 5 เปิดให้บริการ ฉีดวัคซีน Moderna เข้าชั้นผิวหนัง แบบวอล์คอิน

>> สำหรับท่านที่ต้องการฉีดวัคซีน Moderna เข้าชั้นผิวหนัง   สามารถติดต่อรับวัคซีนได้กับทางโรงพยาบาลบางนา 5

>>เปิดบริการฉีดวัคซีน วันจันทร์ - เสาร์   ในเวลา 8.00 -15.00 น.

ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  - in box เพจ : โรงพยาบาล บางนา5

  - Line : @bangna5     

  - Tel : 02-1381155-60

หรือช่องทางประชาสัมพันธ์ต่างๆของโรงพยาบาล

ขอขอบคุณค่ะ🙏

ข่าวดี รพ.บางนา 5 เปิดให้บริการ \"ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง\" วอล์คอินได้เลย
 

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก  เกี่ยวกับการ "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" โดยระบุว่า

 

"การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" ไม่ใช่ประหยัดอย่างเดียว แต่เพื่อความปลอดภัยสูงสุดด้วย ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ประหลาดมหัศจรรย์ ในการนำวัคซีนทุกประเภทมาใช้ในการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ทั้งนี้ประโยชน์ที่จะได้รับนั้นคือการที่จะสามารถประหยัดวัคซีนลงได้มหาศาล โดยเฉพาะในเรื่องของวัคซีนโควิด

 

ซึ่งข้อมูลในปัจจุบันยืนยันกันแล้วว่า ต้องสามารถฉีดให้ได้ 90% ของคนในพื้นที่หรือในประเทศภายในระยะเวลาอันสั้น นั่นคือไม่เกินสามเดือนทั้งนี้ เพื่อไม่เปิดโอกาสให้ไวรัสมีการแพร่เป็นลูกโซ่ออกไปต่อ ซึ่งในระหว่างการแพร่นั้นจะมีการพัฒนาตนเองให้เก่งกาจมากขึ้น ทั้งในการติดง่ายซึ่งหมายถึงหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของมนุษย์ตามธรรมชาติและดื้อต่อภูมิที่ได้จากวัคซีนและยังร่วมทั้งดื้อต่อภูมิที่ได้จากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นมาก่อนและทำให้อาการหนัก ตายมากขึ้น

 

โดยเห็นตัวอย่างมากมายแล้วว่าการติดเชื้อซ้ำครั้งที่สอง ยังเกิดได้ ตั้งแต่หนึ่งเดือนครึ่ง เป็นต้นไปและจะชัดเจนขึ้นตั้งแต่สามเดือนไปแล้ว แม้ว่าชื่อไวรัสยังคงเป็นยี่ห้อเดิมเช่นเดลต้า ถ้าเป็นเดลต้าที่มีทั้งไมเนอร์และเมเจอร์เชนจ์ แบบรถยนต์ที่ออกใหม่ที่มีเปลี่ยนไฟหลังไฟหน้าเบาะคอนโซลเป็นต้น นั้นเป็นผลจากการปล่อยให้มีการระบาดอย่างต่อเนื่องโดยควบคุมป้องกันไม่ทัน

 

จากการที่สามารถใช้วัคซีนปริมาณน้อย เลยทำให้สามารถเผื่อแผ่วัคซีนให้กับคนอื่นได้ทั่วถึง โดยที่วัคซีนแอสตร้านั้น หนึ่งโดสจะกลายเป็นห้า  โมเดนา จากหนึ่งจะกลายเป็น 10 และไฟเซอร์จากหนึ่งจะกลายเป็นสาม และวัคซีนเชื้อตายก็เช่นกัน

 

โดยที่จะเป็นการ "ฉีดกระตุ้นเข็มที่สาม" หรือแม้แต่จะเป็นการฉีดตั้งแต่เข็มที่หนึ่งก็ตาม ยกเว้นในกรณีของวัคซีนเชื้อตายถ้าจะใช้ควรใช้เป็นเข็มที่หนึ่งและสองไม่ควรใช้เป็นตัวกระตุ้นเข็มที่สามเนื่องจากไม่ได้มูลค่าเพิ่มหรือกำไรเพิ่มเพราะเชื้อตายนั้นมีประโยชน์เพื่อวางเป็นรากฐานและให้วัคซีนยี่ห้ออื่นต่อยอด

 

ซึ่งการต่อยอดโดยยี่ห้ออื่นนี้ จะทำให้ภูมิคุ้มกันที่ตกลงอย่างรวดเร็วภายในสองเดือนหลังจากเข็มที่สองของเชื้อตายพุ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็วภายในเวลาสองสัปดาห์และอยู่ในระดับสูงมากของภูมิที่ยับยั้งไวรัสได้ และนอกจากนั้นยังสามารถ คลุมข้ามสายพันธุ์ดั้งเดิมคือสายจีนมาเป็นสายอังกฤษและเดลต้าได้

 

"วัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม" นั้น เมื่อฉีดตามเข็มที่หนึ่งและสองของเชื้อตาย ถ้าใช้แอสตร้า จะป้องกันสายแอฟริกาไม่ได้ซึ่งอาจหมายรวมถึงสายเปรูด้วย ในขณะที่เข็มที่สามถ้าเป็นไฟเซอร์จะคุมสายแอฟริกาได้ด้วย แม้ว่าจะไม่ดีนักก็ตาม ซึ่งอาจจะอนุมานได้ว่าวัคซีนโมเดน่า ควรจะมีประสิทธิภาพคล้ายกัน


สำหรับวัคซีนเข็มที่หนึ่งและที่สองในกรณีของเชื้อตายที่ทางการนำมาฉีดไขว้ คือชิโนแว็กต่อด้วยแอสตร้า ตามหลักแล้วจะไม่ค่อยได้กำไรหรือไม่ได้เลย เพราะหลักการฉีดไขว้นั้น หมายความว่าวัคซีนชนิดนั้นเข็มเดียวต้องเริ่มได้ผลแล้วและยอมรับกันแล้วว่าเข็มแรกแอสตร้า ซึ่งก็ทำให้ภูมิขึ้นได้แล้วและต่อด้วยไฟเซอร์หรือโมเดนา ซึ่งเข็มเดียวก็ได้ผลบ้างอยู่แล้ว เมื่อนำมาฉีดต่อกันจะทำให้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันขึ้นดีกว่ายี่ห้อเดี่ยวสองเข็ม


ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการคือในเรื่องของความปลอดภัยและผลแทรกซ้อน การ "ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง" จะใช้ปริมาณน้อยมาก ดังนั้นการกระตุ้นทำให้เกิดผลแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงจะน้อยกว่า ทั้งนี้ทั้งนั้นยังสามารถอธิบายได้จากการที่การฉีดเข้าชั้นผิวหนังนั้นกลไกในการกระตุ้นภูมิจะแยกออกอีกสายที่เรียกว่าเป็น Th2 ในขณะที่การฉีดเข้ากล้ามการกระตุ้นจะเป็นสาย Th1
และสาย Th1 นี้เองที่เป็นขั้นตอนกระบวนการ ของโควิดที่ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง ต่อจาก เม็ดเลือดขาว นิวโตรฟิล (กระบวนการ NETS สุขภาพพรรษา กลไกที่ทำให้เกิดเสมหะเหนียวขุ่นคลั่กและพังผืด) และต่อเนื่องจนกระทั่งเกิดมีลิ่มเลือดอุดตันหรือเนื้อเยื่อและอวัยวะอักเสบทั่วร่างกาย
รวมกระทั่งถึงกล้ามเนื้อหัวใจและสมองอักเสบที่เราเรียกว่ามรสุมภูมิวิกฤติ (cytokine storm) 


ทั้งนี้เราทุกคนต้องไม่ลืมว่าวัคซีนนั้น คือร่างจำลองของไวรัสโควิดนั่นเองและส่วนที่วัคซีนทุกยี่ห้อนำมาใช้นั้นจะมีส่วนหรือชิ้นของไวรัสที่เกาะติดกับเซลล์มนุษย์และเป็นตำแหน่งเดียวกันกับที่ทำให้เกิดการอักเสบ จาก ACE2 รวมกระทั่งถึงการทำให้มีความเบี่ยงเบน ขาดสมดุลระหว่าง Th1 และTh2 โดยออกไปทาง Th1 และ ต่อด้วยอีกหลายสายย่อยรวมทั้ง 17 เป็นต้น